สื่อ online สร้างเครือข่ายไร้พรมแดน เว็บข่าว Online 24 ชั่วโมง       
สำนักข่าวเด็กและเยาวชน สถานีอาร์ทีวีวัน สื่อออนไลน์ สร้างเครือข่าย ไร้พรมแดน วิทยุ-โทรทัศน์ เพื่อการศึกษา ผลิตโดยกลุ่มเยาวชนเพื่อเยาวชน คลิกที่นี่

อ่านบทความสกู๊ปพิเศษ

“ครองใจคน” หลากหลายเหตุผลที่คนไทยรัก “ในหลวง”

ข่าวประชาสัมพันธ์


สำนักข่าวเด็กและเยาวชน สถานี อาร์ ทีวี วัน ร่วมแสดงความจงรักภักดี์ โครงการถวาย ๘๔ พรรษา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสพระราชทานแก่ป ระชาชนชาวไทย ในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2555 ความว่า "ประชาชนชาวไทยทั้งหลาย บัดนี้ถึงวาระจะขึ้นปีใหม่ ข้าพเจ้าขอส่งความปรารถนาดี มาอวยพรแก่ท่านทุก ๆ คน และขอขอบใจท่านเป็นอย่างมาก ที่ร่วมกันจัดงานฉลองอายุคร บ 7 รอบให้อย่างเหมาะสมงดงาม ระหว่างปีที่แล้วเหตุการณ์ต ่าง ๆ ในบ้านเมืองนับว่าเป็นปรกติ ดี แต่พอเข้าปลายปี ก็เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ เป็นเหตุให้ประชาชนหลายจังห วัดต้องประสบอันตรายและความ เดือดร้อน ลำบาก ความเสียหายครั้งนี้ดูจะร้า ยแรงกว่าครั้งไหน ๆ ที่ผ่านมา ข้อนี้น่าจะเป็นเครื่องเตือ นใจอย่างสำคัญดังที่ข้าพเจ้ าได้กล่าวไว้หลายครั้งแล้วว ่า วิถีชีวิตของคนเรานั้น จะต้องมีทุกข์ มีภัย มีอุปสรรค ผ่านเข้ามาเนือง ๆ ไม่มีผู้ใดจะอยู่เป็นปรกติส ุขอย่างเดียวได้ ทุกคนจึงต้องเตรียมกาย เตรียมใจ และเตรียมการไว้ให้พร้อมเสม อ เพื่อเผชิญและป้องกันแก้ไขค วามไม่ปรกติเดือดร้อนต่าง ๆ ด้วยความไม่ประมาท ด้วยเหตุผล ด้วยหลักวิชา และด้วยสามัคคีธรรม ในปีใหม่นี้จึงขอให้ประชาชน ชาวไทยได้ตั้งตนอยู่ด้วยควา มไม่ประมาท โดยมีสติ รู้ตัว และปัญญา รู้ผิด กำกับอยู่ตลอดเวลา ผู้ใดที่มีภาระหน้าที่อันใด ก็เร่งกระทำให้สำเร็จลุล่วง กันไป ให้ทันการณ์ทันเวลา ผลงานทั้งนั้นจะได้ส่งเสริม ให้แต่ละคนประสบแต่ความสุข ความเจริญ และทำให้ชาติบ้านเมืองดำรงม ั่นคงและก้าวหน้าต่อไป ด้วยความผาสุกสวัสดี ขออานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตน ตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้ งหลาย จงคุ้มครองรักษาท่านทุกคนให ้มีความสุข ไม่มีทุกข์ ไม่มีภัย ตลอดศกหน้านี้โดยทั่วกัน"
 

   

              
   
ดาว์โหลด เว็บบราวเซอร์ ที่ใช้ท่องความเร็วในการเล่นอินเตอร์เน็ตที่ดีที่สุดในการเข้าชมเว็บไซต์ของทางสถานี อาร์ ทีวี วัน

เพื่อความสมบูรณ์ในการนำเสนอของ www.rtv1.net 
กรุณาติดตั้งโปรแกรมเสริม Adobe Flash สำหรับแสดงผลข้อมูลในรูปแบบมัลติมีเดีย และ Apple Quictime สำหรับแสดงผลข้อมูลในรูปแบบ Quicktime VR

        

การแสดงหน้าเว็ปที่เหมาะสมควรใช้Google Chrome
RTV1   STATION   THAILAND
 
สำนักข่าวเด็กและเยาวชน สถานี อาร์ ทีวี วีน สื่อ Online สร้างเครือข่ายไร้พรมแดน เว็บข่าว 24 ชั่วโมง
 
 
 
 
 
 
สถานี อาร์ ทีวี วัน วิทยุ โทรทัศน์ เพื่อข่าวสาร สาระบันเทิง และเพื่อการศึกษา ผลิตโดย กลุ่มเยาวชนเพื่อเยาวชน +
 
โลโก้ ช่อง 3 - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่
โลโก้  ช่อง 5 - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่
โลโก้ ช่อง 7 - คลิกที่นี่เพื่อดูรูปภาพใหญ่

ข่าวการเมืองไทยติด 10 อันดับ ติดกระแส อัพเดดตลอด 24 ชั่วโมง

ข่าวสั้นทันทุกวินาที   

ข่าวด่วน สถานการณ์ร้อนๆ
ที่เกิดขึ้นทั่วไทย ทั่วโลก อัปเดตทุก24 ชม.ให้คุณทันเหตุการณ์โลกทุกๆวัน.

โดยทีม ข่าวพิราบขาว


 
ขอขอบคุณสำนักข่าวทุกสำนัก และ ช่างภาพทุกท่าน ทีมข่าว อาร์ ทีวี วัน
   
 

รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน (4/2/2012)

นายกรัฐมนตรียืนยันสามารถบริหารจัดการน้ำให้แล้วเสร็จก่อนน้ำมาอีกครั้ง และจะลงพื้นที่เพื่อติดตามแผนบริหารจัดการน้ำรายจังหวัด ระหว่างวันที่ 13 - 17 กุมภาพันธ์ 2555

พิธีกร (สุรนันทน์ เวชชาชีวะ) : สวัสดีครับขอต้อนรับเข้าสู่รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชนนะครับ เสาร์นี้อยู่กันที่บ้านพิษณุโลกและอยู่กับนายกรัฐมนตรีคุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สวัสดีครับท่านนายกครับ นายกรัฐมนตรี : สวัสดีค่ะคุณสุรนันทน์ 
พิธีกร : ท่านนายกฯ ไม่ได้มาหลายสัปดาห์เห็นไปต่างประเทศมา เอาเรื่องต่างประเทศก่อนได้ไหมครับเพราะว่าเรื่องที่อินเดียและก็เรื่องที่ WEF (World Economic Forum) อินเดียก่อนเห็นเป็นแขกเกียรติยศของประเทศ 
นายกรัฐมนตรี : ครั้งนี้ได้ไปสองประเทศไปอินเดียและก็ต่อไปที่ดาวอสเลยนะคะ ก็มา trip อินเดีย อินเดียเราก็ถือว่าได้รับเชิญเป็นแขกเกียรติยศซึ่งความสำคัญของแขกเกียรติยศก็คือว่าถือว่าเป็นชั้นสูงสุดของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เค้าให้กับเรา และก็ปีหนึ่งเค้าก็จะเลือกแค่เพียงประเทศเดียวแล้วก็คนเดียวเท่านั้น
พิธีกร : ทำไมเค้าเลือกเราเค้าบอกไหมฮะ 
นายกรัฐมนตรี : ซึ่งก็ถือว่าจริง ๆ แล้วก็อาจจะเป็นลักษณะของสิ่งที่ดี คือว่าประเทศอินเดียก็เป็นการส่งสัญญาณว่าอยากจะทำงานในเรื่องของลักษณะความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กันระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินเดีย เพราะว่าวันนี้ก็อย่างที่ได้เรียนว่าประเทศไทยอยู่ในจุดศูนย์กลางเป็นจุดที่ได้เปรียบและก็สามารถที่จะมีการเชื่อมต่อกับอินเดียได้ ซึ่งอินเดียก็ต้องการที่จะมีการพัฒนาโดยเฉพาะโครงสร้าง 
พิธีกร : เห็นมาจีบกันมากเลยทั้งจีน สหรัฐและอินเดียเราต้องอยู่ตรงกลางตรงนี้ท่านมองยังไงครับ 
นายกรัฐมนตรี : คือเรามองว่าเราคือจุดยุทธศาสตร์และก็เป็นจุดที่สามารถที่จะเชื่อมต่อกับประเทศอื่น ๆโดยเฉพาะเป็นประตูสู่อาเซียนอันนี้เป็นโจทย์สำคัญที่เราวางหลักยุทธศาสตร์ของประเทศ
ไว้นะคะ เพราะนอกจากว่าความสวยงามเอกลักษณ์หรือในเรื่องของวัฒนธรรมหรือเอกลักษณ์ของประเทศไทย แล้วเราก็วางในจุดที่ก็เลยเป็นจุดที่ว่าหลายประเทศก็ให้ความสนใจและประกอบกับเศรษฐกิจโลกคือความผันผวนในเศรษฐกิจโลกเค้าก็เลยหันกลับมามองในภูมิภาคอาเซียน 
พิธีกร : คนไทยส่วนใหญ่ไปตื่นเต้นกับจีนแต่พอมาอินเดีย แล้วจริง ๆ ก็ใกล้อินเดียมากเลย 
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ จีนคนตื่นเต้นนานแล้ว แต่อินเดียถ้าเราดูอย่ามองประมาท เพราะว่ามีคนถึงหนึ่งพันสองร้อยล้านคน บอกว่าถ้าคุณสุรนันทน์ลองดูว่าหนึ่งพันสองร้อยล้านคน ถ้าดูเป็นกลุ่มถ้าเราเอากลุ่มคนมีเงินกลุ่มคนข้างบนสัก 10 % ง่าย ๆ ร้อยยี่สิบล้านคนขอประเทศไทย สักหนึ่งเท่ากับสิบสองล้านคน สิบสองล้านคนมาเมืองไทยตัวเลขปีนึงของเมืองไทย นักท่องเที่ยวที่มาวันนี้เราตั้งเป้ายี่สิบล้านคน ขอเค้าสักสองสามล้านคนเอานี้ก็ถือว่าจะทำรายได้ให้ประเทศเป็นอันมาก และที่เราพบก็คืออินเดียชอบมาประเทศไทยนะคะ ชอบมาใช้ชีวิต
shopping ซื้อของ 
พิธีกร : ผมเห็นมาแต่งงานกันเต็มเลยนิครับ 
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะที่สำคัญมาแต่งงานที่ประเทศไทยก็มองแค่ไม่ใช่แต่งงานอย่างเดียว เพราะถ้าเค้ามาแล้ว เค้าก็ต้องเชิญแขกที่บ้านก็ไปเที่ยวไปซื้อของ มันก็ทำให้วงจรในเรื่องของการท่องเที่ยวหรือพัฒนาเศรษฐกิจดี 
พิธีกร : เห็นในข่าวเห็นท่านนายกฯ ไปเร่งรัดยุทธศาสตร์ตรงนี้ 
นายกรัฐมนตรี : มีหลายด้านด้วยกันนะคะ ด้านแรกก็คือการท่องเที่ยวที่เราจะเปิดจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น แล้วก็เรื่องของ FTA ก็คือการค้าในเรื่องของภาษีเป็นศูนย์ลดอัตราภาษีเป็นศูนย์ เรามีเหลือค้างมากกับประเทศอินเดียที่เรายังเจรจาไม่เสร็จ ล่าสุดเราไปเซ็นสัญญาเพิ่มอีก 1 รายการก็คือเรื่องของตู้เย็นและที่เหลือเราจะเร่งรัดให้เสร็จภายในกลางปี และรวมถึงการที่เราจะดูว่าการลงทุนระหว่างกันได้อย่างไร เพราะว่าก็หลายประเทศเล็งตลาดในเมืองไทยก็มีความสนใจที่ไปเปิดตลาดที่อินเดีย แต่ขณะนี้เรายังไม่เปรียบอยู่นะคะเพราะว่าอินเดียมาลงทุนที่ไทยมากกว่า 
พิธีกร : ต้องเดินหน้าต่อไปในส่วนตรงนี้และก็ส่วนที่อาเซียนจะเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษยี่สิบสิบห้า สองพันสิบห้า (2015) ตรงนี้ก็จะเป็นประโยชน์กับเรา 
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะแล้วก็อินเดียก็มีในเรื่องของการพัฒนาการเชื่อมต่อในเส้นทางทะเล คือตรงเมืองเจนไนและก็มาเชื่อมต่อกับท่าเรือน้ำลึกทวายถ้าตรงนี้เรามีการพัฒนาร่วมกันได้ก็จะทำให้เส้นทางคมนาคมระหว่างอินเดีย แค่เส้นทางขนส่งระหว่างอินเดียกับไทยจะสะดวกขึ้นแล้วก็ลดต้นทุนด้วยก็เป็นประโยชน์มาก
พิธีกร : จากเมืองอินเดียเมืองร้อนบินไปดาวอสเค้าว่าหนาวที่สุดหนาวจริงไหมครับท่านนายก 
นายกรัฐมนตรี : หนาวมากค่ะหิมะ ถ้าดูสูงในเมืองหิมะตกทุกวันก็ไปถึงเห็นขาวทั้งเมืองแต่จริง ๆ เมืองเค้าเล็กนะคะคุณสุรนันทน์ แต่น่าอิจฉาเพราะว่าพอเค้าจัดงานนี้ บ้านเมืองเต็มโรงแรมเต็มหมดเป็นเมืองเล็ก ๆ ก็เลยโรงแรมเต็มหมด 
พิธีกร : จัดช่วงเดียวเศรษฐกิจอยู่ได้ทั้งปี แต่ในขณะเดียวกันก็บอกว่าเค้าบอกว่าเป็นงานที่เป็นใครจะต้องไปเพราะว่าทุกคนที่มีอิทธิพลทางเศรษฐกิจของโลกไม่ใช่เฉพาะทางการเมือง นักธุรกิจ สื่อสารมวลชนอยู่ที่นั่นหมดเลย 
นายกรัฐมนตรี : ส่วนใหญ่ก็มีทั้งเป็น floor ที่เค้าเรียกว่าเวทีระหว่างผู้นำกับทางด้านของภาคเอกชน ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำของโลกทั้งนั้นก็ไปหารือกันทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งถือว่าดีเพราะว่าเป็นการทำงานระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน และก็ไปสนทนาซึ่งหัวข้อส่วนใหญ่ที่เค้าตื่นตัวกันมาก คือว่าวันนี้ความผันผวนทางเศรษฐกิจก็ต่อจากสหรัฐอเมริกาก็เป็นทางด้านยุโรปที่หลาย ๆ ประเทศเป็นความกังวลใจโดยเฉพาะในเรื่องของค่าเงินนะคะ ทำให้ทุกประเทศหันกลับมาบอกว่า ถ้าเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างนี้ความไม่แน่นอนเป็นอย่างนี้ ทุกคนต้องหันกลับมาคำตอบเดียวคือต้องพึ่งตัวเองแล้วนะคะ ตรงที่เราเห็นที่ประเทศไทยเห็นที่รัฐบาลเห็นว่าเราต้องกลับมาสร้างเศรษฐกิจในประเทศให้แข็งแรงและก็อย่าไปพึ่งเศรษฐกิจโลกมากนัก 
พิธีกร : ดูแล้วท่าทางเค้ายังเถียงกันไม่จบ 
นายกรัฐมนตรี : ยังค่ะ ก็หลาย ๆ คนก็ยังไม่มีข้อสรุปลงตัว เค้าก็เป็นกังวลว่าจะแก้ปัญหาได้จบเมื่อไหร่แล้วจะดีหรือเปล่าทุกคนก็เป็นกังวลอยู่ 
พิธีกร : ถ้าเค้าห่วงตัวเค้าแล้วเค้ามองเรายังไงครับตอนนี้ 
นายกรัฐมนตรี : เค้ามองอย่างนี้ค่ะ สองส่วนนะคะคือทุกคนห่วงว่าแต่ละประเทศจะต้องปรับตัวอย่างไรแต่ทั้งหมดข้อสรุปก็คือว่าสิ่งที่เค้าจะต้องปรับตัวคือ 1.มีความหวังกับคนรุ่นใหม่คนรุ่นใหม่คือเยาวชนที่จะช่วยกันในการสร้างพัฒนาการเติบโตในประเทศ 2.การพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศของตนเองที่ไม่ให้มาพึ่งพิงกับการส่งออกในตลาดสองส่วนนี้เค้าก็เลยเริ่มย้ายฐานมาในส่วนของภูมิภาคเอเชียซึ่งได้เอเชียรวมกันมีจีนมีอินเดียเท่ากับว่า
ครึ่งโลกแล้วนะคะ 
พิธีกร : คือเค้ามีปัญหาเค้าแต่ว่าเค้าบอกว่าถ้าอย่างนั้นย้ายธุรกิจมาทางนี้เราอาจจะได้ประโยชน์จากวิกฤติตรงนั้น 
นายกรัฐมนตรี : ก็มีประโยชน์ค่ะเพราะว่าพอย้ายฐานตรงนี้ก็กลับไปดู ถ้าใครที่จะเป็นจุดศูนย์กลางประเทศไทยก็กลับมาว่าประเทศไทยเป็นจุดเชื่อมต่อที่ดีที่สุด เพราะฉะนั้นประเทศไทยก็สามารถที่ จะรับการลงทุนได้ 2 ประเภทก็คือนักลงทุนที่มาลงในประเทศไทยที่จะประกอบธุรกิจขายในเมืองไทยกับอีกกลุ่มหนึ่งก็คือใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการส่งออกเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านเราก็มองตรงนี้ค่ะ แล้วปีนี้เราก็ต่อเนื่องจาก world economic forum เราก็จะเอาหัวข้อว่าเป็นจุดประเทศไทยในการเชื่อมต่อเอเชียตะวันออกมาจัดงานเหมือนกันที่ดาวอสมาที่ประเทศไทยในเดือนพฤษภาคมที่กรุงเทพฯ เราก็หวังว่าจะเห็นคนเต็มเมืองเหมือนอย่างที่ดาวอสเป็นเช่นกัน 
พิธีกร : และก็จะมีประโยชนมากกับเรา และเราก็จะเป็นประตูจริง ๆ ผมอ่านในที่ท่านนายกฯ ปราศรัย หรือเค้าเรียกว่าอะไร ไปพูดปาฐกถาในไทยไนท์ (งานไทยแลนด์ ไนท์) มีอยู่ 2 ส่วนด้วยกัน เรื่อง ชี้แจงเรื่องความมั่นคงทางการเมือง และเรื่องน้ำ ท่านคิดว่าทางฝรั่งเค้าฟังแล้วเค้าเชื่อมั่นเรามากขึ้นไหมครับ 
นายกรัฐมนตรี : เค้าเชื่อมั่น คือที่เราพูดเราอธิบายแผนว่าเราต้องทำอะไรบ้าง แล้วก็เนื่องจากช่วงนี้เน้นเรื่องน้ำเค้าเห็นว่ามันเป็นวิกฤตที่เป็นอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปทั่วโลกอยู่แล้ว เค้าเชื่อแต่สิ่งที่เค้าต้องการเห็นก็คือรูปธรรมที่จับต้องได้ แต่เราเองเราก็ได้บอกว่าเราจะเร่งรัดในเรื่องของการที่จะหาเงินในการที่จะมาบูรณาการเรื่องของการจะจัดการบริหารน้ำอย่างยั่งยืน
ในวงเงิน 3 แสน 5 หมื่นล้านด้วย 
พิธีกร : เดี๋ยวผมจะขออนุญาตถามเรื่องน้ำ ก่อนจะออกจากดาวอสมีอีกนิด เห็นมีเวทีหนึ่งซึ่งพูดเรื่องสตรีและก็การที่บทบาทของสตรีที่จะเป็นผู้นำของโลกด้วย ให้โอกาสท่านนายกฯ
ได้ปาฐกถาพิเศษด้วย รู้สึกได้พูดเปิดเวทีนั้น 
นายกรัฐมนตรี : ได้มีโอกาสพูดค่ะ 
พิธีกร : เป็นอย่างไรครับ 
นายกรัฐมนตรี : ต่อเนื่องจากที่เรียนว่าพอเศรษฐกิจโลกมีปัญหาเค้าก็กลับมาพึ่งจริง ๆ 2 กลุ่ม ที่พึ่ง ที่เค้ามีความหวังก็คือกลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่กับกลุ่มผู้หญิง ดิฉันก็เลยใช้เวทีนี้ในการปาฐกถา
ที่เราบอกว่า จริง ๆ แล้วที่เราดูประชากรผู้หญิงก็เกือบ 50 / 50 และสิ่งที่เราศึกษา 
พิธีกร : 50 / 50 แต่ในประเทศไทยผู้หญิงมากว่าผู้ชายใช่ป่าวครับ 
นายกรัฐมนตรี : จริงหรือป่าวค่ะ ก็ใกล้เคียง และสิ่งที่เราบอกว่าเราไปพูด เราบอกว่าเราอยากเห็นสิทธิเสรีภาพระหว่างชายหญิงอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งดิฉันเองก็เรียนบอกว่าประเทศไทยโชคดี และดิฉันเองก็โชคดีที่ได้รับการไว้วางใจกับพี่น้องประชาชนที่ให้มาทำงานในตำแหน่งนี้ แล้วก็ในเรื่องผู้หญิงเราก็ศึกษามา ปรากฏว่ามีข้อมูลที่บอกว่าส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงที่หาเงินได้ก็เอาเงิน
ส่วนนั้น ร้อยละ 90 มาจุนเจือครอบครัว นั้นเราก็เชื่อมั่นว่าถ้าเราเองเราให้การพัฒนาศักยภาพผู้หญิงมาก ๆ ก็จะทำให้ผู้หญิงมีความรู้ที่จะหาเงินกลับมาจุนเจือครอบครัว สุดท้ายก็เป็นรากฐานในการเติบโตของเศรษฐกิจเช่นกัน 
พิธีกร : อันนี้ก็ในทุกระดับเลย 
นายกรัฐมนตรี : ค่ะ ใช่ค่ะ ก็เป็นสิ่งที่เราไปพูดในตรงนี้ 
พิธีกร : ท่านนายกฯ ได้มีโอกาสเปิดนโยบายอะไรของไทยเกี่ยวกับเรื่องสตรีบ้างไหมครับ 
นายกรัฐมนตรี : เราก็มาเปิดอีก 2 หัวข้อด้วยกัน เราก็บอกว่าผู้หญิงก็จะมีทั้งหลาย ๆ มุมมองที่มอง แต่สิ่งที่เรามองก็คือผู้หญิงคือส่วนที่เรียกว่า ผู้หญิงกับผู้ชายไม่ได้แข่งกัน แต่เป็นส่วนของการเติมเต็มซึ่งกันและกัน ผู้ชายก็อาจจะมีมอง มุมมองข้างหน้า มีความแข็งแรง แต่ผู้หญิงก็มีความละเอียดอ่อน ฉะนั้นถ้าเราทำงานคู่กัน เป็นคู่ที่เหมาะสมก็จะทำให้มีความ
สมบูรณ์มากขึ้น ถ้าหันไปมองทางการเมืองผู้หญิงก็เป็นสัญลักษณ์ของความที่ไม่รุนแรง ก็เรียกว่าเป็นสัญลักษณ์ของความสามัคคีปรองดองด้วย 
พิธีกร : อันนี้เป็นสัจจะธรรมเลยนะครับ ถ้าอยู่ในครอบครัวถ้าสามีภรรยาทำงานด้วยกันได้ก็ไปได้ เหมือนกันครับระดับชาติ 
นายรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ เราก็ได้มีการอธิบายว่าประเทศไทยก็จะมีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีขึ้น เพื่อที่จะให้สตรีของประเทศไทยนั้นมีโอกาสได้เข้าถึงแหล่งเงินทุน เพราะว่าผู้หญิงหลาย ๆ คนมีความสามารถแต่ไม่มีโอกาสในเรื่องของการเข้าถึงแหล่งเงินทุน หรือการศึกษาการพัฒนาที่ดีเพื่อที่จะกลับมาเสริมสร้างอาชีพ แล้วก็รวมถึงกลุ่มผู้หญิงอีกกลุ่มที่ยังต้องการความรู้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และความรู้ในเรื่องของการถูกกดขู่ข่มเหงทางเพศหรือทางด้านของความเป็นมนุษย์ ซึ่งอันนี้เราก็คงจะเอาบทบาทตรงนี้เข้าไปช่วยเหลือ เน้นในเรื่องของการช่วยเหลือผู้หญิงในประเทศไทยค่ะ 
พิธีกร : เห็นว่าอันนี้จะเปิดตัวเร็ว ๆ นี้ 
นายกรัฐมนตรี : ค่ะ เราก็จะเปิดตัวเร็ว ๆ นี้ค่ะ ก็คงจะเชิญผู้ที่มีความรู้แล้วก็ทำในเรื่องของอุดมการณ์เกี่ยวกับสตรีทั้งหมดมาให้ความคิด ก็ถือว่าเป็นวาระที่เป็นเหมือนกันสตรีแห่งชาติที่ทุกคนคงจะมาช่วยกันให้ความรู้ ความคิดเห็น แล้วสุดท้ายก็จะกลับไปพัฒนาสตรีในชุมชนแต่ละจังหวัด 
พิธีกร : ต่างประเทศเค้างง ๆ สงสัย ไหมครับว่า นายกรัฐมนตรีเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทยได้รับการเลือกตั้ง รู้สึกว่าเค้ามั่นใจในประชาธิปไตยไทยมากขึ้น แล้วก็เห็นนายกฯ หญิงไปอย่างนั้น เค้าตื่นเต้น เค้าพูดอะไร เค้าคอมเม้นท์ (comment) อะไรบ้างครับ 
นายกรัฐมนตรี : จริง ๆ เค้าดีใจนะค่ะ คือโอกาสที่ผู้นำหญิงก็อาจจะจำนวนที่เป็นผู้หญิงที่มาเล่นในการเมืองนี่อาจจะน้อย ก็เลยอาจจะเป็นที่ที่สนใจ แล้วก็ช่วงนี้ประเทศไทยก็เป็นจุดดีนะค่ะ แต่ก็ต้องสร้างความมั่นใจ เค้าก็มาหลายคนก็มา มีอีกคำถาม ก็มาถามเหมือนกันเรื่องของภาวะวิกฤตในเรื่องของน้ำว่าเป็นอย่างไรบ้าง เพราะบางประเทศอย่างงานไทยไนท์ เราเชิญนักลงทุน นักธุรกิจ แล้วก็ผู้นำครึ่งหนึ่ง ส่วนหนึ่งก็จะเป็นนักธุรกิจที่ลงทุนอยู่ในประเทศไทยเราก็ต้องการตอกย้ำให้เค้ามั่นใจว่าฐานที่เค้าลงทุน เรายังพัฒนา เรายังมีการเจริญเติบโต ตามเศรษฐกิจที่เราบอกว่าจะโตขึ้น 5% แล้วขณะเดียวกันก็ต้องบอกว่าถ้าเค้าอยากจะขยายฐานก็ยังขยายได้อยู่กับอีกกลุ่มที่เค้ากำลังศึกษาอยู่เทียบกับประเทศอื่น ๆ ซึ่งตรงนี้เป็นกลุ่มที่เราต้องการสร้างความมั่นใจให้เร็วที่สุดเพราะว่าถ้าวันนี้ฐานเงินมีอยู่แต่เราเองเราไม่ทำให้ ไม่ฉกฉวยโอกาสนี้ โอกาสนี้ถ้าเกิดเข้าไปตั้งถิ่นฐานที่ประเทศอื่นแล้ว เราจะดึงกลับมายาก ซึ่งดิฉันเองเป็นห่วงในจุดนี้ในการสร้างความมั่นใจ 
พิธีกร : เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็คือ เรื่องใหญ่คือเรื่องน้ำ 
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ 
พิธีกร : อนุญาตเข้าเรื่องน้ำเลย เรื่องน้ำตอนนี้ก็ต้องขออนุญาตถามตรง ๆ ว่า มีการวิภาควิจารณ์พอสมควร ถึงนายกรัฐมนตรีได้แถลงไปก่อนเดินทางแถลงเรื่องน้ำครั้งใหญ่ ก็ยังมีการวิภาควิจารณ์อยู่ว่า มันยังไม่พอมันยังครบบางคนถึงกับบอกว่าแผนที่มีมันกว้างเกินไป มันต้องมีแผนละเอียดกว่านี้ นายกรัฐมนตรีกำลังทำอะไรอยู่ครับตอนนี้ 
นายกรัฐมนตรี : ต้องเรียนคุณสุรนันทน์ ว่าทุกคำถามหรือทุกข้อวิจารณ์ ในตามสื่อหรือที่ต่าง ๆ เรารับฟังนะค่ะ ต้องบอกว่าเก็บข้อมูลตลอด แล้วพยายามทำแต่บางครั้งยังออกแถลงข่าวไม่ได้
อย่างเช่น แผน อย่างเวลาเราอธิบายเราก็ต้องอธิบายภาพรวมทั้งประเทศจะไปเจาะลึกก็จะทำให้พี่น้องประชาชนไม่เข้าใจ แต่แผนเราก็ให้คณะกรรมการทำซึ่งก็จากคำถามบอกว่า 
พิธีกร : วันนี้คือแผนแม่บทมันเสร็จแล้วนี่ครับ 
นายกรัฐมนตรี : แม่บทใหญ่เสร็จหมดแล้วค่ะ กำลังเริ่มทำแผนรายจังหวัด แล้วก็เมื่อวานที่ผ่านมาเราก็มีการประชุมกับทางคณะกรรมการ กยน. (คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและวางระบบบริหารจัดการน้ำ)ซึ่งก็จะได้มีการสรุปในเรื่องของแผนบริหารจัดการน้ำทั้งประเทศในที่หลายท่านบอกว่า ในเดือนพฤษภาคม น้ำในเขื่อนจะเหลือเท่าไหร่แล้วระบายไปแล้วจะเป็นอย่างไร อันนี้ก็จะมีคำตอบแต่ว่าบางครั้ง อย่างเช่นยกตัวอย่างบางอย่างเราพูดไม่ได้ต้องกราบเรียนจริง ๆ ก็คือย่างเช่น บริเวณลุ่มน้ำ หรือพื้นที่ที่อาจจะมีผลกระทบนั้นเราไม่สามารถประกาศทางพับริค (public) ได้ แต่ในความเป็นจริงเราจะเข้าไปในพื้นที่ ที่จะทำความเข้าใจกับประชาชน 
พิธีกร : แต่ถ้าผมเป็นประชาชนตรงหมู่บ้านตรงนั้นที่เคยท่วม หรือแม้กระทั้งคนกรุงเทพฯ เองที่ไม่ท่วม มันจะท่วมไม่ท่วมตรงนี้ท่านนายกฯ จะตอบอย่างไร 
นายกรัฐมนตรี : อันนี้ขอเวลานิดนึง เพราะว่าเราต้องคำนวณตั้งแต่ต้นน้ำ พยากรณ์ทั้งหมด ซึ่งตอนนี้กำลัง 
พิธีกร : คือท่านจะไปไล่ลงมาเลยใช่ป่าวครับ 
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ เราจะไปไล่เลย เพราะตอนนี้กำลังรวมทุกที่ เพราะว่าเมื่อก่อนเราอาจจะบอกว่าเราดูแต่น้ำในเขื่อน แต่วันนี้ดูน้ำในเขื่อนอย่างเดียวไม่ได้ ดูน้ำในทุ่ง ดูปริมาณน้ำฝนที่จะเติมเข้ามาในเขื่อน ดูทุกอย่างแล้วก็ต้องบอกว่าดูแล้วน้ำจะออกไปทางไหนบ้าง ซึ่งมันก็ต้องไล่ในรายละเอียด ซึ่งเราก็ไม่สามารถจะบอกเป็นจำนวนได้ก็ต้องค่อย ๆ ไล่กัน แต่ว่าเราก็ตั้งมั่นว่าเอาให้เสร็จก่อนที่น้ำจะมา เพื่อว่าพี่น้องประชาชนจะได้สบายใจ 
พิธีกร : นายกฯ มั่นใจว่าเราคงบังคับน้ำไม่ได้หมด 
นายกรัฐมนตรี : เรียนตรง ๆ เลยนะคะเราบังคับน้ำไม่ได้ แล้วก็สำหรับแผนเรียกว่าแผนเฉพาะหน้า ที่เราทำเราคงไม่สามารถครอบคลุมเรื่องของการป้องกันได้ทั้งหมด เราเองเราคงได้เฉพาะในส่วนของฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อให้ไหลลงและก็ป้องกันในเฉพาะเขตเมืองเศรษฐกิจและก็นิคมเท่านั้นต้องกราบเรียนอันนี้ แต่ว่าอยู่ในแผนแม่บทที่เรื่องของการพัฒนาน้ำอย่างยั่งยืนนะคะ ในวงเงิน 350,000 ล้าน จะมีการเชื่อมแม่น้ำอีก 17 ลุ่มน้ำ อันนี้จะระยะยาว แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำทีหลังเพราะทุกอย่าง
ต้องทำคู่กัน ถ้าไม่เริ่มวันนี้เราจะไม่มีเวลาแล้วสำหรับปีหน้าเราก็จะพูดอย่างนี้กับปีหน้าไม่ได้เพราะว่าอย่างบางที่ใช้เวลาทำเป็นปีค่ะ เราต้องทำเลย 
พิธีกร : เพราะฉะนั้นก็เริ่มไปหมดแล้ว 
นายกรัฐมนตรี : ค่ะ เราเริ่มหมดเลย 
พิธีกร : จุดที่เคยแตก ที่แตกมาเป็นข่าว นิคมนี้ นิคมนั้น หรือประตูน้ำนี้ ประตูน้ำนั้น ท่านนายกฯ มั่นใจแค่ไหน 
นายกรัฐมนตรี : อันนี้ก็เรียกว่ามันมีความลำบากอยู่ตรงที่กระบวนการกลไกลของภาครัฐด้วยอย่างเมื่อวานนะคะวันพฤหัส ดิฉันก็ไปที่สำนักงบประมาณ เราก็เชิญทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่ออะไร เพื่อที่จะดูว่าเมื่องบประมาณบางส่วนวันนี้เราก็ไม่ได้ใช้งบประมาณเต็มจนกว่างบประมาณจะผ่านไปเดือนมีนาเลยจะได้ 120,000 ล้านเราใช้ได้บางส่วนนะคะ วันนี้เราก็ไปใช้เท่าที่มีโดยที่ไปพยายามที่จะทำอย่างไรให้เร่งรัดในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างให้เร็ว เพราะว่าอันนี้เป็นสิ่งที่ดิฉันเป็นห่วงก็เลยเป็นที่มาว่า 
พิธีกร : ท่านก็เลยไล่งานในกรุงเทพ เห็นไล่งานสำนักงบฯ สำนักงานทุกกรมเลย 
นายกรัฐมนตรี : มันอยู่ไม่ได้ก็นั่งไล่ไปและเพื่อให้เกิดความเข้าใจกันด้วย ก็ไปไล่งานในกรมก่อน แล้วก็อยู่ช่วง 10 กว่า จะไปไล่ลงพื้นที่ 
พิธีกร : ผมได้ข่าวว่าจะไปไล่ตั้งแต่เขื่อนลงมาเลย 
นายกรัฐมนตรี : ค่ะคือเราจะไล่หมดเลย คือเราจะวางวิธีการที่จะไปตรวจด้วย เรียกว่าเราจะไปตรวจมากกว่า 3 -4 วัตถุประสงค์ คือเรื่องแรก ไปติดตามว่าเงินที่ลงไปทำเสร็จหรือยัง ทำจริงหรือเปล่า เพื่อให้แน่ใจว่างานทุกอย่างอยู่ในมือของคนทำ แล้วดิฉันก็จะได้สบายใจและรู้ว่าเสร็จเมื่อไหร่ จะได้รู้ว่าโอเคนะ อย่างเขื่อนนี้ที่พังไปจะเสร็จเมื่อไหร่ อีกส่วนนึงก็คือเงินเยียวยาพี่น้องประชาชน แล้วไปดูในเรื่องของการระบายน้ำตั้งแต่ต้นน้ำ น้ำฝนลงมาแล้วน้ำจะไหลไปสู่คลองเร็วที่สุดอย่างไร ให้ไหลทางตรงให้มากที่สุด แล้วก็ไปดูต่อว่าตามเขื่อนคันกั้นน้ำ ก็ไล่ไปหมดเลย อันนี้ก็จะไปทำทั้ง 3 วัตถุประสงค์เลย 
พิธีกร : เห็นบอกว่าจะไปทั้งสัปดาห์เลย 
นายกรัฐมนตรี : ค่ะ 
พิธีกร : คงต้องดูรายละเอียดพอสมควร 
นายกรัฐมนตรี : ก็ไล่ตั้งแต่ทางเหนือเลยค่ะ 
พิธีกร : ลงมาถึงกรุงเทพมหานคร 
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ 
พิธีกร : กรุงเทพมหานคร ท่านนายกฯ มองอย่างไรครับ เพราะว่าดูเหมือนว่าท่านรองนายกฯ ยงยุทธ ก็ไปเจรจามาได้ระดับนึง 
นายกรัฐมนตรี : ค่ะ 
พิธีกร : ท่านเชื่อมั่นว่ามันจะเดินได้ด้วยกันได้ต่อไป 
นายกรัฐมนตรี : อย่างไรก็ต้องช่วยกันนะค่ะ ต้องบอกอย่างนี้ เพราะว่าได้มอบหมายให้ท่านรองนายกฯ ยงยุทธ แล้วก็ได้ไปหารือกลับทางกรุงเทพมหานครแล้ว 
พิธีกร : ครับ 
นายกรัฐมนตรี : แล้วก็จะเอาคลองทั้งหมดนี่มาแบ่งกัน ซึ่งเบื้องต้นเขามีการจัดสรรแล้วนะคะ กรุงเทพมีประมาณ 20 กว่าคลอง 
พิธีกร : ครับ 
นายกรัฐมนตรี : ซึ่ง 20 กว่าคลองเราก็จะเอากระทรวงต่าง ๆ มาช่วยกัน และในส่วนของกองทัพด้วย แต่คลองเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่พี่น้องประชาชนบอกว่ามี เขาเรียกว่าคลองฝอย 300 กว่าคลองเรามอบหมายให้ทางกองทัพรับไปแล้วนะคะ ซึ่งก็คงจะมานัดหมายในเรื่องของแผนที่จะลงไป แต่ส่วนท่อในเรื่องรายละเอียดของการลอกท่อก็จะเป็นหน้าที่ของ กทม. ที่จะไปทำ 
พิธีกร : ครับผมฟังท่านนายกฯ ที่ท่านนายกฯ พูด ผมคิดว่าผมจะพูดได้ไหมว่า ถ้าเกิดน้ำมาในลักษณะเดียวกันปีที่แล้ว ถ้ามันมา ไม่อยากให้มานะครับ ถ้ามันมา จัดการตามคูคลอง เราน่าจะรู้ว่าจะไปทางไหน จะจัดการอย่างไร 
นายกรัฐมนตรี : คือเรารู้แล้วว่าจะจัดการอย่างไร 
พิธีกร : โอเค คือเรารู้แล้ว 
นายกรัฐมนตรี : แต่ตอนนี้ต้องไปไล่ของการเชื่อมต่อ 
พิธีกร : โอเคเข้าใจแล้ว ครับ 
นายกรัฐมนตรี : คือทุกคนจะขุดคลอง แต่ต้องแน่ใจว่าคลองนี้ขุดแล้วมันตรงกันมันต่อเนื่องกัน 
พิธีกร : น้ำลงแล้ว 
นายกรัฐมนตรี : น้ำลงคือการระบายน้ำซึ่งตรงนี้เป็นจุดที่ยาก เพราะว่ากว่าเราจะถ่ายทอดจากคณะกรรมการ ซึ่งต้องใช้เวลาจากในเรื่องของศาสตร์ทางวิชาการหลายท่าน ๆ 
พิธีกร : หลาย ๆ ศาสตร์มาก 
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ จริง ๆ มันไม่มีใครถูกใครผิดแต่มันมีหลายวิธี 
พิธีกร : ครับ 
นายกรัฐมนตรี : แต่หลาย ๆ วิธีนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับมวลชนและสภาพความเป็นจริงด้วย ดิฉันเองก็ต้องไปลงพื้นที่ เพื่อไปหารือกับเจ้าของพื้นที่ด้วยว่า แผนแบบนี้คุณคิดว่าอย่างไรทำได้มากน้อยแค่ไหน เร็วแค่ไหน อย่างเช่นถ้าคุณสุรนันท์ว่าจะไปขุดคลองผ่านแนวลุ่มน้ำตรงนี่ ปรากฏว่าบ้านเรือนเต็มเลยสุดท้ายทำไม่ได้ 
พิธีกร : ชาวบ้านไม่ยอม 
นายกรัฐมนตรี : เราก็ต้องไปหาที่ที่ดีที่สุด และกระทบและเสียหายน้อยที่สุด แล้วก็ไปขอความร่วมมือกับชาวบ้านนั้น เลยไม่สามารถบอกว่าอยู่บนกระดาษแล้วประกาศเลยว่า ลงตรงนี้แน่นอน ถ้าไปเจอบนพื้นที่ที่เป็นหมู่บ้านที่ก่อสร้างแข็งแรงมันก็เป็นไปไม่ได้เราก็ต้องดูทางออก ฉะนั้นก็จะมาเอาแผนทั้งหมดแผนแม่บทไปประสานลงในจังหวัด ซึ่งอันนี้ก็จะลงบนพื้นที่จริงและ 
พิธีกร : 7 วัน ท่านนายกฯ คงไม่มีเวลาไปทุกจังหวัด จังหวัดที่ท่านนายกฯ ไม่ได้ไปเขาจะน้อยใจไหม 
นายกรัฐมนตรี : เราไป คำว่าไป คือไปดูสถานที่จริงในบางที่ แต่บางที่ไม่จำเป็น เราจะเชิญผู้ว่าฯ ทุกจังหวัดที่เกี่ยวกับน้ำท่วมมาซึ่งเราจะแบ่งการเดินทางเป็นการบริหารจากต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ดังนั้นจังหวัดไหนที่เกี่ยวกับต้นน้ำเราก็จะเชิญมาหมดเลยนะคะ เราเอาทุกกระทรวงมาหมดเลย 
พิธีกร : ฉะนั้นผู้ว่าฯ ที่ไม่ได้อยู่ในกำหนดตามที่ท่านนายกฯ ไปก็ต้องทำงานเหมือนกัน 
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ และต้องทำล่วงหน้าด้วยค่ะ วันนี้ทำงานแล้วเพราะว่ากว่าจะไปถึงวันนั้นรอคำตอบวันเดียวคงจะไม่ได้ หลายท่านก็คงต้องถกแถลงและก็ดูสถานที่จริงด้วย และจะขอทางคณะกรรมการ กยน. ลงไปด้วยนะคะ ไปช่วยดูทั้งหมดแล้วไปดูให้แน่ในว่าทางเทคนิคกับทางปฏิบัตินั้นมันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ 
พิธีกร : เพราะฉะนั้นใครที่แบ่งงานกันไป ท่านนายกฯ ลงไปแต่ละจุดก็ต้องมารายงาน และต้องมาถกกัน 
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ และก็จะสรุปกันช่วงที่เราเดินทางต่างจังหวัด 
พิธีกร : ท่านนายกฯ ที่ท่านนายกฯ ไปคุยเรื่องการพัฒนาประเทศและคุยเรื่องน้ำ 
นายกรัฐมนตรี : ค่ะ 
พิธีกร : มันมีกลไกลนึงที่สำคัญก็คือ เรื่องของเงิน 
นายกรัฐมนตรี : ค่ะ 
พิธีกร : ทราบว่าท่านนายกฯ เองก็นำเสนอ จริง ๆ แล้วคณะรัฐมนตรีผ่านมาแล้วเป็นพระราชกำหนด 4 ฉบับ 
นายกรัฐมนตรี : ค่ะ 
พิธีกร : เกี่ยวกับเรื่องการบริหารจัดการเงิน ทั้งระบบเลย 
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ 
พิธีกร : เพื่อมาจัดการเรื่องนี้แล้วพระราชกำหนดก็เข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรถูกยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย 2 ฉบับ 
นายกรัฐมนตรี : ค่ะ 
พิธีกร : และอีก 2 ฉบับ ก็เข้าผ่านไปแล้ว 
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ 
พิธีกร : ทีนี้ทราบว่าท่านนายกฯ เองอยากให้เข้าทั้ง 4 ฉบับ ทำไมต้อง 4 ฉบับ ทำไมต้องไปพร้อมกันมีหลักการอะไรครับ 
นายกรัฐมนตรี : ก็ต้องเรียนว่า โดยวงเงินรวมนะค่ะ คือมันเป็นความจำเป็น อย่างที่เรียนว่าเราไปคุยกับนักลงทุนก็ต้องเห็นว่าบอกแผนจะลงทุน มันก็ต้องมีเรื่องของกรอบโครงงบประมาณ และก็เม็ดเงินที่เขาคิดว่ามันจะเกิดขึ้นได้จริง ๆ อันนี้คือสิ่งที่เป็นที่มาของการที่เรามีความจำเป็นที่จะต้องเร่งออก พรก.ทั้ง 4 ฉบับ พร้อมกัน 
พิธีกร : คือต้องเป็น พรก.
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ เพราะว่าต้องเป็น พรก. เพื่อว่าจะได้เห็นว่า มีวงเงิน เพราะว่าเหตุผลนะคะ จากเหตุผลว่าทำไมต้องเป็น พรก.จากเหตุผลก็คือว่า 1.ก็คือว่า เงินต้องใช้ 350,000 ล้านบาท ในการที่จะแก้ปัญหาเรื่องของการบูรณาการน้ำ อย่างยั่งยืน เพราะว่าเราทำวันนี้มันก็ได้แค่บางส่วน ซึ่งเราก็ต้องเร่งทำสำหรับปีหน้าต่อไป 
พิธีกร : คือเงินที่มีเราก็ไปซ่อม ๆ นิด ๆ หน่อย ๆ 
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ แต่ในด้านเทคนิคคือด้านข้อกฎหมายมันก็จะติดว่าถ้าเราจะกู้ตรงนี้มันก็มีติดเรื่องของวงเงิน ซึ่งอย่างวงเงินวันนี้ถ้าดูตามข้อกฎหมายเราติดลบไปแล้ว 400,000 ล้านบาท เราจะกู้เราจะเพิ่มวงเงินได้อีก 100,000 กว่าล้านบาท 2. ก็คือภาระหนี้ที่เรามีอยู่ มันก็จะเป็นหนี้ที่เกิดจากการใช้จ่ายในประเทศ แล้วก็มีอีกหนี้ก้อนหนึ่งซึ่งเป็นหนี้ที่นานแล้วที่รัฐบาลรับภาระแทนกองทุนฟื้นฟูอยู่ในก้อนนี้ด้วย
พิธีกร : อันนี้นานแล้ว ตั้งแต่สมัยวิกฤตเศรษฐกิจ ปี 2540
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ ที่สำคัญมันไม่ใช่ตรงนั้น หนี้ที่ของกองทุน ฟื้นฟูที่รัฐบาลใช้เป็นเงินภาษีประชาชนที่มาใช้จ่ายนี้ ซึ่งชำระได้แค่ดอกเบี้ยกับเงินต้นนิดเดียว ถ้าเราไม่ปรับปรุงวิธีนี้ก็กลายว่าหนี้นี้ก็จะเป็นหนี้ของประชาชนตลอดไป และไม่ถูกใช้เงินต้นเลย 
พิธีกร : ผมจำได้ เพราะว่าผมอยู่ในเหตุการณ์ตอนที่โอนมาให้รัฐบาลดูแล ให้งบประมาณดูแล และฟังอาจารย์วีรพงษ์ รามางกูร ท่านก็บอกว่าจริงๆแล้วมันเป็นเรื่องที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องรับผิดชอบตรงนี้ ก็เป็นสิ่งที่ถูกแล้วในการจัดรูปบัญชีอย่างงี้
นายกรัฐมนตรี : ค่ะ ก็คือ ถ้าเราพูดถึงถ้าเราย้อนถึงอดีตก็คือว่า เมื่อก่อนก็ตอนที่ กองทุนฟื้นฟูมีปัญหา มีภาระตอนนั้นรัฐบาลแข็งแรง รัฐบาลก็กลายเป็นรับว่าภาระนี้ให้
พิธีกร : ก็ช่วยกันก่อน 
นายกรัฐมนตรี : ช่วยกันก่อน แต่วันนี้ถามว่ารัฐบาลเองมีภาระ ที่ต้องใช้จ่ายเรื่องของงบประมาณในการดูแลในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ของพี่น้องประชาขน ต้องดูเรื่องของน้ำอีก 350,000 ล้านบาท เราไม่สามารถที่จะรับภาระก้อนนี้ได้ มันทำได้ สองวิธี คือ 1. การที่จะโอนภาระการชำระหนี้ กองทุนฟื้นฟูกลับคืนสู่แบงค์ชาติ หรือขึ้นภาษี ซึ่งเราก็ไม่อยากจะเลือกในการซ้ำเติมพี่น้องประชาชน เราถึงออกมาเป็น พรก.ในการที่จะ ขอโอนภาระการชำระหนี้นั้นกลับคืนเข้าสู่กองทุนฟื้นฟู
พิธีกร : เหมือนจะให้ถูกที่ถูกทางซะ 
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ เพราะฉะนั้นหนี้นี้ก็จะเป็นหนี้ของประชาชนต่อไปไม่มีวันสิ้นสุด 
พิธีกร : ถ้าคิดเหมือนนักธุรกิจหรือประชาชนทั่วไปดีกว่า ผมจัดค่าใช้จ่ายครัวเรือนของผม ผมก็ต้องพยายามที่จะทำยังไงที่จะทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายตัวเองน้อย ๆ ลง เอาเงินตรงนี้ไปลงทุน 
นายกรัฐมนตรี : ถูกต้องคะ เหมือนวันนี้คุณสุรนันท์ ติดหนี้แบงค์อยู่ แต่คุณสุรนันท์มีหนี้ สองก้อน คือ หนี้เก่าที่คุณสุรนันท์ใช้แทนเพื่อน เป็นคนไปค้ำประกันแล้วก็ใช้แทนเพื่อนอยู่ในก้อนนี้ด้วย 
พิธีกร : 15 ปีแล้ว 
นายกรัฐมนตรี : 15 ปีแล้ว ใช้ไปก็ได้แต่ดอกเบี้ยเงินต้นก็ไม่มี กับอีกปีหนึ่ง ๆ เงินก็ต้องมาเลี้ยงดูครอบครัวไม่มี ซึ่งมันมีอยู่ สองก้อนนี้ เราก็ต้องบอกว่าวันนี้เพื่อนนะรวยแล้ว ขอฝากก่อนเถอะแล้วเดี๋ยวฉันแข็งแรง ฉันมีกำลัง แล้วฉันจะมาช่วยทีหลัง 
พิธีกร : คือช่วยกัน ยังไงก็เป็นหนี้ของประเทศอยู่แล้ว
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ 
พิธีกร: แต่ในแบงค์ชาติก็ช่วยดูแลหน่อย
นายกรัฐมนตรี : ค่ะ 
พิธีกร : เราเองก็จะได้เอาตรงนี้มาพัฒนาประเทศ
นายกรัฐมนตรี : ถูกต้องค่ะ 
พิธีกร : แล้วพอตรงนี้เจริญเติบโตขึ้น ประชาชนมีรายได้ดี ขึ้น เราก็ไม่ต้องขึ้นภาษี
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ 
พิธีกร : ฐานภาษีมันใหญ่ขึ้น เงินมันเยอะขึ้นเราก็ทำงานต่อได้ 
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ เพราะเป้าหมายเราต้องการให้ประเทศแข็งแรงก่อน แข็งแรงมาจาก สองส่วนคือพื้นฐานของประชาชนที่ต้องแข็งแรงกลับสู่ภาวะวิกฤตแล้วก็ตัวประเทศแข็งแรง ฉะนั้นต้องนี้เป็นที่มาของความจำเป็นเร่งด่วน ในการออก พรก.ทั้ง 4 ฉบับร่วมกันคะ 
พิธีกร : ยังงี้ถ้าเกิดได้ 350,000 ล้านบาท เมื่อสักครู่ท่านบอกว่าจะไปตรวจ จะไปอะไร แผนงานก็จะชัดเจน ลงทำงานได้เลยใช่ไหมครับ
นายกรัฐมนตรี : ใช่คะ ก็ทำงาน เรียนว่าเราทำงานเลยเราไม่รอ เพราะว่าประชาชนก็คงไม่รอ คงบอกว่านั่งรอแบบนี้ไม่ได้ แต่เมื่อเราทำเสร็จ เงินมาปุ๊บเราลงได้เลย ถ้าไม่มีเงินเราก็จะได้แต่แผน ฉะนั้นเค้าก็จะถามหาอีกว่า อ้าวที่พูดไป ความมั่นใจอยู่ตรงไหน คือต้องเรียนว่าหลายๆท่านอาจจะมาบอกว่าดิฉันได้พูดคำว่าเอาอยู่ จริงๆมันตั้งแต่ นานแล้ว ตอนนี้กราบเรียนว่า ยอมรับคะที่ผ่านมานั้นข้อมูลมันเยอะมาก แต่วันนี้ความสำเร็จอยู่ที่ความร่วมมือร่วมใจของทุกคน คุณสุรนันท์ คงเห็นว่าการที่เราเองเหมือนกับยืนอยู่ตรงกลางในการบูรณาการรวมต้องอาศัยความร่วมมือ ทางเทคนิคก็ต้องร่วมมือในการส่งข้อมูลให้ครบ ให้ถูกและก็ช่วยกันทำให้เป็นไปตามแผน อันนี้คือสิ่งที่เป็นความสำเร็จที่เราจะเกิดมาร่วมกัน หลายคนบอกว่า GDP ปีนี้ ตั้งไว้ 5 เปอร์เซ็นต์ จะได้ได้อย่างไร ตอบไม่ง่ายเลยค่ะ ได้มาจากความมั่นใจด้วยกันที่เราต้องทำงานร่วมกัน เพื่อให้ฟันฝ่า ปี 55 
พิธีกร : ปี 55 
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ ปี 2555
พิธีกร : มี 5 สามตัวนะ มีอีก 5 นึง เจริญเติบโต 5 เปอร์เซ็นต์ ท่านนายกฯ ผมเห็นว่าช่วงที่สภายุ่งๆ ก็อุตส่าห์ไปพูดที่สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ พูดเรื่องนี้ด้วย 
นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ
พิธีกร : 5 เปอร์เซ็นต์เลยหรอครับ 
นายกรัฐมนตรี : 5 เปอร์เซ็นต์ เพราะเรามองว่า หลังจากคือวิกฤตเรื่องน้ำ ไม่ใช่เป็นวิกฤตของภาวะเศรษฐกิจการเงินแต่เป็นเป็นหาอุทกภัย แต่เมื่ออุทกภัยหายแล้ว ถ้าภาครัฐมีการลงทุนใช้จ่าย เข้าไปมันก็จะเกิดการจ้างงานได้ เราก็เชื่อว่าตรงนี้จะกลับมาเศรษฐกิจก็จะกลับมาเหมือนเดิม เราก็เลยตั้งเป้าว่า น่าจะกลับมาที่ 5 เปอร์เซ็นต์ ได้ 
พิธีกร : ก็ต้องช่วยกัน ตรงนี้ต้องช่วยกันทุกคน ไม่ใช่รัฐบาลคนเดียว 
นายกรัฐมนตรี : ต้องช่วยกันทุกคนคะ ตรงนี้ต้องเรียนว่าไม่ใช่ดิฉันคนเดียว ก็คงจะไม่สามารถทำให้งานสำเร็จได้ ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือร่วมใจจากทุกคนคะ 
พิธีกร : พูดถึงเรื่องช่วยกัน ต้องขออนุญาตเอี่ยวเข้าการเมืองนิดหนึ่ง มีข้อวิพากษ์วิจารณ์นายกรัฐมนตรีว่า ไม่ค่อยไปสภาผู้แทนราษฎร ไม่ค่อยไปประชุม จริงหรือเปล่าครับ
นายกรัฐมนตรี : เรียนว่า ไป เราเอาความจริงใจว่าเราเอาเองเรามีความตั้งใจแล้วก็ ให้เกียรติแล้วก็เคารพที่สภาแล้วก็รวมถึงวุฒิสภาด้วยแต่ก็ต้องกราบเรียนขอความเห็นใจ ว่าดิฉันเองก็มีการแบ่งงานมอบหมายงานให้รองนายกรัฐมนตรีทั้งหมด เพราะเราเชื่อว่าการที่เป็นนายกรัฐมนตรีควรจะให้ในเรื่องของนโยบายและติดตามงานในรายละเอียดกำกับนั้นก็เป็นเรื่องของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีแต่ละกระทรวงไป ซึ่งดิฉันได้มอบหมายไปหมดแล้ว แล้วก็อีกส่วนหนึ่งก็มีภารกิจหลายอย่างที่จะต้องไปติดตาม 
พิธีกร : และงานบริหารประเทศท่านก็ต้องทำของท่าน
นายกรัฐมนตรี : ใช่คะก็จะพยายามไปคะแต่บางครั้งเวลา อาจจะไม่เหมาะสมลงตัวกันก็เลยมองว่าบางครั้งเราเองไม่ให้ความสำคัญกับสภา หรือทางวุฒิสภา แต่จริง ๆ กราบเรียนว่าให้ความสำคัญเสมอคะ องค์กรนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหารต้องทำงานควบคู่กันอยู่แล้วก็ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน 
พิธีกร : ฉะนั้นก็ไม่มีปัญหา วันก่อนท่านนายกฯ ก็ตอบกระทู้เอง 
นายกรัฐมนตรี : วันนั้นก็ตอบกระทู้เอง แล้วก็วันก่อนก็ไปวุฒิสภา พอดีก็ติดภารกิจที่จังหวัดลพบุรี แต่กว่าจะเดินทางจากจังหวัดลพบุรีมาก็ชั่วโมงกว่า แล้วก็ไปติดประชุมของทางปลัดกระทรวงด้วย เสร็จแล้วก็รีบตามไปให้ข้อมูลที่สภาฯ คะ
พิธีกร : บางครั้งเห็นหอบเอกสารไปนั่ง
นายกรัฐมนตรี : ค่ะก็ไปที่สภาฯ ส่วนใหญ่ไปตลอดค่ะ แต่อาจจะไม่ได้นั่งในสภาฯ แต่ว่าจะนั่งอยู่บริเวณนั้นก็จะนั่งทำงานไปด้วย ควบคู่กันไป
พิธีกร : สรุปนะครับ ท่านนายกฯ สัปดาห์หน้า 13 ใช่ไหมครับ ที่จะเริ่มเดินทาง 
นายกรัฐมนตรี : 13-17 กุมภาพันธ์ 2555 
พิธีกร : 13-17 ฉะนั้นสัปดาห์หน้าวันที่ 11 ผมคงต้องขออนุญาตเรียนเชิญท่านนายกฯ อีกครั้ง
นายกรัฐมนตรี : ค่ะ ยินดีค่ะ เพราะว่าจะขอโอกาสใช้เวทีสำหรับอาทิตย์หน้าที่จะมาเล่าให้พี่น้องประชาชนกับสื่อมวลชนทุกท่านว่าเราจะเดินทางไปติดตามเรื่องของการบริหารจัดการน้ำตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำอย่างไรในช่วง 13-17 คะ
พิธีกร : ผมจะเอาจุดต่าง ๆ ที่เป็นข้อติดใจของประชาชนมาเรียนถามท่านนายก ฯ ในวันนั้นเลยนะครับ 
นายกรัฐมนตรี : ยินดีค่ะ 
พิธีกร : ครับ ขอบคุณท่านนายกฯ มากนะครับสำหรับสัปดาห์นี้ สวัสดีครับ 
นายกรัฐมนตรี : ค่ะ สวัสดีค่ะ 
พิธีกร : และนั้นก็คือรายการ รัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชนนะครับ และพบกันใหม่สัปดาห์หน้านะครับ
----------------------------------
 
 
รายงานข่าวโดยนายเก็บตก

รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบปร ะชาชน ย้อนหลัง

 

รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบปร ะชาชน (22/1/2012)

กระทรวงสาธารณสุขร่วมบูรณาก ารหน่วยงานของทุกภาคส่วนที่ เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ในการจัดทำโครงการศูนย์ชุมช นสร้างสรรค์ บริเวณใต้ทางด่วนถนนสุขุมวิ ท-เพลินจิต พัฒนาพื้นที่สาธารณะ ให้เกิดประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชน สตรี และครอบครัว

วันนี้ (21 ม.ค. 55) เวลา 08.00 น. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวกับพี่น้องประชาชนในรา ยการ รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน ผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่ง ประเทศไทยและสถานีวิทยุกระจ ายเสียงแห่งประเทศไทย FM. 92.5 ดังนี้

พิธีกร (นายธีรัตถ์ รัตนเสวี) : สวัสดีครับขอต้อนรับผู้ชมเข ้าสู่รายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน" ประจำวันเสาร์ที่ 21 มกราคม 2555 วันนี้เป็นอีกวันหนึ่งนะครั บ ที่รายการของเรานั้นจัดรายก ารกันสด ๆ ครับ และที่สำคัญครับวันนี้เป็นอ ีกวันหนึ่ง ที่ได้มีการเปิดศูนย์ชุมชนส ร้างสรรค์ วันนี้เรามาอยู่บริเวณใต้ทา งด่วนเพลินจิต หลายท่านอาจจะเคยได้ขับรถผ่ านมาบริเวณใต้ทางด่วนเพลินจ ิต ตรงนี้เคยเป็นที่รกร้าง เคยเป็นที่ที่เต็มไปด้วยขยะ  แต่วันนี้พื้นที่ตรงนี้ที่เ รานั่งอยู่ตรงนี้ถูกแปรสภาพ เป็นศูนย์ชุมชนสร้างสรรค์ ซึ่งถือว่าเป็นอีกกิจกรรมที ่สำคัญที่ทำให้ชุมชนนั้นมีก ิจกรรมที่ทำร่วมกัน อะไรคือศูนย์ชุมชนสร้างสรรค ์เป็นอย่างไร วันนี้มีหลายท่านมาให้คำตอบ  ขณะเดียวกันช่วงเวลา 08.45 นาที ท่านนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์  ชินวัตร จะเดินทางมาเป็นประธานในพิธ ีเปิดศูนย์ชุมชนสร้างสรรค์ท ี่นี่อย่างเป็นทางการ ซึ่งเราจะมีบรรยากาศสด ๆ ให้ท่านผู้ชมได้รับชมกันด้ว ย แต่ก่อนอื่นที่มาที่ไปของศู นย์ชุมชนสร้างสรรค์เป็นอย่า งไรกันบ้าง ขอแนะนำผู้ที่จะมาสนทนากับเ ราในวันนี้นะครับ ท่านแรก คุณวิทยา บุรณะศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธาร ณสุข ท่านที่สอง พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงค มนาคม ท่านที่สาม คุณสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพั ฒนาสังคมและความมั่นคงของมน ุษย์ ท่านที่สี่ นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโน โลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และท่านสุดท้าย ทันตแพทย์กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ ผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนั บสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สวัสดีทุกท่านเลยนะครับ เรียนถามท่านรัฐมนตรีวิทยาก ่อนว่าที่มาที่ไปของโครงการ ศูนย์ชุมชนสร้างสรรค์เกิดขึ ้นมาจากอะไรครับ

นายวิทยาฯ : ท่านนายกฯ อยากเห็น การชุมนุมในเชิงสร้างสรรค์ไ ม่ใช่ชุมนุมเกเรและก็อยากมี สถานที่ที่หนึ่งที่ไม่ได้ใช ้ประโยชน์ จะเป็นส่วนของทางราชการไม่ว ่าจะเป็นที่สาธารณะ ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ของกรมทางหลวง ที่ของการทางพิเศษแห่งประเท ศไทย เหล่านี้ที่อยู่ในใต้ชุมชนบ ริเวณที่มีพี่น้องประชาชนอย ู่แล้วขาดโอกาสบางอย่าง ไม่มีสนามเด็กเล่น ไม่มีด้านวิชาชีพหรือมีสถิต ิของยาเสพติดสูง อย่างนี้ท่านนายก ฯ ก็ตำหนิมาแล้ว เราก็มาคิดร่วมกันมีการบูรณ าการจัดการจนกระทั่งเกิดกิจ กรรม คำว่า ลานสร้างสรรค์

พิธีกร : คำว่า ลานสร้างสรรค์ ไม่ใช่เป็นแค่สนามเด็กเล่นท ี่เราเห็นเครื่องเด็กเล่นเท ่านั้น แต่ดูเหมือนว่าทุกอย่างไม่ว ่าจะเป็นเรื่องของการกีฬา เรื่องของกิจกรรม เรื่องของการสร้างอาชีพ

นายวิทยาฯ : คือนี่เป็นสิ่งหนึ่งที่อยาก จะให้ชุมชนโดยเฉพาะกรุงเทพม หานคร มีชุมชนด้อยโอกาสเยอะมากคือ  เนื่องจากสถานที่แพง ความจำกัดของพื้นที่ก็มีปัญ หาเราในฐานะ กระทรวงสาธารณสุขก็ดูแลเรื่ องสุขภาวะในเวลาเดียวกัน ถ้าสุขภาวะด้านอาชีพต่าง ๆ จะต้องมาบูรณาการคือเป็นที่ มาของหน่วยงานที่ได้มาที่อย ู่ตรงนี้ทั้งหมดนะครับ เพราะฉะนั้นที่ตรงเดิมที่เห ็นเป็นที่ทิ้งขยะ เป็นที่ซ่องสุม เป็นที่อะไรต่างๆ พูดง่าย ๆ ตอนที่มาทำก็พบหลายอย่างตรง นี้มากแต่เราไม่อยากเอ่ยว่า มันมาจากไหนอย่างไร แต่ตอนนี้เราพบแต่สิ่งที่ดี  ๆ เปลี่ยนแปลงมาถึงตรงนี้เพื่ อให้เราได้ให้โอกาสกับชุมชน ตรงนี้ได้มีการใช้ประโยชน์ร ่วมกัน แบบครอบครัวสามารถมาใช้ด้วย กัน

พิธีกร : เรียนถามท่าน คุณหมอต่อว่าแนวคิดหนทางของ  สสส. ที่จะเอากิจกรรมต่างๆ ให้ชุมชนสร้างสรรค์มีการดูแ ลกันเอง นั้นมีความจำเป็นอย่างไรและ ช่วยให้สังคมนั้นให้มีคุณภา พขึ้นอย่างไรบ้าง

ทพ.กฤษดาฯ: คือต้องบอกว่าในทางหลักวิชา การมีการวิจัยมีขององค์การอ นามัยโลกและอีกหลายหน่วยงาน พูดได้ชัดเจนเลยว่าเด็กหรือ เยาวชน ถ้าเขามีพื้นที่สร้างสรรค์ม ากกิจกรรมก็จะเป็นไปด้านบวก  จะลดกิจกรรมทางลบไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องปัญหายาเ สพติดในเรื่องการติดเหล้า บุหรี่ เรื่องความรุนแรง เรื่องเพศได้ คราวนี้ถ้าช่วยกันเพิ่มพื้น ที่สร้างสรรค์ให้มากขึ้นเท่ าไหร่ เด็กเยาวชนและทุกคนในชุมชนก ็จะเข้มแข็งขึ้น ซึ่งตรงนี้เป็นนโยบาย ของทางท่านนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานบอร์ด สสส. และท่านรัฐมนตรีสาธารณสุขได ้ให้ไว้ในการประชุมบอร์ดครั ้งที่ผ่าน


พิธีกร : ถ้าเราดูแล้วปัจจุบันนี้คนเ ราเริ่มมีอาการป่วยจากการที ่ไม่ใช่โรคมากขึ้น การที่มีกิจกรรมแบบนี้เกิดข ึ้นคนได้มาออกกำลังกาย ได้มามีกิจกรรมร่วมกันเป็นก ารเสริมสร้างสุขภาพของพวกเข าให้ดีขึ้นด้วยใช่ไหมครับ

ทพ.กฤษดาฯ : ใช่ครับ ต้องบอกว่าเป็นการแก้ปัญหาแ บบบูรณาการ คือสมมุติว่า ถ้าเราบอกว่าจะไปแก้ปัญหาเร ื่องเหล้าหนึ่งเรื่องเราไปส อนไม่ให้เขากินเหล้าแก้ไม่ไ ด้ แต่ถ้าเราแก้วิถีชีวิตเขาเล ยเราสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีค นในชุมชนเขาได้มารวมกันมีคว ามสัมพันธ์กัน พ่อแม่ได้มาอยู่ด้วยกัน ลูก ๆ ได้มีกิจกรรมการเล่น พอทั้งหมดนี้เกิดขึ้นมาปุ๊บ  จะลดปัญหาทุกด้านทันที ถ้าไปแก้ปัญหาเป็นชิ้น ๆ แก้ไม่ได้อันนี้ก็ทิศทางสำค ัญที่ต้องดำเนินการ

พิธีกร : รัฐมนตรีชัจจ์ เราดูแล้วการหาพื้นที่ที่จะ จัดกิจกรรมในกรุงเทพมหานครใ ห้เป็นที่ศูนย์กลางของชุมชน ไม่ใช่เรื่องง่ายเหมือนกัน เพราะว่าพื้นที่ของกรุงเทพม หานครแพงเหลือเกิน เพราะฉะนั้นทำไม ที่ทางกระทรวงคมนาคม จึงเลือกพื้นที่และส่งมอบให ้กับโครงการนี้แล้วก็เลือกพ ื้นที่ตรงนี้ให้

พล.ต.ท.ชัจจ์ฯ : สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม ปีที่แล้ว ที่ให้ร่วมกันกับทางกระทรวง ต่าง ๆ บูรณาการจัดการอันนี้ โดยกระทรวงสาธารณสุขนี้ให้ม าก ทาง สสส. ด้วย นายกฯ ในฐานะประธานคณะกรรมการ สสส. ได้เน้นบอกว่าให้มีการร่วมช ุมชนดึงเข้ามาแล้วก็พยายามอ อกกำลังกายบวกไปในทางเชิงสร ้างสรรค์ด้วยทางบวกเพื่อให้ ห่างไกลยาเสพติด ห่างไกลจากโลกภัย ได้คลายความเครียด เราก็จะได้เห็นพื้นที่ของกร ะทรวงคมนาคมในกรุงเทพมหานคร  ยังมีที่รถไฟที่ว่างเปล่าอย ู่ยังมีอยู่บ้าง ที่ของการทางพิเศษฯ ซึ่งสามารถจัดได้แล้วก็อาจจ ะจัดบางแห่งเป็นเชิงพาณิชย์ แล้วแต่ความเหมาะสม ยังมีอีกหลายที่หลายแห่ง ซึ่งท่านรัฐมนตรีวิทยา ยังต้องไปช่วยดำเนินการต่อ


พิธีกร : ถ้ามองเฉพาะพื้นที่ใต้ทางด่ วนตรงนี้ เมื่อก่อนตรงนี้เคยเป็นที่ร กร้างว่างเปล่ามาก่อน เป็นพื้นที่เก็บขยะมาก่อน

พล.ต.ท.ชัจจ์ฯ : มีขยะ มีร้านค้าด้วย

พิธีกร : แต่พอหลังสองสามสัปดาห์ที่ผ ่านมามีการเคลียพื้นที่ทั้ง หมดด้วยการปรับพื้นที่ของกร ะทรวงคมนาคมมีการช่วยเหลือใ นการปรับพื้นที่อย่างไรบ้าง

พล.ต.ท.ชัจจ์ฯ : การทางพิเศษก็ต้องขยายและ ให้ผู้ที่มาอยู่รื้อ เข้ามาและก็ออกไปช่วยเคลียพ ื้นที่ ช่วยทำถนนเส้นนี้ประสานกับก ระทรวงสาธารณสุขเอาเงินให้ใ ครวางตรงไหน ๆ ทำสนามฟุตซอลที่เล่นได้ กระทรวงสาธารณสุขต้องเปิดไฟ ต่อไปคงต้องช่วยกัน เป็นรูปในบูรณาการ คงจะหาเจ้าภาพคนหนึ่งที่เป็ นคนคอยจัดการ ซึ่งผมเห็นในวันนี้น่าจะเป็ น สสส. อยู่ในแบคอัพดึงมวลชนมาด้วย จัดการปิดประตูดูแลให้ดีอย่ าให้กลายเป็นแหล่งมั่วสุม

พิธีกร : เมื่อสักครู่ สสส. ได้บอกเอาไว้คือ ต้องการจะสร้างชุมชนให้มีคว ามเข้มแข็งบทบาทของทางกระทร วงในการที่จะเสริมสร้างชีวิ ตที่มีความสุขมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ทางกระท รวงจะมีการจัดการกิจกรรมให้ กับที่นี่จะมีอะไรบ้าง

นายสันติฯ : ศูนย์ชุมชนสร้างสรรค์แห่งนี ้จริง ๆ ก็ต้องบอกว่าเป็นยาวิเศษ สำหรับเยาวชนหรือสำหรับชุมช นเมืองที่จะเข้ามาใช้ประโยช น์ในศูนย์ชุมชนสร้างสรรค์แห ่งนี้ โดยเฉพาะกระทรวงพัฒนาสังคม ก็จะมีหน่วยงานหลากหลายในกา รที่จะเข้ามาดูแลประชาชนและ ก็เยาวชนที่จะเข้ามาใช้ในศู นย์ชุมชนแห่งนี้ อย่างเช่น การสร้างเสริมอาชีพ ระยะสั้นเหล่านี้ นอกจากนั้นกระทรวงพัฒนาสังค ม ฯ ยังมีศูนย์ประชาบดีมีนักสัง คมสงเคราะห์ต่าง ๆ ที่จะเข้ามาประจำในศูนย์ชุม ชนสร้างสรรค์แห่งนี้ เพื่อที่จะมารองรับเยาวชนที ่อาจจะอยู่ในชุมชนแล้วมีปัญ หาใด ๆ ก็แล้วแต่ทางนักประชาสงเครา ะห์มีความชำนาญของกระทรวงก็ จะให้ขอเสนอแนะให้ความรู้ต่ าง ๆ ชี้ทางสว่างต่าง ๆ เสมือนหนึ่งจะเป็นที่ปรึกษา ของเยาวชนเหล่านี้ นอกเหนือที่จะไปสร้างเสริมอ าชีพมีกิจกรรมในการที่จะทำใ ห้เยาวชนที่จะมาใช้ในศูนย์แ ห่งนี้ก็จะมีทักษะ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์  อันนี้เป็นยาวิเศษ

พิธีกร : แสดงว่าไม่เป็นเพียงแค่ลานก ิจกรรมธรรมดา ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ศูนย์ฝึก อาชีพธรรมดา แต่ว่าก็จะมีเป็นบุคลากรที่ มีความเชี่ยวชาญมาให้คำปรึก ษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดำ เนินชีวิต เรื่องของถ้าคุณจะเลิกเหล้า  เลิกบุหรี่ ทุกอย่างมาที่นี่ได้หมดเลย

นายสันติฯ : เพราะว่าจากการศึกษาของกระท รวง ทราบว่า วัยรุ่นไม่ว่าหญิงหรือชายเด ี๋๋ยวนี้ บางทีก็อาจจะมีปัญหาบางปัญห าเรื่องบางเรื่องก็อาจจะไม่ กล้าที่จะปรึกษาผู้ใหญ่ในคร อบครัว เพราะฉะนั้นศูนย์ประชาบดีขอ งเรามีนักสังคมสงเคราะห์ มีความรู้ความสามารถในการดู แลเยาวชน ให้คำปรึกษาให้ความรู้ทักษะ ในด้านชีวิตต่าง ๆ ให้เด็ก เด็กก็จะสามารถเข้ามาเรียนร ู้แล้วก็จะเรียนรู้ว่าที่ศู นย์ชุมชนแห่งนี้ จะมีอาจารย์และนักสังคมสงเค ราะห์เหล่านี้มาให้คำปรึกษา นะครับ และส่วนใหญ่จะเป็นที่ทราบว่ าก็จะเป็นความรักเราก็ไม่เป ิดเผย

พิธีกร : นอกจากมีกิจกรรมต่าง ๆ แล้ว ที่นี้ก็ยังเป็นศูนย์รวมข้อ มูลความรู้ ทางกระทรวง ICT เห็นว่าจะมีการจัดอุปกรณ์ด้ านคอมพิวเตอร์มาให้เยาวชน มาให้ครอบครัวได้ใช้ด้วยที่ นี่

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ฯ : ใช่ครับ กระทรวง ICT เข้ามาเติมเต็มให้กับชุมชนส ร้างสรรค์มีความครบถ้วนในคว ามหลากหลายของกิจกรรมที่ถูก สร้างสรรค์ออกมา เพื่อให้พี่น้องในชุมชนในละ แวกนี้ได้ใช้ประโยชน์ จะเห็นครบถ้วนในภาพที่มองเห ็น เราจะเห็นได้ว่ามีทั้งสันทน าการ มีทั้งคำปรึกษาต่าง ๆ ส่วนของเรื่อง ICT นั้นเป็นเรื่องของการเรียนร ู้ ศูนย์การเรียนรู้ก็จะประกอบ ไปด้วยเครื่องไม้เครื่องมือ  ในที่นี่เราติดตั้งอินเทอร์ เน็ตความเร็วสูงพร้อมกับอุป กรณ์คอมพิวเตอร์ครับ ทั้งสิ้น 12 ชุด มีคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ซึ่งจะนำไปสู่ในการเรียนรู้ ในลักษณะที่เรียกว่า "E-library" ซึ่งตรงนี้จะเป็นสถานที่ที่ ให้เด็ก ๆ ได้มาวิ่งออกกำลังกายแล้ว สำหรับเด็ก ๆ ลูกหลานเยาวชนรวมไปถึงผู้ให ญ่ด้วย ที่ต้องการที่จะไปค้นคว้าหา ความรู้ในศูนย์การเรียนรู้ช ุมชนหรือเราเรียกว่า ICT ชุมชน ก็จะได้มีโอกาสได้ใช้เครื่อ งไม้เครื่องมือเหล่านั้น ในการที่จะเข้าไปในโลกกว้าง แล้วก็ไปค้นหาความรู้แล้วก็ ใช้อุปกรณ์เหล่านี้ช่วยในกา รเรียนรู้ให้กับชุมชน

พิธีกร : คือทำให้ที่ศูนย์ชุมชนสร้าง สรรค์ตรงนี้ให้เป็นแหล่งรวม ทุกสิ่งทุกอย่างคือ อาจจะมากันพ่อแม่ลูกมาในวัน หยุด คุณลูกอาจจะวิ่ง คุณพ่ออาจจะมาใช้คอมพิวเตอร ์ คุณแม่อาจจะไปฝึกอาชีพ ได้หมดเลย

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ฯ : ได้หมดเลย คือนอกจากจะตัวของอุปกรณ์ก็ คงจะไม่มีค่าอะไรถ้าเราไม่ม ีองค์ความรู้มาด้วย แต่ว่าวันนี้เนี่ยหลายหน่วย งาน ได้ทำองค์ความรู้เหล่านั้นม าผลิตลงในรูปแบบของดิจิตอล ซึ่งสามารถจะใช้เครื่องมือค อมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือใน การนำองค์ความรู้มาเป็นองค์ กรเหล่านั้นมาแสดงผลว่าทำให ้ผู้ใหญ่ในชุมชน เด็กในชุมชนสามารถที่จะใช้ข ้อมูลความรู้เหล่านั้นไปเสร ิมทั้งอาชีพเสริม ทั้งความรู้เสริม

พิธีกร : ไม่ใช่เป็นเพียงคอมพิวเตอร์ มาตั้งมีอินเทอร์เน็ตให้คุณ ไปหาข้อมูลเองแต่ว่าอาจจะเป ็นการเอาข้อมูลที่เกี่ยวข้อ งกับอาชีพที่เกี่ยวข้องกับก ารใช้ชีวิตมาเป็นสื่อดิจิตอ ล ให้คุณคลิกเป็นสื่อมัลติมีเ ดียเหล่านั้น

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ฯ : ใช่ครับ ถูกต้องครับ

พิธีกร : คุณหมอฟังดูแล้วกิจกรรมต่าง  ๆ ที่เกิดขึ้นในศูนย์สร้างสรร ค์แห่งนี้ คิดว่าจะช่วยยกระดับคุณภาพช ีวิตของคนในชุมชนอย่างไรบ้า งครับ

ทพ.กฤษดาฯ : อย่างที่ว่าบอกว่าขั้นแรกคื อ เรื่องของความสัมพันธ์ชุมชน น่าจะดีขึ้น ถ้าเราดูแถวนี้ในชุมชนแถวนี ้นะครับ ยังประกอบด้วยชุมชนที่แออัด ถึง 3 ชุมชน มีชุมชนที่อยู่ตามตึกต่าง ๆ ทั้งหมดเนี่ยเป็นพื้นที่ที่ รวมชุมชนเหล่านั้นให้มาเจอก ันได้ คนจากหลากหลายอาชีพได้มาเจอ กันได้มาใช้ชีวิตด้วยกัน ได้มาร่วมเรียนรู้การอยู่ด้ วยกัน และก็พัฒนาทั้งเด็กและเยาวช น ผู้ใหญ่ไปพร้อม ๆ กันทีเดียวได้

พิธีกร : ในแง่ของการดึงชุมชนให้มีส่ วนร่วมกับการดูแลเรื่องศูนย ์ตรงนี้ สสส. มีบทบาทอย่างไรบ้าง

ทพ.กฤษดาฯ : เรียนในที่นี้ครับว่า ความยั่งยืนของพื้นที่อยู่ท ี่การมีส่วนร่วมของชุมชนเลย  ตอนที่เราออกแบบการร่วมกันข องทุกส่วน เราไม่ได้คิดถึงโครงสร้างแต ่เราต้องดึงชุมชนมาเป็นเจ้า ของตั้งแต่ต้น เขาจะรักษามัน แล้วก็เริ่มต้นในการบริหารง านต่อไป ในเมื่อชุมชนเขาอยากจะได้อะ ไรหรืออยากจะลดอะไรเราสามาร ถปรับปรุงได้ โดยให้เขามีกระบวนการในส่วน ร่วมได้

พิธีกร: เป็นจุดเริ่มต้น ท่านรัฐมนตรีวิทยา จากนี้ไปจะมีแนวคิดไหมครับท ี่จะขยายศูนย์ชุมชนสร้างสรร ค์แบบนี้ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ

นายวิทยาฯ : คือจะเห็นว่าหลังจากที่ ท่านนายกยิ่งลักษณ์ฯ ได้มีดำริหน่วยงานเราก็ไปคิ ดร่วมกันแต่ละคนจะมีงานอยู่ แล้วที่ดูแลด้านสังคมแต่ทำย ังไงให้มันบูรณาการด้วยกันค ือนี่ส่วนหนึ่งที่เป็นบูรณา การของหน่วยงานเข้าด้วยกัน

พิธีกร : คือเป็นการบูรณาการเรียกว่า หลายกระทรวงหลายหน่วยงาน

นายวิทยาฯ : ถูกต้องเป็นการแก้ปัญหาสังค มด้วย เป็นการให้การมีส่วนร่วมของ ประชาชนเพราะฉะนั้นศูนย์ตรง นี้ก็จะมีประชาชนเข้ามามีส่ วนร่วมในการบริหารการจัดการ  รัฐบาลก็คือหน่วยงานราชการก ็จะเป็นตัวเสริมเติมเข้ามาเ พื่อให้เกิดความสมบูรณ์แบบ ก็มุมมองของ สสส. จะเป็นเรื่องอะไร เรื่องที่เกี่ยวกับเรื่องเห ล้า เรื่องยาเสพติดเข้ามาเกี่ยว ข้อง คือให้ห่างไกล เพราะฉะนั้น ท่านนายกต้องการให้มีการชุม นุมแบบสร้างสรรคด้านวิชาชีพ ก็กระทรวงพัฒนาสังคมท่านรับ อยู่แล้ว จะตัดผมจะทำอาชีพจะทำเค้กทำ ขนมแล้วไปต่อยอดให้ด้วย พอมีอาชีพแล้วก็สามารถส่งไป ขายได้หรืออาจจะพัฒนาการตรง นี้ให้เป็นที่ที่คนมาเยี่ยม เยียนหลังจากที่ระดับหนึ่งแ ล้วได้มีอาชีพแล้วได้ใช้ศูน ย์นี้อย่างมีคุณค่าแล้วตามท ี่พวกเราได้คุยกัน ตรงนี้จะเป็นจุดที่จะต้องทำ เพิ่มเติมเต็มให้สังคมพร้อม กับคนกรุงเทพมหานคร

พิธีกร : ตรงนี้ถือว่าเป็นศูนย์ต้นแบ บก็ว่าได้ แต่ว่าถ้าเรามองไปว่านี่เป็ นเพียงแค่จุดหนึ่งในกรุงเทพ มหานคร แล้วประเทศไทย 76 จังหวัด จะมีแนวคิดในการขยายศูนย์แบ บนี้ไปทั่วประเทศไหม

นายวิทยาฯ : อย่างที่เรียนให้ทราบ ก็คือว่าสมมติว่าความต้องกา รของชุมชนเกิดขึ้นก็ขอมาที่ หน่วยงานรัฐบาล ซึ่งท่านนายกฯ อาจจะมอบหมายให้ใครไปทำเรื่ องอะไร แต่บางที่เค้าอาจจะมีอยู่แล ้วมีลานอยู่แล้วมีที่เล่นอย ู่แล้วแต่ขาดห้องสมุด ขาดที่ให้ความรู้ด้านวิชาชี พก็ไปเติมเต็มในส่วนนั้น คือไม่ได้ลงทุนจากศูนย์

พิธีกร : อันนี้ลงทุนจากศูนย์ แต่ว่าในบางพื้นที่อย่างเช่ นในต่างจังหวัดที่อาจจะมีสน ามเด็กเล่น มีอาคารอยู่แล้วขาดการอาชีพ ทางกระทรวงการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ ก็หาอาชีพไปใส่ อาจจะขาดอินเตอร์เน็ตทางไอซ ีทีก็เอาคอมพิวเตอร์ไปใส่ให ้
นายวิทยาฯ : ส่วนด้านหมอ ด้านสุขภาพ ก็ตรวจสุขภาพ ด้านสุขภาพให้เรื่องด้านสุข ภาพจิตด้านสุขอนามัย ด้านแพทย์แผนไทยได้หมด รวมถึงอาชีพเสริม เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็จะบูรณา การร่วมกันในแนวคิดที่ท่านน ายกดำริเสร็จมอบให้กระทรวงส าธารณสุข สสส. ไปคิดว่าจะทำยังไงก็เกิดโมเ ดลนี้ขึ้นมา ผมคิดว่าตรงนี้น่าจะเป็นจุด เริ่มต้นจะมีเขตพื้นที่ต่าง  ๆ ทางการทาง โดยมีท่านรัฐมนตรีชัจจ์ฯ ที่ดูแลพื้นที่อาจจะเป็นกรม ทางหลวง อาจจะเป็นที่การรถไฟหรือาจจ ะเป็นที่สาธารณะก็เข้ามาคิด ร่วมกัน นี่คือมุมมองหนึ่งที่อยากจะ ให้คำตอบกับพี่น้องประชาชนโ ดยมีข้อแม้ว่าให้ประชาชนนั้ นมีส่วนร่วม เพราะว่าเขามีกรรมการชุมชนใ นตรงนี้จะเป็นชุมชนคลองเตยเ ขาก็จะมีตัวแทนของประชาชนคล องเตยมา ซึ่งก็จะมาดูเรื่องอะไร ฉะนั้นการใช้ประโยชน์เรื่อง ตรงนี้ใช้ตั้งแต่เด็กเยาวชน โตขึ้นมาก็ใช้ได้ แก่ขึ้นมาสูงวัยขึ้น สุภาพสตรีใช้ได้หมด หญิงชาย ผมว่าตรงนี้สมบูรณ์แบบที่สุ ดก็คือครอบครัวสามารถมาทำกิ จกรรมได้ บนตึกมีพนักงานเจ้าพนักงานท ำหน้าที่บริษัทห้างร้านต่าง  ๆ อาจจะมารีแลกซ์ออกกำลังกายต อนเย็นเลิกงานแล้วที่แพงครั บกรุงเทพมหานคร แต่ว่าตรงนี้จะเกิดประโยชน์ สูงสุด

พิธีกร : ทาง สสส. ได้เคยเห็นไหมครับ ว่ามีการทำแบบนี้ในต่างประเ ทศหรือว่ามีการศึกษามาก่อนว ่าการทำแบบนี้แล้วจะช่วยพัฒ นาพื้นที่ช่วยชีวิตคนไหมครั บ

ทพ.กฤษดาฯ : มีตัวอย่างเยอะ อย่างเช่นตัวอย่างในประเทศเ กาหลีใต้ เขาก็ไปพัฒนาชุมชนแบบนี้จาก ที่เคยเสื่อมโทรมกลับมาที่เ ค้าเรียกเป็นสายเป็นแม่น้ำอ ยู่ในกลางเมืองเลย ชองเยชอนอันนี้คือตัวอย่าง

พิธีกร : เป็นสถานที่ถ่ายหนังเกาหลีม ากมายใช่ไหมครับ

ทพ.กฤษดาฯ : ใช่ครับหรือตัวอย่างที่ประเ ทศสหรัฐอเมริกาที่นิวยอร์กก ็มีการไปพัฒนาตัวบริเวณที่เ ป็นท่าเรือเก่ากลับขึ้นมา ต้องบอกมีเยอะมาก มีทั้งขนาดใหญ่ขนาดเล็ก ที่เมื่อกี้ถามว่ามีเป้าหมา ยขยายแค่ไหน ตั้งใจว่าในกรุงเทพมหานคร ภายในปีนี้น่าจะมีอย่างน้อย สามแห่งเกิดขึ้น ส่วนในทั่วประเทศน่าจะมีสัก ร้อยแห่งเกิดขึ้นภายในปีนี้ ครับที่เป็นเป้าเราจะทำครับ

พิธีกร : สสส. ก็ได้ไปทำงานแบบนี้เหมือน ๆ กันทุก ๆ ที่

ทพ.กฤษดาฯ : ต้องบอกทุกส่วน สสส.เป็นส่วนเสริม ตัวหลักคือกระทรวงทั้งหมด สสส.เป็นตัวเสริม

พิธีกร : อาจจะเอาแนวคิดต่าง ๆ ไปทำงานกับชุมชนที่จะทำให้แ นวคิดนี้เกิดขึ้นในทุกพื้นท ี่ทั่วประเทศ ซึ่งทางกระทรวงคมนาคมล่ะครั บท่านชัจจ์ฯ ว่ากระทรวงคมนาคม มีการเลือกสรรพื้นที่อย่างไ รครับเป็นพื้นที่รกร้างที่ไ ม่ได้ใช้งานแล้วหรือว่าอย่า งไรบ้างครับที่จะมามอบให้หร ือว่าพื้นที่ตรงนี้เหมาะกับ การมาทำกิจกรรมแบบนี้ครับ

พล.ต.ท.ชัจจ์ฯ : ผมคิดว่าก็เผื่อจะที่ตรงไหน ที่เค้าจะใช้ให้เกิดประโยชน ์ก็คงจะต้องมีชุมชนและก็มีบ างครั้งเค้าอาจจะเรียกร้องอ ยู่ไกลหน่อยแต่เค้าก็บอกว่า ที่ตรงนี้ดี ก็เผื่อได้รับการร้องขอในส่ วนหนึ่งเราอาจจะเห็นว่าเราป ล่อยทิ้งไว้อย่างตรงนี้มันร กรุงรังมีการเข้ามายึดตั้งร ้านถึงเราไล่ไปเดี๋ยวก็มาให ม่อย่างนี้มายกประโยชน์ให้ส ่วนรวมซะดีกว่าก็อาจจะมีในพ ื้นที่นึง อีกหลายที่อีกหลายโดยเฉพาะค มนาคมไปทั่วประเทศแล้วแต่คว ามจำเป็นและความเหมาะสมก็เผ ื่อใครขอต้องการก็พิจารณากั น ถ้าเผื่อทางกระทรวงคมนาคมไม ่ได้ใช้และจำเป็นต้องให้ก่อ เกิดเราก็ต้องให้ไปหรือว่าใ ห้ไปใช้ชั่วคราวก็แล้วแต่ปร ับเปลี่ยนได้แล้วแต่ภูมิประ เทศและเหตุการณ์

พิธีกร : จะมีบทบาทในการช่วยปรับพื้น ที่ให้เหมาะสมกับน้อง ๆ มาทำกิจกรรม เช่น เป็นลานฟุตซอลตรงนี้ ตรงนี้ก็จะมีการปรับโดยกระท รวงคมนาคมปรับให้

พล.ต.ท.ชัจจ์ฯ : ฟังดูรอบ ๆ ฟังดู สสส. ฟังดูประชาชนซึ่งอยู่แนวริม ทางด่วนว่าต้องการอะไร ก็ถ้าเพื่อว่าต้องการฟุตซอล เราก็ทำตรงนี้ฟุตซอลถ้าเผื่ อต้องการจริง ๆ ยังขยายได้อีกช่องตรงนี้

พิธีกร : ท่านรัฐมนตรีสันติฯ ในเมื่อพื้นที่ตรงนี้เป็นพื ้นที่ที่เกี่ยวเนื่องกับชุม ชน เป็นพื้นที่ที่ชุมชนเขาบริห ารจัดการกันเอง ในแง่ของการนำเสนอาชีพในแง่ ของการจัดกิจกรรมต่าง ๆ เขามีสิทธิ์ที่จะเรียกร้องห รือร้องขอทางกระทรวงไหม ว่าอยากได้กิจกรรมแบบนี้ แล้วก็ทางกระทรวงจัดกิจกรรม มาให้

นายสันติฯ : โดยปกติแล้วกระทรวงการพัฒนา สังคมฯ จะมีหน่วยงานในด้านของการสร ้างเสริมอาชีพในด้านของการส ร้างครอบครัวอบอุ่นครอบครัว เข้มแข็ง แล้วก็ทางกระทรวงเองก็จะมีเ จ้าหน้ามีหน่วยงานที่จะเข้า มาประจำอยู่ที่ศูนย์สร้างเส ริมแห่งนี้ แล้วก็เพื่อผู้ที่มาใช้เยาว ชนหรือประชาชนที่มาใช้ก็จะม าแสดงความจำนงว่าอยากจะได้อ าชีพเสริมระยะสั้นต่าง ๆ ทางกระทรวงก็จะจัดเป็นกิจกร รมแล้วก็จะเข้ามาเสริมอาชีพ  กลุ่มหนึ่งห้าสิบคน ยี่สิบคนเท่านั้นเอง กระทรวงก็จะสามารถที่จะเข้า มาสร้างเสริมอาชีพระยะสั้นเ หล่านี้ได้และนอกเหนือจากนั ้นที่ได้กล่าวมาแล้วว่ากระท รวงมีนักสังคมสงเคราะห์ที่ม ีความเชี่ยวชาญมีความชำนาญใ นเรื่องของการแก้ปัญหาชีวิต เสริมทักษะต่าง ๆ ของการดำรงชีพของเยาชนก็ดี ของครอบครัวก็ดี สิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้เมื่อ นักสังคมสงเคราะห์ของกระทรว งมาประจำและก็มาดูแลอยู่เนี ่ยก็จะรู้ปัญหาของเด็กปัญหา ของเยาวชนโดยเฉพาะจะลิงค์ไป ถึงปัญหาครอบครัว เพราะฉะนั้นนักสังคมสงเคราะ ห์อาจจะเข้าไปในครอบครัวที่ จะไปปรึกษาหารือให้ความรู้ท ักษะของครอบครัว เพื่อให้สังคมพ่อแม่ลูกโดยเ ฉพาะ เดี๋ยวนี้กระแสสังคมโลกาภิว ัตน์พัฒนาไปเร็วมาก ทำให้เด็ก เยาวชนของเราซึมซับนวัตกรรม มทั้งแง่บวกแง่ลบมากมายเพรา ะฉะนั้นนักสังคมสงเคราะห์ขอ งเราอาจจะเข้าไปทำความเข้าใ จครอบครัว ผู้ปกครอง พ่อแม่ว่าจะต้องผ่อนคลายในบ างเรื่องแล้วก็จะต้องเข้มงว ดหรือจะต้องดูแลในทักษะด้าน ต่างๆ สิ่งเหล่านี้เนี่ยก็จะทำให้ ชุมชนแห่งนี้สามารถโยงใยไปถ ึงครอบครัว ที่จะทำให้ครอบครัวอบอุ่นคร อบครัวเข้มแข็ง ทำให้เยาวชนของเราได้มีทักษ ะชีวิตที่ไม่ต้องไปมีประสบก ารณ์ก็คือ เรียนรู้จากนักสังคมสงเคราะ ห์ของเราได้ อันนี้ก็จะทำให้เด็กของเราม ีความเข้มแข็ง ก็จะส่งผลไปถึงชุมชนเข้มแข็ งครอบครัวอบอุ่นได้เป็นอย่า งดี

พิธีกร : กิจกรรมที่เราพูดถึงมานอกเห นือจากการอบรมต่างๆ การศึกษาต่างๆ คิดเงินไหมครับหรือว่าทุกอย ่างฟรีหมด

นายสันติฯ : นอกเหนือจากที่ไม่คิดเงินแล ้วเนี่ย ในบางกรณีก็ยังมีเบื้ยเลี้ย ง จะมีอุปกรณ์ต่างๆให้ แล้วเมื่อฝึกทักษะในอาชีพเห ล่านี้แล้วเนี่ยยังมีกองทุน ให้อีกนะครับ 600 บาท 1,000 บาท 2,000 บาท ที่จะไปเสริมทักษะเหล่านี้ โดยปกติแล้วกระทรวงเนี่ยก็ท ำอยู่แล้วในภูมิภาคในกรุงเท พมหานคร ทุก 12 เขตของกระทรวงอยู่แล้ว มีความชำนาญในเรื่องเหล่านี ้อยู่แล้ว เพราะฉะนั้นถ้าเรามีศูนย์ชุ มนุมสร้างเสริมอย่างนี้ก็จะ ได้มาทำกิจกรรมที่นี่เพื่อใ ห้เด็กได้ดูเป็นตัวอย่าง ถ้าเด็กมีความสนใจหรือผู้ให ญ่ประชาชนมีความสนใจก็จะขอส มัครเข้ามา เมื่อได้ผู้สมัครครบประมาณส ัก 5 คน 10 คนหรือ 20 คนแล้วเนี่ยกระทรวงก็มีความ พร้อมทันทีที่จะมาเปิด

พิธีกร : เป็นการให้บริการครบวงจรทั้ งเรื่องของการฝึกอาชีพด้วย ในแง่ของถ้าคุณแม่มาที่นี่แ ล้วอยากจะเรียนอาชีพใหม่ ๆ อาชีพเสริมก็ทำได้ ขณะเดียวกันถ้าน้องๆ อยากจะทำเพื่อเป็นอาชีพเสริ มช่วยคุณแม่แล้วมาเรียนด้วย กัน ตรงนี้เองก็มีกองทุนหรือว่า วัสดุอุปกรณ์ให้ไปเริ่มต้นท ำธุรกิจด้วยซึ่งครบวงจรจริง  ๆ

นายสันติฯ : มีเบี้ยเลี้ยงให้ด้วยบางครั ้ง ซึ่งกระทรวงทำอยู่เป็นประจำ อยู่แล้ว เพียงแต่ว่าจะทำอยู่ในชุมชน ในชนบทหรือชุมชนในต่าง ๆ ทีนี้ถ้ามีศูนย์กลางอย่างนี ้ ก็จะเป็นการเผยแพร่ให้ประชา ชนในชุมชนบริเวณนี้ ตลอดจนเยาวชนเช่นนักเรียนนั กศึกษาต่าง ๆ พอตอนเย็นหลังจากเลิกเรียนแ ล้วก็จะมามั่วสุมกันอยู่ตรง นี้ แต่เป็นการมั่วสุมอย่างสร้า งสรรค์แบบมีประโยชน์แบบเสริ มทักษะชีวิตเหล่านี้ เพราะฉะนั้นก็จะทำให้มีความ อบอุ่นมาก

พิธีกร : ทางกระทรวงไอซีทีเองเห็นบอก ว่ามีบริการ wifi ด้วย ทำไมคิดว่า wifi มีความจำเป็นในการให้บริการ ในศูนย์ชุมชนสร้างสรรค์ในเม ื่อก็มีอินเทอร์เน็ตมีคอมพิ วเตอร์ให้บริการอยู่แล้ว

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ฯ : เป็นการให้บริการที่มีวัตถุ ประสงค์และเป้าหมายแตกต่างก ันนะครับในส่วนของ wifi ฟรีในละแวกชุมชนตรงนี้ มีความเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง  เพราะว่าหลาย ๆ ชุมชนแถวนี้ทำมาค้าขาย แล้วก็ละแวกนี้มีนักท่องเที ่ยวมากทีเดียวจากการศึกษาวิ จัยค้นพบว่าผู้ที่ใช้ฟรี wifi มากที่สุดคือ นักท่องเที่ยว แล้วถามว่าชุมชนจะได้อะไรจา กการที่เค้าทำมาค้าขายนี้ ในอนาคตอาจจะมีการพัฒนาในเร ื่องของสถานที่ที่จะไปช็อปป ิ้งก็ดี สถานที่จะไปทางอาหารก็ดี การที่นักท่องเที่ยวเหล่านี ้เขาสามารถเข้าถึงใช้ wifi ฟรีได้ เราสามารถที่จะเอาในส่วนที่ จะเป็นการโฆษณาลงไปใน fontpage หรือหน้าแรกก่อนที่นักท่องเ ที่ยวเขาจะ register ทีนี้เขาก็จะทราบเลยครับว่า แถวๆ ที่เขามาใช้ มีอะไรบ้าง มีร้านค้าของชุมชนอะไรบ้าง มีโอท็อปอะไรบ้างมีสถานที่น ่าท่องเที่ยวน่าสนใจอะไรบ้า ง

พิธีกร : พอมาอยู่ใต้เพลินจิตอย่างที ่ ท่านรัฐมนตรีบอกไปเท่ากับว่ าต่างประเทศต่างชาติก็ได้เห ็นว่าประเทศไทยมีกิจกรรมมีก ารเสริมสร้างความเข้มแข็งขอ งชุมชนขึ้นมา ก็อาจจะมีส่วนร่วมหรือบางคน อาจจะคิดว่ามาช่วยเด็กสอนภา ษาอังกฤษที่นี่ก็ได้อาจจะเป ็นไปได้ใช่ไหมครับ

นาวาอากาศเอกอนุดิษฐ์ฯ : สิ่งเหล่านี้ จะทำให้การเชื่อมต่อเหล่านี ้ให้องค์ประกอบทั้งหลายเข้า มาใกล้ชิดกันมากขึ้น และก็ตรงนี้เองเนี่ยก็ต้องบ อกว่าคงไม่ได้ดูให้เฉพาะกับ ลูกหลานเยาวชนของเราที่มีคว ามสมบูรณ์พร้อมในส่วนของเด็ กด้อยโอกาสเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มี ความพิการในหลากหลายรูปแบบท ีเดียวอาจจะมีปัญหาในเรื่อง ของการใช้อุปกรณ์ทางเทคโนโล ยี โดยเฉพาะยิ่งน้อง ๆ ที่พิการทางสายตาหรือว่าผู้ ใหญ่ที่ไม่สามารถใช้สายตาได ้ทางระบบของเรานั้นก็ถูกพัฒ นาให้ผู้ด้วยโอกาสเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นลูกหลานเยาวชนร วมไปถึงผู้หลักผู้ใหญ่แล้วเ นี่ยนะครับ ที่มีความพิการด้านต่าง ๆ เนี่ย สามารถที่จะใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ในการที่จะเข้าไปค้ นคว้าหาความรู้ได้ด้วยเช่นก ันครับ


พิธีกร : ทาง สสส.จะใช้อะไรเป็นตัววัดประ สิทธิภาพของศูนย์ชุมชนสร้าง สรรค์ครับ

ทพ.กฤษดาฯ : ผมคิดว่าประชาชนจะเป็นคนประ เมิน จะมีการเก็บสถิติข้อมูล ว่าในแต่ละวันนี้มีคนเข้ามา ใช้สถานที่นี้เท่าไหร่บ้างเ ป็นกลุ่มไหน และก็ตรวจในเรื่องของการพึง พอใจของเขาว่า เขาเข้ามาแล้วเนี่ยเขาได้รั บบริการ เขาได้รับการพัฒนาขึ้นไหม ซึ่งตรงนี้เราก็จะมีทีมติดต ามประมวลผล แล้วก็ความรู้เหล่านี้เราก็ ตั้งใจจะมีการมาถอดเป็นวีดี โอเป็นภาพถ่ายไว้ เพื่อจะให้ชุมชนอื่นๆสามารถ นำกลับไปพัฒนาต่อได้ด้วย
พิธีกร : ในแง่ของการทำให้ศูนย์แบบนี ้อยู่ได้อย่างยั่งยืนจะต้อง ทำอย่างไรบ้างครับ

ทพ.กฤษดาฯ : ส่วนหนึ่งอย่างที่ผมว่า คือชุมชนจะต้องรู้สึกเป็นเจ ้าของ เขามีส่วนร่วมบริหารจัดการ แล้วก็ทางส่วนภาครัฐต่าง ๆ ก็เป็นตัวหนุนเสริม แล้วนอกจากนี้ภาคเอกชนก็เข้ ามาร่วมได้ ตอนนี้ภาคเอกชนบางส่วนสนใจ จะเข้ามาร่วมสนับสนุนในเรื่ องอุปกรณ์และงบประมาณต่าง ๆ ด้วย ทั้งหมดนี้ก็ต้องมาประกอบกั น แต่ว่าชุมชนต้องเป็นแกนสำคั ญที่เขาจะดูแลและรักษาพื้นท ี่นี้

พิธีกร : เราจะมีการคัดเลือกของคนในช ุมชน บริหารจัดการศูนย์ตรงนี้อย่ างไรบ้างครับ

ทพ.กฤษดาฯ : ในระยะแรกเราคงต้องเป็นพี่เ ลี้ยงให้ เราจะมีทีมจัดการที่เข้ามาช ่วยดูในภาพรวมก่อน แต่เราคงจะมีการเลือกตัวแทน ในแต่ละชุมชนเข้ามา ให้เขามีการบอกว่าจะมีใครอา สาสมัครเข้ามา พอรวมเข้ามาแล้วก็จะเป็นคณะ กรรมการในการดูแล ซึ่งเราจะมีคนดูแลทั้งเรื่อ งความปลอดภัย ทั้งเรื่องความสะอาดต่างๆ ควบคู่ไปด้วย สักระยะหนึ่งเขาก็จะเก่งขึ้ น ชุมชนก็เริ่มที่จะบริหารจัด การพื้นที่ได้ด้วยตัวเขาเอง

พิธีกร : ท่านวิทยาฯ ครับ พื้นที่ตรงนี้เปิดให้บริการ กี่โมงถึงกี่โมงครับ

ท่านวิทยาฯ : เบื้องต้น เดี๋ยวจะให้ทางชุมชนเป็นคนก ำหนดตามต้องการก่อน

พิธีกร : เอาความต้องการของชุมชนเป็น หลัก ไม่ใช่ว่าเหมือนราชการ เปิด 8 โมง ปิดบ่าย 3 โมง 
ก็คงจะไม่ใช่ ใช่ไหมครับ

นายวิทยาฯ : ปลูกบ้านตามใจผู้อยู่ แล้วก็การมีส่วนร่วมในตรงนี ้เขาก็ต้องมาบริหารจัดการ วันนี้เราจะเห็นในมุมต่างๆ เริ่มมีตัวแทนของชุมชนนี้เข ้ามาให้ความสนใจ แล้วก็จะเอาตรงนี้มากำหนดกั นอีกทีหนึ่ง โดยทุกหน่วยงานจะเป็นพี่เลี ้ยงให้ จนกว่าเขาแข็งแรง และพัฒนาไปถึงจุด ๆ หนึ่งแล้ว นี่หล่ะจะเป็นความต้องการที ่รัฐบาล คณะท่านนายกฯ คงคาดหวังให้ชุมชนเข้มแข็ง นี่คือต้นแบบหนึ่งของชุมชนเ มือง ที่จะต้องบริหารการจัดการร่ วมกัน

 
 

รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบปร ะชาชน ครั้งที่ 15 (7/1/2012)
รัฐบาลยืนยันมีแนวทางในการท ี่จะฟื้นฟูประเทศเพื่อป้องก ันไม่ให้น้ำกลับมาท่วมอีก และเศรษฐกิจในปี 2555 มีการพัฒนาและเติบโตมากกว่า ปี 2554

ถอดเทป
รายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์ พบประชาชน"
ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทั ศน์แห่งประเทศไทย
และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห ่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์
วันเสาร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2555 เวลา 08.00 น.

.......................... .......................... ....

พิธีกร (นายธีรัตถ์ รัตนเสวี) : สวัสดีครับยินดีต้อนรับสู่ร ายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประ ชาชนครับ วันนี้ ผมธีรัตถ์ รัตนเสวี รับหน้าที่ดำเนินรายการ หลังจากเกิดเหตุอุทกภัยครั้ งใหญ่ในปลายปี 2554 รัฐบาลมีแนวทางในการที่จะฟื ้นฟูประเทศไทย รวมถึงป้องกันไม่ให้น้ำกลับ มาท่วมอีก ขณะเดียวกันก็มีคำถามว่าเงิ นในแง่ของการฟื้นฟูประเทศจะ มาจากไหน เศรษฐกิจไทยในปี 2555 นี้จะเป็นอย่างไรกันบ้างครั บ 2 ท่านที่จะมาให้คำตอบกับเราไ ด้ที่สุดในวันนี้นะครับ ท่านแรกครับคุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงพาณิชย์ อีกท่านหนึ่งนะครับ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ท่านเป็นประธานคณะกรรมการยุ ทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและส ร้างอนาคตประเทศหรือว่า กยอ. เศรษฐกิจ เรียนถามคุณกิตติรัตน์ว่าถ้ าเรามองดูเศรษฐกิจไทยในปี 2554 ที่ผ่านมาเราเติบโตลดลงไปมา กเพราะเกิดปัญหาน้ำท่วมครั้ งใหญ่ ถ้ามองดูในปีนี้คิดว่าเศรษฐ กิจไทยจะ เป็นอย่างไรครับ

นายกิตติรัตน์ฯ : ผมมองปี 2555 เป็นปีที่ดี เนื่องจากเรามีโครงการหลายเ รื่องที่เดินหน้าแล้วเรื่อง ของการเปลี่ยนสมดุลของประเท ศโดยการเพิ่มรายได้ให้กับผู ้มีรายได้น้อย ตรงนี้ก็จะช่วยให้กำลังซื้อ ภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างม ีนัยยะสำคัญ ในขณะที่โลกอาจจะกังวลเรื่อ งของการส่งออก เราเองก็มีเหตุผลที่จะกังวล บ้างแต่ว่าปัจจุบัน เราส่งออกไปยังประเทศที่เป็ นยูโรโซนเพียงประมาณร้อยละ 9.8 ก็คือไม่ถึงร้อยละ 10 แต่เราเองผลิตสินค้าซึ่งถือ ว่าเป็นสินค้าคุณภาพดีในราค าที่ไม่สูงนัก ความต้องการของประเทศที่มีก ำลังซื้อน้อยลงก็ยังคงต้องซ ื้อสินค้าต่างๆ จากเราอยู่ รวมทั้งในปีนี้เป็นปีที่เรา จะต้องลงทุนกันอย่างเข้มแข็ งจริงจังในเรื่องของการสร้า งระบบบริหารจัดการโครงสร้าง พื้นฐานต่างๆ ที่จะป้องกันในเรื่องของน้ำ ท่วม น้ำแล้ง เพราะฉะนั้นจะเป็นปีที่เศรษ ฐกิจไทยมีโอกาสที่จะเติบโตไ ด้มากเป็นพิเศษแต่ว่าก็เรีย นว่า เนื่องจากปีที่แล้วเราเติบโ ตน้อย เราเติบโตติดลบในไตรมาสที่ 4 จากผลกระทบของอุทกภัยก็ประม าณกันว่าปี 54 ก็คงจะโตเพียงร้อยละ 1.5 ปีนี้ก็คาดว่าน่าจะโตสักร้อ ยละ 7 2 ปีรวมกันเป็น 8.5 ถ้าหารเฉลี่ยก็เท่ากับว่า 2 ปีนี้เราอาจจะเติบโต 4.25 ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ปกติแต่ ก็ถือว่าปีที่แล้วเราโตน้อย นะครับ ปีนี้ก็น่าจะโตมากขึ้นมาก็ไ ม่ใช่เป็นเรื่องที่ต้องกังว ลนะครับว่าเป็นเรื่องเศรษฐก ิจร้อนแรงอะไรเพราะว่าเป็นเ รื่องของการเติบโตจากฐานผู้ มีรายได้น้อย เขาคงไม่ไปเก็งกำไรอะไรให้ม ีปัญหาในเรื่องของราคา สินทรัพย์หรือราคาสินค้า ในขณะเดียวกันการเติบโตที่ม าจากการที่รัฐจะต้องลงทุนโค รงสร้างพื้นฐาน ก็ถือว่าเป็นการสร้างอนาคตข องประเทศที่จะทำให้มีความพร ้อมในระยะยาว

พิธีกร : ท่านกำลังมองว่าการที่รัฐบา ลมีนโยบายไม่ว่าจะเป็นการปร ับค่าแรงขั้นต่ำ 7 จังหวัดในเดือนเมษายน ค่าตอบแทนของคนที่จบปริญญาต รีที่ภาครัฐเริ่มไปแล้วตั้ง แต่ 1 มกราคม การรับจำนำสินค้าเกษตรเหล่า นี้จะช่วยให้ผู้มีรายได้น้อ ยมีกำลังซื้อมากขึ้น การบริโภคในประเทศจะเป็นตัว จักรสำคัญผลักดันเศรษฐกิจให ้เติบโตผนวกกับการลงทุนของภ าครัฐด้วยใช่ไหมครับ

นายกิตติรัตน์ฯ : ใช่ครับเพราะในอดีตเราเติบโ ตจากการ ส่งออกเป็นหลักแล้วก็กำลังซ ื้อภายในประเทศไม่ค่อยมีส่ว นสนับสนุนให้เศรษฐกิจเคลื่อ นตัวไปข้างหน้า แต่ว่ากลุ่มผู้มีรายได้น้อย เหล่านี้ทั้งส่วนที่อยู่ในส ังคมเมืองและส่วนที่มาจากสั งคมเกษตร การที่สินค้าเกษตร หลักของประเทศก็คือข้าวเราม ีราคาที่ดีนะครับ ก็จะทำให้เกษตรกรผู้ปลูกข้า วมีรายได้ที่ดีขึ้น รวมทั้งผู้ที่เป็นผู้ใช้แรง งาน ซึ่งอาจจะมีรายได้ที่น้อยมา กๆ ในอดีต ขณะนี้ก็จะมีรายได้ที่ดีขึ้ นแล้วก็เรียนว่าโครงการเรื่ องของการรับจำนำข้าวเริ่มมา ตั้งแต่ปลายปี 54 เพราะฉะนั้นก็ถือว่าตั้งแต่ ต้นปีไปเลยเกษตรกรเหล่านั้น ก็จะมีรายได้ที่ดีขึ้น แล้วก็เอกชนหลายรายนะครับถึ งแม้ว่าไตรภาคีจะตกลงจะเริ่ มกันอย่างเป็นทางการใน เรื่องของค่าจ้างขั้นต่ำใน 7 จังหวัดในวันที่ 1 เมษายนนี้ แต่เอกชนหลายรายก็ได้ขยับไป ในอัตราที่เป็น 300 บาทหรือสูงกว่านั้นไปก่อนแล ้ว เพราะว่าท่านทราบดีว่าการดำ เนินงานในลักษณะที่ทำโดยสมั ครใจจะได้กำลังใจจากลูกจ้าง  ซึ่งก็ทำงานให้ท่านอย่างมีป ระสิทธิภาพดีขึ้น ส่วนนี้ก็จะทำให้เศรษฐกิจเค ลื่อนตัวได้ดี

พิธีกร : ดร.วีรพงษ์ครับ เศรษฐกิจที่ที่ผ่านมาขับเคล ื่อนโดยการลงทุนของนักลงทุน ต่างประเทศพอสมควรเมื่อเกิด น้ำท่วมครั้งใหญ่โรงงานของพ วกเขาได้รับความเสียหาย บทบาทของท่านเมื่อได้รับเป็ นประธานของ กยอ. แล้วได้มีการสร้างความเชื่อ มั่นของนักลงทุนต่างประเทศก ลับมายังประเทศไทยอย่างไรบ้ างครับ

ดร.วีรพงษ์ฯ : พอผมรับตำแหน่งนี้สิ่งแรกที ่เขากังวลก็คือการประกันภัย  เขาก็อธิบายผมว่าประกันภัยม ีความสำคัญถ้าเผื่อว่าไม่สา มารถประกันภัยได้แล้ว การกู้เงินจากสถาบันการเงิน ก็จะมีปัญหาเพราะเป็นเงื่อน ไขสำคัญของการกู้เงินของหลา ยๆ เรื่อง ดังนั้นสิ่งแรกที่ผม ดำเนินการก็คือไปที่ประเทศอ ังกฤษ กรุงลอนดอน ไปพบเจ้าของตลาดใหญ่ ซึ่งก็ประชุมบริษัทที่รับปร ะกันภัยต่อเกือบทั้งยุโรป บริษัทใหญ่ ๆ มาหมดมาชี้แจงว่าเราจะแก้ไข ป้องกันน้ำท่วมระยะสั้น ระยะปานกลาง อย่างไรต่อคำซักถามที่เขาถา มมากว่าจะเอาเงินจากที่ไหนต ่อมาผมก็ได้ร่วมเดินทางกับท ่านรองนายกฯ ไปที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งญี่ปุ่นให้ความสำคัญมาก กับประเทศของเรา เพราะเขาถือว่าเป็นฐานการลง ทุนสำคัญที่สุดของญี่ปุ่นนอ กประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นเราจึงได้รับเกียรติ และท่านรองนายกฯ ได้รับเกียรติจากท่านนายกรั ฐมนตรีญี่ปุ่น รัฐมนตรีต่างประเทศ รัฐมนตรีเศรษฐกิจและอุตสาหก รรม แล้วก็รัฐมนตรีสถาบันการเงิ น รวมทั้งได้พบกับประธานขององ ค์กรใหญ่ ๆ ระดับประธานทั้งสิ้น เช่น เคดันเรน ไจก้า เจบิค เจซีซี ถ้าแปลเป็นไทยก็คือสมาพันธ์ ธุรกิจแห่งประเทศญี่ปุ่น ธนาคารเพื่อการพัฒนาของประเ ทศญี่ปุ่น
พิธีกร : อาจจะเป็นคณะกรรมการร่วมภาค รัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหา ทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ของประเทศญี่ปุ่นก็ว่าได้ก็ คือทั้งรัฐและเอกชนของญี่ปุ ่นได้ เจอหมด

ดร.วีรพงษ์ฯ : ได้เจอระดับประธานใหญ่ของเข าทั้งสิ้น ซึ่งทั้งหมดนี้เขายืนยันทีเ ดียวว่าเขาจะไม่หนีจากประเท ศไทยเขาจะไม่ย้ายไปไหน ถ้าจะย้ายก็ย้ายอยู่ในเมือง ไทยนี่แหละ จากที่น้ำท่วม ที่น้ำไม่ท่วม แต่ว่าเมืองไทยนี่เป็นประเท ศที่น่าลงทุนที่สุดมีความมั ่นคงทางด้านเศรษฐกิจ มีความมั่นคงทางด้านการเงิน การคลัง มีความมั่นคงในเรื่องของระบ บราชการต่างๆ มีความต่อเนื่อง แม้ว่าระบบการเมืองอาจจะขลุ กขลักบ้าง แต่ว่าระบบราชการของเราก็มั ่นคงดี เพราะฉะนั้น ที่เขาจะย้ายไปที่ไหน คงไม่ไป แต่ว่าขอความมั่นใจว่าเราจะ ทำจริงๆ จังๆ

พิธีกร : คือต้องไม่เกิดเหตุการณ์แบบ ปีที่แล้วอีก

ดร.วีรพงษ์ฯ : ถ้าฝนตกอย่างปีที่แล้วก็ต้อ งไม่เกิดเรื่องอย่างปีที่แล ้ว ผมก็ยืนยันว่าจะต้องไม่เป็น อย่างนั้น เขาก็ฝากมาว่าพูดอย่างเดียว ไม่พอนะ ต้องเห็นผลงานด้วยต้องทำด้ว ย ผมก็เอาชื่อผมไปเป็นประกันไ ว้ ออกข่าวไปทั่วโลก เพราะฉะนั้นก็จะต้องทำกันจร ิง ๆ จังๆ ทำไมกล้าไปยืนยันกับชาวโลกเ ขาได้อย่างนั้น เพราะว่าปัญหาที่ผมเห็นมันแ ก้ไขทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นเร ื่องความไม่ประสานกันในเรื่ องการบริหารน้ำการไม่ดูแลระ บบต่างๆ ที่มีอยู่แล้วให้มันใช้ประโ ยชน์ได้อย่างเต็มที่ คันคูต่าง ๆ ก็ปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรม หนองคลองบึงต่าง ๆ ก็ปล่อยให้ขยะ ปล่อยให้วัชพืชขึ้น อย่างเช่น คลองบางซื่อ น้ำไม่ออก ไปเจอที่นอนตั้ง 6 หลังอยู่ใต้คลองต้องไปขอแรง ทหารต้องมาแบกออก พอทหารมาแบกออกน้ำก็ไหล อย่างนี้ต้องไม่เกิดขึ้นในป ีหน้า เพราะฉะนั้นสิ่งต่างๆ ที่จะต้องทำในระยะสั้นก็มีเ ยอะ เสริมคันคู เสริมระบบต่าง ๆ สิ่งพวกนี้ทำได้หมดระดมผู้ร ับเหมาในประเทศไม่ต้องไปที่ ไหน

พิธีกร : เพราะฉะนั้นทุกอย่างต้องทัน ก่อนน้ำมาครั้งใหม่

ดร.วีรพงษ์ฯ : และที่สำคัญผมอยากจะให้มีคื อซ้อมใหญ่

พิธีกร : ซ้อมใหญ่ ซ้อมยังไงครับ

ดร.วีรพงษ์ฯ : คือซ้อมใหญ่ว่าน้ำจะท่วมแล้ วจะได้ตรวจสอบว่าสูบดีไหม ประตูน้ำไขขึ้นไหม ไขไม่ขึ้นคนพร้อมเพรียงกันห รือไม่ยังไง การซ้อมใหญ่จะทำให้รู้ข้อบก พร่องว่าตรงไหนบกพร่อง ตรงไหนเป็นยังไงเราจะรู้ตรง ซ้อมใหญ่ ผมอยากฝากรัฐบาลให้ช่วยทำให ้ที

พิธีกร : ซึ่งท่านรองครับในเช้าวันศุ กร์มีการประชุมคณะกรรมการยุ ทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหาร การจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) มีการพูดถึงแผนหรือว่าพูดถึ งสิ่งที่จะต้องทำมี 8 แนวทางด้วยกันตรงนั้นคิดว่า เป็นแนวทางสำคัญในการที่จะท ำให้ป้องกันน้ำท่วมที่จะ เกิดขึ้นอีกในปีนี้มากน้อยแ ค่ไหนครับ

นายกิตติรัตน์ฯ : ผมก็มั่นใจเช่นเดียวกันกับท ี่ ท่านอาจารย์วีรพงษ์มั่นใจเพ ราะว่าเราได้ระดมผู้เชี่ยวช าญทั้งในประเทศและต่างประเท ศและในขณะเดียวกันเราได้ยึด แผนแม่บทในการบริหารจัดการล ุ่มน้ำ ซึ่งได้มีการจัดทำไว้ดีทีเด ียวนะครับเป็นต้นแบบตั้งแต่ ปี 2542 , 2543 เรามีแผนสำคัญอยู่ 2 แผน แผนแรกก็คือทางองค์กรของประ เทศญี่ปุ่นองค์การความร่วมม ือระหว่างประเทศของประเทศญี ่ปุ่น หรือไจก้าได้ทำแผนขึ้นมาฉบั บหนึ่งแล้วก็ได้เสนอแนะแนวท างไว้ครอบคลุมดีทีเดียว ตามด้วยแผนแม่บทบริหารจัดกา รลุ่มน้ำเจ้าพระยาของสำนักง านทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตร ิย์ฉบับ เดือนตุลาคมปี 2543 หลังจากนั้นผู้เชี่ยวชาญก็ไ ด้นำแผนทั้งสองมาปรึกษาหารื อกันจนขณะนี้ถือว่าเป็นแผนเ ดียวแล้ว ก็พร้อมที่จะดำเนินการได้โด ยทันทีที่พระราชบัญญัติงบปร ะมาณแผ่นดินปี 2555 ผ่าน ซึ่งในขณะที่ออกอากาศก็ถือว ่าน่าจะผ่านพร้อมที่จะดำเนิ นการได้แล้ว ถือว่าแบ่งภาระงานเป็น 2 ส่วนครับคือส่วนที่ เรียกว่าเร่งด่วนก็คือจะสาม ารถดำเนินการกันได้ในปี 2555 และจะเสร็จในปี 2555 ด้วย ตรงนี้จะใช้เงินประมาณ 17,126,000,000 บาท (หนึ่งหมื่นเจ็ดพันหนึ่งร้อ ยยี่สิบหกล้านบาท) และก็จะเป็นส่วนที่ใช้งบประ มาณจากที่ได้ตั้งและผ่านสภา แล้วก็คือ 12,610,000 บาท (หนึ่งหมื่นสองพันหกร้อยสิบ ล้านบาท) ส่วนที่เหลือก็จะเป็นการใช้ เงินจาก งบประมาณปี 2556แต่ก็ยังอยู่ในระยะเวลา ของปี2555 ตรงนี้ก็จะเป็นเรื่องของการ จัดการซ่อมค่ายคูประตูและ ก็สถานีต่างๆ รวมทั้งการปรับปรุงระบบการจ ัดเก็บระบบระบายต่าง ๆ ที่บกพร่องไปจากความเสียหาย ในอุทกภัยก็ดีหรือว่าอาจจะเ กิดจากการสะสมการขาดแคลนอุป กรณ์ต่างๆที่เคยเกิดขึ้นในอ ดีต

นอกจากนั้นก็จะมีส่วนที่ 2 ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญที เดียวก็คือการบริหารจัดการร ะยะยาว ตรงนี้จะมีการออกกฎหมายที่จ ะระดมเงินจำนวน 350,000,000,000 บาท (สามแสนห้าหมื่นล้านบาท) แล้วจะเป็นโครงการซึ่งสามาร ถดำเนินการได้ทันที แต่ว่าระยะเวลาในการเสร็จสิ ้นอาจจะไม่ได้อยู่ในปี 2555 บางโครงการเช่นโครงการขนาดใ หญ่เช่นสร้างระบบเก็บน้ำขนา ดใหญ่ กว่าจะเสร็จสิ้นก็อาจใช้เวล าประมาณ 2-3 ปีในขณะที่โครงการขนาดใหญ่ย ังไม่สำเร็จ แต่ว่าเราจะมีแผนระยะสั้นที ่จะรองรับว่าถ้าปริมาณน้ำฝน มากเท่ากับที่เราเคยเผชิญใน ปี 54หรือว่ามากกว่า เราจะจัดการอย่างไรไม่ให้พื ้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจและก็ สังคมได้รับความเสียหายเป็น วงกว้าง จะมีจัดพื้นที่รองรับน้ำ ปรึกษาหารือกับภาคเกษตรกรรม ให้ได้รับการดูแลอย่างดีเป็ นพิเศษในฐานะผู้เสียสละที่จ ะต้องรองรับน้ำ ดังนั้นความมั่นใจในเรื่องน ี้ถือว่าดีเต็มที่และก็พร้อ มที่จะนำเสนอแผนนี้ให้กับนั กธุรกิจทั้งในประเทศและต่าง ประเทศได้รับทราบร่วมกันอีก ครั้งหนึ่งในวันที่ 14 มกราคม ซึ่งจะมีผู้เชี่ยวชาญจากต่า งประเทศมาร่วมแสดงความคิดเห ็น และก็ยืนยันความสมบูรณ์ของแ ผนด้วย

ดร.วีรพงษ์ฯ : ผมขอเพิ่มอีกนิดนึง ประชุม กยอ. วันนี้ เราได้พูดถึงว่าเราดูแต่ลุ่ มน้ำเจ้าพระยา ความจริงลุ่มน้ำอื่นก็มีปัญ หาน้ำท่วมอย่างเช่น ปักใต้ ก็เลยมีมติขอเพิ่มอีก 50,000 ล้านบาท ในกรณีที่จะได้ดูในเรื่องลุ ่มน้ำอื่นที่จะสร้างความเดื อดร้อนให้ประชาชนด้วย ซึ่งอันนี้ผมคิดว่าควรจะต้อ งดูทั้งประเทศ ไม่ใช่ดูเฉพาะลุ่มแม่น้ำเจ้ าพระยา

พิธีกร : เฉพาะ 50,000 ล้านบาท (ห้าหมื่นล้านบาท) นี่จะไปเพิ่มใน พระราชกำหนด (พรก.) 350,000 จะเป็น 400,000 หรือยังไงครับ

นายกิตติรัตน์ฯ : ที่จริงรัฐบาลได้ประกาศนโยบ ายไว้ชัดเจนนะครับว่าจะ ดูแลบริหารจัดการ 25 ลุ่มน้ำก็คือทั้งประเทศ ในกลุ่มที่เป็นลุ่มแม่น้ำเจ ้าพระยาประกอบไปด้วย 8 ลุ่มน้ำย่อย ก็จะใช้เงินลงทุนตรงนี้ที่ไ ม่รวมกับ 17,126,000,000 บาท (หนึ่งหมื่นเจ็ดพันหนึ่งร้อ ยยี่สิบหกล้านบาท) ที่ผมเรียนว่าเป็นเรื่องที่ ทำได้ทันที และอยู่ในงบประมาณปกติ สามแสนล้านจะดูแลลุ่มแม่น้ำ เจ้าพระยาซึ่งเท่ากับครอบคล ุม 8 ลุ่มน้ำย่อยแล้วก็อีกสี่หมื ่นล้านจะดูแลอีก17ลุ่มน้ำ ซึ่งครอบคลุมถึงลุ่มน้ำทั่ว ประเทศ และรวมถึงภาคใต้ที่เกิดปัญห าน้ำท่วมอยู่ตอนนี้ และก็ลุ่มน้ำอื่นๆ ทางภาคอีสาน และทางภาคเหนือตอนบนด้วย ในขณะเดียวกันมีอีกหนึ่งหมื ่นล้านบาทนะครับ เป็นเรื่องของการเตรียมการใ ห้คณะกรรมการ กยอ. ที่ท่านวีรพงษ์เป็นประธานอย ู่ ได้พิจารณาในโครงการซึ่งมีป ระโยชน์ต่ออนาคตประเทศระยะย าว ซึ่งอาจจะเกี่ยวข้องกับเรื่ องของการบริหารจัดการน้ำโดย อ้อมหรือโดยตรงก็ได้ หรืออาจจะไม่เกี่ยวข้องนัก แต่ว่าถือเป็นเรื่องที่มีปร ะโยชน์ต่ออนาคตของประเทศระย ะยาว รวมกันทั้งสิ้นก็คือร่างกฎห มายซึ่งจะพร้อมทำให้สามารถจ ะระดมเงินได้สามแสนห้าหมื่น ล้านครับ และเป้าหมายในการระดมเงินก็ ต้องการที่จะทำให้เสร็จ หมายถึงว่าไม่ไปกู้คาราคาซั งอะไร ภายในกลางปี 2556 เพราะว่าเราเชื่อว่าเราจะสา มารถเริ่มดำเนินการได้อย่าง รวดเร็วในโครงการต่างๆ บางโครงการก็อาจจะเสร็จหลัง ช่วงกลางปี 2556 ไปบ้างนะครับ แต่ว่าการระดมเงินจะทำให้เส ร็จสิ้นตามกฎหมายภายในกลางป ี 2556

พิธีกร : แต่ก็มีคำถามมากมายในสัปดาห ์ที่ผ่านมาถึงการออก พรก. ฉบับนี้ว่ามีความจำเป็นมากน ้อยแค่ไหนเหมือนจะไปกระทบฐา นะการคลังของประเทศหรือเปล่ า และไปเกี่ยวโยงกับหลายเรื่อ งอย่างเช่นว่า หนี้ของกองทุนฟื้นฟูเหล่านั ้น ทำไมต้องออกเป็นกฎหมายหลายฉ บับพร้อมกันถึง 4 ฉบับ ที่คุณกิตติรัตน์ได้นำเข้าส ู่ ครม. เมื่อวันพุธที่ผ่านมาครับ

ดร.วีรพงษ์ฯ : เอาฉบับที่เกี่ยวกับหนี้ก่อ นนะครับ หนี้กองทุนฟื้นฟู เรื่องมันเป็นอย่างนี้ครับ กองทุนฟื้นฟูฯ เป็นกองทุนหนึ่งในธนาคารแห่ งประเทศไทย โดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่ง ประเทศไทย ตั้งขึ้นโดยท่านรัฐมนตรีสมห มาย ฮุนตระกูล กับท่านผู้ว่าการธนาคารแห่ง ประเทศไทย ท่านกำจร สถิรกุล สมัยพล.อ.เปรมฯ เป็นนายกรัฐมนตรี ตอนนั้นทางธนาคารแห่งประเทศ ไทยก็อยากจะตั้งสถาบันประกั นเงินฝาก แต่ว่าท่านรัฐมนตรีสมหมายท่ านบอกว่าไม่มีประโยชน์ เพราะว่าสถาบันประกันเงินฝา กที่อเมริกาที่อังกฤษที่ยุโ รป เวลามีปัญหาก็ไม่พอเงิน รัฐบาลต้องควักกระเป๋าเข้าไ ปช่วยอยู่ดี ก็เลยจัดตั้ง เรียกว่า กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถ าบันการเงิน ก็ไปลอกแบบของอังกฤษ โดยให้ท่านเริงชัย มะระกานนท์ ตอนนั้นท่านยังไม่ได้เป็นผู ้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย  ไปดูงานที่อังกฤษ กลับมาท่านก็ทำข้อเสนอ ก็ใช้ประโยชน์ได้ดีเพราะว่า ช่วงนั้นก็เกิดมีปัญหาคนแห่ มาถอนเงินจากสถาบันการเงิน เริ่มจากบริษัทที่เขาเรียกว ่าตึกดำ จำได้ไหม แล้วก็ถอนใบอนุญาตกัน ถอนไป 5 แห่ง มาอีก 30 แห่ง ก็เลยจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูฯ ขึ้นในธนาคารแห่งประเทศไทยโ ดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเท ศไทยเป็นประธาน แล้วก็ผู้จัดการกองทุน ก็เจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประ เทศไทย กรรมการส่วนมากก็เป็นคนจากห น่วยราชการจากกระทรวงการคลั ง จากธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ทั้งหมดนี้ธนาคารแห่งประ เทศไทยเป็นคนจัดการทั้งนั้น ครับ ทีนี้มาถึงคราวเกิดต้มยำกุ้ ง ธนาคารแห่งประเทศไทยทำความผ ิดพลาดไปสู้ค่าเงินบาท ทั้งๆ ที่ควรจะลดค่าเงินบาทเพราะม ันไปไม่รอด ก็ขาดทุน ที่เรียกว่าไปทำ Swap ก็คือขายดอลลาร์ล่วงหน้า โซรอสกับพวกก็เห็นช่อง ก็เล่นงาน ขาดทุนไปแปดแสนล้าน มาอีกอันหนึ่ง พอเกิดเรื่องอย่างนี้ท่านก็ ขึ้นดอกเบี้ยเพื่อไม่ให้เงิ นไหลออก ก็หวังให้เงินไหลเข้า ก็ปรากฏว่าเศรษฐกิจก็พัง ขึ้นดอกเบี้ยไปถึง 20% ใครจะอยู่ได้ ก็เกิดการปิดสถาบันการเงิน 58 แห่ง ก็ไม่ควรจะปิด สมัยท่านสมหมายท่านไม่ปิดหร อก ท่านก็ลดทุน ไล่เจ้าของออก ไล่ผู้จัดการออก ก็ส่งคนทางการไป ลูกค้าก็อยู่ได้ ลูกค้าไม่ถูกตัดสินเชื่อก็อ ยู่ได้ไม่เสียหายขนาดนั้น นี่ไปปิดเลย ลูกค้าดีๆก็พังหมดก็เลยลาม

พิธีกร : รัฐบาลก็เลยต้องมาขอรัฐบาลไ ปช่วย
ดร.วีรพงษ์ฯ : ก็เลยมาขอ ขอแก้กฎหมาย ขออำนาจให้กองทุนฟื้นฟูฯ เข้าไปจัดการ ก็ไปจัดการ เสร็จแล้วก็ไปถอนใบอนุญาต อันนี้ก็ขาดทุนอีกแล้ว เพราะว่าเงินที่อุดไปก่อน ก่อนที่จะไปถอนใบอนุญาต สูญหายไปกับน้ำหมด ที่นี้ก็เอาทรัพย์สินเขามาป ระมูล มาบอกว่า ต้องรีบประมูล เดี๋ยวเกาหลีใต้จะประมูลก่อ นแล้วจะไม่มีใครซื้อ

พิธีกร : ในสมัยที่เรามีการตั้งองค์ก ารเพื่อการปฎิรูประบบสถาบัน การเงิน (ปรส.)

ดร.วีรพงษ์ฯ : ครับ ปรส. แล้วเสร็จแล้วก็บอกว่าห้ามล ูกหนี้ประมูล เดี๋ยวจะเป็น Moral hazard ก็ไปเอาฝรั่งมาประมูล แล้วก็เอามาขายลูกหนี้ตามเด ิมในที่สุดก็ขาดทุนสามอันนี ้รวมกันไป รวมกันมาเป็นล้านล้านบาท ก็บอกว่าไม่ไหว ก็ให้รัฐบาลช่วย เพราะว่าธนาคารแห่งประเทศไท ยตอนนั้นไม่ไหวแล้ว รัฐบาลก็ใจดี ถ้าผมเป็นรัฐมนตรีคลังตอนนั ้นผมไม่ยอมหรอก ก็บอกว่าเอาอย่างนี้ให้รัฐบ าลจ่ายดอก แล้วแบงค์ชาติจะจ่ายต้น ผ่านมา10ปีแบงค์ชาติไม่เคยก ำไรเลย รัฐบาลก็จ่ายดอกไปเรื่อยปีล ะ หกหมื่น แล้วนั้นเงินรัฐบาลที่ไหน ก็เงินภาษีประชาชน

พิธีกร : แล้ว 10 ปีที่ผ่านมาภาษีของประชาชนท ุกๆคน ก็ไปจ่ายกับดอกเบี้ยหกหมื่น ห้าพันล้าน

ดร.วีรพงษ์ฯ : ทีนี้พอเกิดอย่างนี้ขึ้น พอเศรษฐกิจมันฟื้นตัวก็เป็น ข้อจำกัดที่โครงการทั้งหลาย เราอยากทำ Flood way อยากทำเขื่อนนู้น อยากทำอันนี้ ตัวนี้ก็เป็นข้อจำกัดเพราะว ่ายอดหนี้ public debt หรือว่าหนี้สาธารณะ ค้ำคออยู่ เดิมเราก็ตั้งไว้ไม่ให้เกิน  50% ของรายได้ประชาชาติ รายจ่าย ในงบประมาณรายจ่ายทั้งต้นทั ้งดอกไม่ให้เกิน 15% นี้ก็ซัดไป 12 % เหลืออีก 3 % เท่านั้น ที่จะทำอะไรไม่ได้ บัดนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยก ็เข้มแข็งแล้ว มีทุนสำรองระหว่างประเทศเป็ นอันดับ17ของโลก ถึงแสนแปดหมื่นสามพันล้าน เป็นของฝ่ายออกบัตรหรือทุนส ำรองเงินกลางเพียงห้าหมื่นล ้าน อีกแสนสามล้านเป็นของแบงค์ช าติจริงๆ อีกห้าหมื่นล้านไม่ใช่ หลวงตาท่านเรียกคลังหลวงอย่ าไปยุ่ง แต่ไอ้ที่แสนสามท่านไม่ค่อย พูดถึง ยังมีเงินสดในมืออีกในบัญชี อีก สามล้านล้าน แต่ว่าบริหารขาดทุนหมด ทั้งๆนี้มีอำนาจอยู่ในมือ ตกลงหนี้ที่ว่านี้ก็เลยกลาย เป็นหนี้ตลอดกัลปวสาน เป็น Perpetual debt ต้นก็ไม่ลดเลย แล้วเราก็จ่ายดอกกันมาเรื่อ ย อันนี้ก็เป็นข้อจำกัดทำให้เ ราไม่สามารถสร้างประเทศชาติ ได้ ที่เราพูดกันว่าอยากจะมีรถส ปีดเวย์ สปีดเทรน อยากจะมีโน้นมีนี่ก็มาเจออั นนี้เข้า มันติดวินัยการคลังอยู่ ทั้งๆที่วินัยการคลังนี้ไม่ ใช่รัฐบาลตั้ง แล้วธนาคารแห่งประเทศไทยมาโ ยนให้ บัดนี้ท่านเข้มแข็งแล้วก็ขอ คืนท่านไปเราจะได้เอามาพัฒน าประเทศสร้างอนาคตของชาติต่ างๆ เราพูดถึงรถไฟความเร็วสูง เราพูดถึงระบบรางใหม่ เราพูดถึงท่าเรือน้ำลึก ซึ่งขณะนี้ใช้เต็มเหนี่ยวหม ดแล้ว เราจะต้องขยาย แล้วบัดนี้ภูมิภาคมันเปลี่ย นไปแล้ว เศรษฐกิจมันจะย้ายจากอเมริก า ยุโรปมาอยู่เอเชีย พม่าก็กำลังจะเปลี่ยน อินโดจีนก็กำลังจะเปลี่ยน จีนก็จะเป็นมหาอำนาจทางเศรษ ฐกิจแล้ว แล้วเราตั้งอยู่ใจกลางนี้ ไปติดหนี้กองทุนฟื้นฟูอยู่ เลยจะเสียวินัยการคลังก็ไม่ ได้ จะลงทุนก็ติดอันนี้อยู่

พิธีกร : มีเรื่องของมาตรา 7 วงเล็บ3 บอกว่าการโอนเงินหรือสินทรั พย์ของธนาคารแห่งประเทศไทยห รือกองทุนเข้าบัญชีตามมาตรา 5ที่ ครม. กำหนด เขาบอกว่า ตรงนี้เหมือนการทำเป็น blank check ทำเช็คเปล่าได้เลย

ดร.วีรพงษ์ฯ : เอาอย่างนี้ ผมอยากจะตอบท่าน ต้องทำงานแบงค์ชาติ ผมคนนอกตอบแทนดีกว่า คือสังคมไทยนี้ไว้ใจแบงค์ชา ติ แต่ไม่ไว้ใจกระทรวงการคลัง ไม่ไว้ใจนักการเมือง แต่ดูประวัติศาสตร์เถอะครับ  เวลาเกิดวิกฤตินี้ฝีมือท่าน แบงค์ชาติทั้งนั้น ตั้งแต่ท่านรัฐมนตรีสมหมาย ท่านไม่ยอมลดค่าเงินบาท จนต้องเปลี่ยนผู้ว่าถึงได้ล ดได้ เรื่อยมานะครับ ทีนี้ก็จะปิดประตู ก็เผื่อคณะรัฐมนตรีไม่สามาร ถที่จะมีมติแล้วก็ทำอะไรได้ นี้ แบงค์ชาติท่านก็เป็นอิสระ10 0% เป็นรัฐอิสระ แล้วมักจะชอบพูดให้สังคมไม่ ไว้วางใจคณะรัฐมนตรี ซึ่งกระผมก็ไม่ทราบว่ายังไง  ซึ่งอันนี้มันขัดกับหลักประ ชาธิปไตย และคณะรัฐมนตรีท่านมาจากประ ชาชนนะครับ ส่วนธนาคารแห่งประเทศไทยนั้ นไม่ได้มีความเชื่อมโยงอะไร กับประชาชนเลย แต่ท่านสอนให้เขาไม่ไว้ใจคณ ะรัฐมนตรี อันนี้เปิดช่องไว้ในกรณีที่ จำเป็นแล้วถ้าเผื่อว่าคณะรั ฐมนตรีมีมติแล้วท่านเห็นว่า มันไม่ได้หรือร้ายแรงอะไรแบ บนี้ ท่านก็เสนอให้ทบทวนมติก็ได้  แต่ควรจะเปิดเอาไว้ นี่ไปปิดประตูตายแล้ว

พิธีกร : ส่วนเรื่องที่ อีกอันคือเรื่องของการที่จะ ไปเก็บค่าธรรมเนียมจากธนาคา ร ทำไมธนาคารพาณิชย์ ก็ร้องเรียนว่าอยู่ดี ๆ ทำไมธนาคารพาณิชย์ต้องมีการ เก็บค่าธรรมเนียมจากธนาคาร

ดร.วีรพงษ์ฯ : อันนี้ผมขอพูดอย่างนี้ก็แล้ วกันนะ อันนี้เป็นอำนาจของท่าน เราก็ไม่อยากจะไปแตะต้องอำน าจของท่าน ถ้าท่านอยากจะว่ายังไง จะร้องโอยโอยว่าไม่มีทางที่ จะใช้หนี้คืนได้ ต้องให้รัฐบาลเอาภาษีประชาช นไปคืนดอก ก็สุดท้ายแต่ท่านเถอะ ถ้าจะไปต่อว่าก็ไปต่อว่าธนา คารแห่งประเทศไทยก็แล้วกัน

พิธีกร : แต่ว่าคือ อันนี้เป็นแนวทางที่จะทำให้ ในแง่ของปลดล็อกหนี้ตรงนี้ไ ป จะทำให้รัฐบาลมีความคล่องตั วมากขึ้นในแง่ของการจัดการง บประมาณไหมครับ

นายกิตติรัตน์ฯ : ก็อย่างที่ท่านวีรพงษ์ได้กล ่าวครับ คือมีสัดส่วนที่จะต้องควบคุ มสำคัญอยู่ 2 สัดส่วน

ดร.วีรพงษ์ฯ : วินัยการคลัง มี Ratio อยู่ 2-3 ตัว ซึ่งเราต้องรักษาไว้ท่านผู้ ว่าท่านก็บอก ให้รัฐบาลมีวินัยการคลังเรื ่อยเวลาท่านปาฐกถาที่ไหน

พิธีกร : ซึ่งเราก็ทำตามตลอดใช่ไหมคร ับ

ดร.วีรพงษ์ฯ : ครับ

นายกิตติรัตน์ฯ : แล้วก็อันสำคัญทั้งสองรายกา รนะครับ อาจจะดูว่าอันหนึ่งยังหลวมอ ยู่ก็คือเรื่องของหนี้สาธาร ณะต่อขนาดเศรษฐกิจของประเทศ ที่เราใช้ Gross Domestic Product หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชา ติ แต่อันที่สำคัญก็คือในเรื่อ งของการที่จะดูยอดการชำระดอ กเบี้ยรวมกับเงินต้นรายปีนี ้ เป็นสัดส่วนที่ไม่เกินร้อยล ะ15ของงบประมาณแผ่นดินซึ่งง บประมาณแผ่นดินที่ได้ผ่านสภ าในปีนี้ เป็นสัดส่วนที่ไม่เกินร้อยล ะ15 ของงบประมาณแผนดินนะครับ ซึ่งงบประมาณแผ่นดินที่เราไ ด้ผ่านสภาในปีนี้ก็ 2.38 ล้านล้านบาท ยอดดอกเบี้ยและเงินต้นต่อปี ก็จะต้องไม่เกิน สามแสนห้าหมื่นกว่าล้านบาท ขณะนี้เฉพาะยอดนี้ยอดเดียวก ็ หกหมื่นห้าพันล้านบาทต่อปีท ี่เป็นดอกเบี้ยอย่างเดียวนะ ครับเพราะ ฉะนั้นในเรื่องของการดูแลหน ี้ให้อยู่ในที่ที่เหมาะสม ก็เรียนว่าหนี้จะอยู่ที่ไหน ก็เป็นหนี้ของประเทศ เพียงแต่ว่าหนี้อยู่ในที่ที ่ถูกต้องครับก็คือเป็นหนีที ่อยู่ในจุดตรงนั้น ก็กลับไปอยู่ตรงนั้นดูแลก็เ ขียนโดยกฎหมาย เมื่อมีการระดมเงินไปแล้วว่ าธนาคารแห่งประเทศไทยรับผิด ชอบในเรื่องของเงินต้นและดอ กเบี้ยในการเรียกเก็บตั้งแต ่กฎหมายฉบับ ปี 2541 บอกว่าถ้าไม่มีนี้ กระทรวงการคลังจะออกไปให้ก่ อน แล้วก็ให้ตามมาของรับคืนได้ ในภายหลัง เมื่อเงินต้นครบแล้ว ละครับ เพราะฉะนั้นในสิ่งที่มีอยู่ เดิมมีความชัดเจนอยู่ที่เดี ยว ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องดูแ ลวันนั้นอาจจะไม่พร้อมเพราะ มีผลกระทบอยู่ในเวลานั้น วันนี้อย่างที่อาจารย์วีรพง ษ์ ได้เรียนว่า ความพร้อมมีมากแล้ว ดังนั้นจึงอยู่ในที่ที่ถูกต ้องเปิดโอกาสให้ประเทศได้เค ลื่อนต่อ แล้วก็เรียนว่าการเคลื่อนต่ อเป็นเรื่องที่ไม่ทำให้ สูญเสียวินัยการคลัง นะครับเพราะเรายังอยู่ในกรอ บสัดส่วนที่สำคัญ สองเรื่องนี้ได้อย่างดี ในแง่เครื่องมือในทางการเมื องที่เราจะเอามาใช้ในการระด มเงินจำนวนมากขนาดนี้ จะใช้เครื่องมือทางการเงินป ระเภทไหนครับ ในเรื่องของกฎหมายที่ร่างนี ้ครับก็จะเปิดทางให้สามารถร ะดมเงินจากในประเทศก็ได้ หรือจากต่างประเทศก็ได้ ซึ่งผมขอเรียนว่าท่านอาจารย ์วีรพงษ์ก็ได้มีแนวทางซึ่งผ มมั่นใจนะครับว่าการระดมเงิ น เกือบทั้งหมดควรเป็นเงินจาก ภายในประเทศแต่ในความเห็นส่ วนตัวของผม ก็คือว่าในขณะนี้มีสถาบันกา รเงินที่ถือว่าเป็นธนาคารกล ุ่มพัฒนาที่ต้องการที่จะให้ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำระยะยาว  และเขาก็อยากเหลือเกินที่จะ ให้เรากู้เขา เราก็กู้เขาบ้างก็เป็นเรื่อ งที่ดีที่ทำให้สถาบันเหล่าน ี้ครับ ช่วยดูแลธรรมาภิบาลในการใช้ เงิน ซึ่งในอดีตเราอาจจะมีปัญหาเ รื่องการทุจริตประพฤติมิชอบ เกิดขึ้น ในขณะนี้สังคมตั้งคำถามว่าเ ราจะสามารถดำเนินการให้ซื่อ ตรงโปร่งใสแค่ไหน ซึ่งเราให้สถาบันเหล่านี้มา ช่วยดำเนินการเราอีกทางมีเห ตุผลจำเป็นอะไรที่จะต้องใช้ เงินตราต่างประเทศ โครงการต่างๆน่าจะใช้ค่าใช้ จ่ายในประเทศเป็นหลักนะครับ  ซึ่งจะออกเป็นพันธบัตรหรือจ ะออกดำเนินการระดมอื่นใดผลป ระโยชน์ก็จะตกอยู่ในประเทศ

พิธีกร : สามแสนห้าหมื่นล้านตรงนี้ จะเป็นโครงการเร่งด่วนหรือว ่าเป็นโครงการระยะยาวอย่างไ รบ้างครับรายละเอียดมีบ้างค รับ ก็มีการระบุว่ามีการจัดทำระ บบเก็บกักน้ำ ต้องเรียนว่าเรามีแม่น้ำสาย หลักๆ บ้างสายปรากฎว่าเราไม่มีระบ บเก็บกักน้ำเลยนะครับ เวลาที่ฝนตกลงมามากๆ น้ำท่วมเลยไหลมาจนบ่างจังหว ัดทนทุกข์ทรามกัน แล้วในขณะที่ปริมาณน้ำไหลยั งไปไม่ถึงอ่าวไทยเลยนะครับ ปรากฏว่าตรงนั้นแล้งเสียแล้ ว เพราะไม่มีอะไรช่วยเก็บกักน ้ำไว้บ้าง อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องท ำครับ ในขณะเดียวกันการบริหารจัดก ารที่เป็นระบบกักเก็บน้ำเป็ นการใช้เพื่อชลประทานใช้ในส ังคมเมืองและสังคมอุตสาหกรร ม เราเจอน้ำท่วมมาแล้วเราต้อง ระบายกันอย่างเดียวการบริหา รจัดการน้ำให้มีเพียงพอ ถ้าในปีใดฝนตกมากก็สามารถระ บายได้ดี ปีใดฝนตกน้อยก็สามารถเก็บน้ ำไว้ใช้ได้ เพราะการลงทุนในโครงการต่าง ๆ ได้มีการดำเนินการเตรียมไว้ แล้ว อย่างที่ผมเรียนว่าแนวคิดหล ักการอยู่ในแผนแม่บท การที่จะเอามาดูแลให้ชัดเจน  การเปลี่ยนแปลงของราคาการลง ทุนต่างๆ ไป ก็จะต้องมีตัวเลขที่จะต้องด ำเนินการ

พิธีกร : 350,000 ล้านบาท พอไหมครับท่าน

ดร.วีรพงษ์ฯ : สำหรับโครงการที่มีอยู่แล้ว ในใจที่พิจารณาอยู่พอ ก็ตั้งตามความต้องการของโคร งการต่างๆ ส่วนต่อไปข้างหน้าจะมีอะไรเ พิ่มเติมขึ้น ก็คอยว่ากันใหม่ ทีนี้ถ้าสังเกตดูชื่อกรรมกา รผมนี้ไม่ใช้พื้นฟูอย่างเดี ยวสร้างอนาคต การสร้างอนาคตนี้เป็นเรื่อง ใหญ่อีกเรื่องหนึ่ง เมื่อก่อนเราก็มีความคิดแต่ ติดเรื่องวินัยการคลัง ติดหนี้กองทุนฟื้นฟู วันนี้ถ้าสามารถยกออกไปได้แ ล้วเราก็จะสามารถที่จะดำเนิ นการในเรื่องโครงการต่างๆ ที่จะรองรับความเจริญเติบโต ของทวีปเอเชียที่จะเป็นศูนย ์ของเศรษฐกิจของโลกต่อไป แล้วที่ตั้งของประเทศของเรา ก็เหมาะในเรื่องการมีถนนจาก เวียดนามไปพม่า จากจีนลงสิงคโปร์บังเอิญมาต ัดอยู่เมืองไทยพอดี ระยะทางจากกรุงเทพฯ ไปออสเตรีย กับไปลอนดอนมันพอดีกันเครื่ องบินลงมาจอดเติมน้ำมันพอดี กัน เราเป็นศูนย์การบินภูมิภาคจ ะเป็นศูนย์การคมนาคมทางบกใน ภูมิภาค ระบบรถรางรถไฟของเรานี้ล้าส มัยมากควรจะเปลี่ยนได้แล้ว ควรจะทำใหม่ให้ทันสมัย ถ้าจะเป็นระบบที่จะถูกที่สุ ดในระบบน่าจะทำใหม่หมดทั้งร ะบบ นอกจากนั้นแล้วจะมีเรื่องทา งด้านอื่นๆ ทางด้านวิทยาสตร์ ทางด้านไอที ทางด้านInformation เทคโนโลยี มีเรื่องอื่นที่เราจะต้องอั พเกรด

ดร.วีรพงษ์ฯ : คือเป็นการปรับโครงสร้างพื้ นฐานของประเทศครั้งใหญ่ เพื่อยกระดับความสามารถในกา รแข็งขันระดับประเทศ ยกมาตรฐานของเราขึ้นให้ทันส มัยขึ้น เราขณะนี้ตามจีนยังไม่ทันเล ย ตามประเทศไต้หวัน ประเทศสิงคโปร์ไม่ทัน

พิธีกร : ทำไมโครงการเหล่านี้รัฐบาลเ ป็นคนลงทุน เราไม่สามารถที่ทำเป็น PP Private Public

ดร.วีรพงษ์ฯ : คืออย่างนี้พื้นฐานรัฐบาลต้ องลง เมื่อรัฐบาลลงทุนแล้วเอกชนก ็ไปจัดการเพราะว่าโครงการที ่ต้องใช้ร่วมกัน ถนนอย่างนี้ให้เอกชนลงท�
 · แชร์
 
 

รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน ครั้งที่ 13 
นายกรัฐมนตรีมั่นใจแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยเฉพาะ Flood way ต่าง ๆ จะแล้วเสร็จทันมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนชาวไทย เพื่อให้ประชาชนชาวไทยมีขวัญกำลังใจพร้อมเรียกความเชื่อมั่นนักลงทุนกลับคืนมา


วันนี้ (24 ธ.ค.54) เวลา 08.00 น. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ร่วมสนทนากับนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา และนายกิจจา ผลภาษี กรรมการในคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ในรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" ครั้งที่ 13 โดยมีนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เป็นพิธีกร ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ ดังนี้
พิธีกร (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) : สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน" สำหรับรายการวันนี้เป็นเรื่องที่ผมเชื่อว่าพี่น้องประชาชนทุกคน รวมทั้งชาวต่างประเทศที่มาลงทุนมาค้าขายกับประเทศไทยจะติดตามอย่างใกล้ชิดมาโดยตลอดตั้งแต่เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ ในประเทศปีนี้ ตอนนี้ทุกคนตามกันว่าจะฟื้นฟูประเทศอย่างไร จะมีการบริหารจัดการน้ำอย่างไรในอนาคต เพื่อไม่ให้เกิดอุทกภัยครั้งนี้อีก และจะมีการฟื้นฟูและวางอนาคตของประเทศไปในทิศทางใด ผมอยู่กับแน่นอนนะครับ คนแรกครับ ท่านนายกรัฐมนตรี คุณยิ่งลักษณ์ ชินวัตร สวัสดีครับ ท่านนายกรัฐมนตรี ครับ

นายกรัฐมนตรี : สวัสดีค่ะ คุณสุรนันทน์ฯ

พิธีกร : และวันนี้เรายังมีผู้ร่วมรายการอีก 3 ท่านนะครับ ท่านแรกเป็นประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ท่านอาจารย์วีรพงษ์ รามางกูร สวัสดีครับ อาจารย์ครับ และอีก 2 ท่านครับ มาจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ หรือที่เราเรียกกันว่า กยน. ท่านแรกคือ ท่านปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา สวัสดีครับ และอีกท่านหนึ่งคือท่านกิจจา ผลภาษี สวัสดีครับ ทั้งสองท่านเป็นประธานคณะอนุกรรมการแต่ละช่วง ท่านอาจารย์ปีติพงศ์ฯ เป็นช่วงระยะสั้น และท่านกิจจาฯ ก็ดูระยะยาว แต่ก่อนอื่นผมต้องขออนุญาตถามท่านนายกรัฐมนตรีก่อนเลย ท่านนายกรัฐมนตรี ตั้งคณะกรรมการ 2 ชุด เชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ความสามารถของประเทศมารวมอยู่ในที่เดียวกันได้ ท่านนายกรัฐมนตรี คาดหวังอะไรครับ กับคณะกรรมการ 2 ชุดนี้

นายกรัฐมนตรี : ก่อนอื่นต้องเรียนว่าปัญหาอุทกภัยครั้งนี้ ถือว่าเป็นปัญหาที่รุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เปรียบเสมือนเป็นฝันร้ายของประเทศไทย อย่างแรกที่เรามีการเรียนเชิญผู้เชี่ยวชาญทุกท่านเข้ามาเป็นคณะกรรมการนี้ เพื่ออย่างแรกที่ไม่อยากจะเห็นปัญหาต่าง ๆ หรือปัญหาการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำเกิดขึ้นแบบนี้อีก ดังนั้น สิ่งที่เราต้องเร่งทำก็คือการที่จะทำอย่างไรให้เกิดความมั่นใจกับพี่น้องประชาชนว่า ปีหน้านั้นต้องดีกว่าปีนี้ และที่สำคัญความมั่นใจของนักลงทุนด้วย ก็เลยเป็นที่มาของการที่เรามีการตั้งคณะกรรมการนี้ 2 ชุด ถามว่าทำไมถึงมี 2 ชุด เพราะว่าชุดแรกแน่นอนเรื่องน้ำก็ต้องมีในเรื่องของการวางยุทธศาสตร์ วันนี้เราใช้คำว่าการวางยุทธศาสตร์ กยน. เพราะว่าเราจะไม่สามารถบริหารน้ำแบบเดิม ๆ ได้แล้ว ปัญหาวันนี้โลกวิวัฒนาการเปลี่ยนไป อากาศต่าง ๆ ภูมิศาสตร์ต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไป ก็ถือว่าถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องนำเอาสิ่งที่เป็นปัญหาวันนี้ให้มาเป็นโอกาสของประเทศในการที่จะปรับปรุงระบบใหม่ทั้งหมด ก็เลยเป็นที่มาของคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.)

พิธีกร : เรื่องนี้เป็นเรื่องของน้ำโดยเฉพาะเลย

นายกรัฐมนตรี : เรื่องน้ำโดยเฉพาะซึ่งจะเกี่ยวพันตั้งแต่เรื่องที่เราต้องคิดตั้งแต่ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์ และช่วงที่เกิดเหตุการณ์ว่า เราจะเตรียมพร้อมรับอย่างไร และเมื่อเกิดเหตุการณ์แล้วจะทำงานกันอย่างไร อันนี้ก็คงจะเป็นสิ่งที่เราต้องคุยกันทั้งในระยะที่เร่งด่วนที่จะต้องเกิดขึ้นให้รองรับให้ทันกับหน้าฝนปีหน้า และขณะเดียวกันก็ต้องวางแผนระยะยาวอย่างยั่งยืน แต่ในขณะเดียวก็ต้องเตรียมพร้อม ทั้งในเรื่องของการรองรับเรื่องของน้ำท่วม ขณะเดียวกันน้ำแล้งก็ต้องดูควบคู่กันไป

พิธีกร : เรื่องน้ำทั้งแล้งทั้งท่วมจะมาในรูปแบบไหน คณะกรรมการชุดนี้ต้องดู

นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ ก็ควรจะวางแผนให้สัมพันธ์กัน

พิธีกร : สั้น ยาว ทีนี้พอมาถึงอีกคณะหนึ่งคือยาวไปเลย พูดถึงอนาคต ทำไมต้องมีตรงนั้นด้วยละครับ คณะกรรมการของอาจารย์วีรพงษ์ฯ

นายกรัฐมนตรี : ของอาจารย์วีรพงษ์ฯ นี่เป็นสิ่งสำคัญค่ะ เพราะถ้าเราคุยแต่เรื่องของน้ำใช้การลงทุน แน่นอนต่างประเทศเขาก็ต้องถามแล้วจะเอาเงินมาจากไหน แล้วจะบริหารประเทศอย่างไร ที่สำคัญเวลานี้ เมื่อเกิดเหตุการณ์นี้ สิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วนก็คือการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ถ้าเราฟื้นฟูเศรษฐกิจถ้าเราไม่มีแผนที่ชัดเจน ไม่ได้วางแผนในเรื่องของระบบโครงสร้างเศรษฐกิจว่า ข้างหน้าจะเดินไปอย่างไร เพราะว่าเราต้องลงทุนอย่างมหาศาล แต่ขณะเดียวกันเงินลงทุนที่กลับมาก็จะเกิดการสะท้อนมาในเรื่องของการจ้างงาน จ้างคน และเศรษฐกิจก็กลับมา ก็เพื่อให้เกิดความมั่นใจ นี่ก็เป็นสิ่งที่เราเองก็อยากจะให้มีคณะกรรมการที่จะต้องมาคุยกันในเรื่องของการฟื้นฟูประเทศ ฟื้นฟูเศรษฐกิจในอนาคตของประเทศก็เลยเป็นที่มาของคณะกรรมการ กยอ.

พิธีกร : คือมีภาพใหญ่คือ กยอ. และ กยน.นี่ดูน้ำโดยเฉพาะ ซึ่งถ้าเรื่องใหญ่นั้นก็คือเกือบทั้งประเทศ

นายกรัฐมนตรี : จริง ๆ ต้องบอกว่า กยน. ดูทางด้านเทคนิคเรื่องของน้ำ กยอ.ดูเรื่องของยุทธศาสตร์วางอนาคต ซึ่งทั้งสองคณะนี้ แน่นอนค่ะ ต้องทำงานควบคู่กันไปแยกจากกันไม่ได้ เพราะว่า ถามว่าท่านวีรพงษ์ฯ จะหาเงินมาก็ต้องทราบว่า เงินจะใช้เท่าไร และจะไปทำอะไร อันนี้ก็ต้องทำงานควบคู่กันไปที่วางแผนกันค่ะ

พิธีกร : ถ้าอย่างนั้น ผมขออนุญาตไปเริ่ม ไม่รู้จะเริ่มตรงไหนก่อน ต้องเริ่มจากอนาคตไกล ๆ ก่อนดีกว่า อาจารย์วีรพงษ์ฯ ฟังท่านนายกรัฐมนตรีนี่มองตรงกันหรือเปล่าครับ

ดร.วีรพงษ์ฯ : ตรงกันครับ ผมก็ต้องรับลูกจากท่านนายกรัฐมนตรี ซึ่งท่านเป็นประธานคณะกรรมการยุทศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ที่ท่านจะวางระบบการบริหารทรัพยากรน้ำ ส่วนผมนั้น ท่านได้บอกว่าต้องดูไกลไปกว่าน้ำด้วยก็คือ ดูอนาคตของประเทศ เนื่องจากโลกได้เปลี่ยนแปลงไปมากในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ขณะนี้สหรัฐอเมริกาก็แย่ ยุโรปก็แย่ เอเชียก็ดี ศูนย์กลางของการเติบโตในทางเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นเรื่องโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ซึ่งเราช้ามามาก ไม่ว่าจะเป็นท่าเรือน้ำลึก ท่าอากาศยาน ถนนหนทางขนส่งมวลชน และก็บวกเรื่องน้ำที่ท่านจะกรุณาวางยุทธวิธีให้เราทำ และเป็นเรื่องที่จะทำต่อเนื่องไปในระยะยาว อันแรก เรื่องด่วนก่อน ก็คือสร้างความเชื่อมั่น เพราะคนตกใจกันใหญ่ทั่วโลก

พิธีกร : เห็นอาจารย์ได้เดินทางไปหลายที่แล้ว

ดร.วีรพงษ์ฯ : เดินทางไปประเทศเทศอังกฤษ ลอนดอน ก็ได้พบกับบริษัทรับประกันภัยต่อ จำนวน 13 บริษัท ทั่วยุโรป ได้พบกับประธานกรรมการของบริษัทลอยด์ ออฟ ลอนดอน เขาก็รับปากว่าจะสนับสนุนและยังคงธุรกิจที่เกี่ยวกับการประกันภัยในประเทศไทย พอมีข่าวฮือฮาว่าเขาพูดเล่น ๆ ก็มีจดหมายสั้นมาอีก เป็นการมายืนยันว่าเขาพูดอย่างนี้เป็นตัวหนังสือ เป็นหนังสือเลย เป็นลายลักษณ์อักษร

พิธีกร : จุดที่เขาเป็นห่วงจริง ๆ คืออะไร ครับ

ดร.วีรพงษ์ฯ : จุดที่เขาเป็นห่วงจริง ๆ ก็คือว่า เขากลัวจะขาดทุนให้แก่นักธุรกิจ ถ้าเผื่อเขาจะไม่ขาดทุนก็คือเขามั่นใจว่ารัฐบาลเอาจริง จะป้องกันภัยทางน้ำให้ได้มีเห็นเป็นรูปธรรม ซึ่งผมก็ได้ไปชี้แจงว่าที่ผมมานี่ก็แสดงว่าท่านนายกรัฐมนตรี เอาจริงนะ ไม่ได้พูดเล่น ๆ และเขาชม นะครับว่า ประเทศไทยเป็นประเทศแรกที่ตื่นตัวในเรื่องการประกันภัยว่าเป็นความสำคัญมาตั้งแต่ภัยยังอยู่ ประเทศอื่น ๆ ภัยจบแล้วถึงค่อยมา

พิธีกร : ท่านถามมากไหมต่างประเทศ

ดร.วีรพงษ์ฯ : มากมายครับ วันนั้นใช้เวลาตั้งแต่ 09.00 น. - 19.00 น.

พิธีกร : ทั้งวันเลย

ดร.วีรพงษ์ฯ : รับประทานอาหารเพียง 1 ชั่วโมง เพราะว่า จำนวน 13 บริษัท ทั่วยุโรป ตอบทุกคำถามและได้ไปพบประธานฯ และหัวหน้าฝ่ายบริหารของบริษัทลอยด์ ออฟ ลอนดอน ทีนี้ก็ได้ทราบว่าทางฝ่ายประกันภัยทางน้ำเขาต้องการอย่างไรบ้าง ประกันภัยนี่สำคัญเพราะเป็นเงื่อนไขที่ธนาคารเขาบังคับต้องมี ไม่อย่างนั้นเขาปล่อยสินเชื่อไม่ได้

พิธีกร : เพราะฉะนั้น อาจารย์จึงเอาตรงนี้มาตั้งโจทย์

ดร.วีรพงษ์ฯ : คือสร้างความเชื่อมั่นจนกระทั่งให้เขาสามารถรับประกันภัยได้ เสร็จแล้วก็เดินทางไปที่ประเทศญี่ปุ่นกับรองนายกรัฐมนตรี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง ในส่วนที่ไปประเทศญี่ปุ่นได้พบนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีต่างประเทศ รัฐมนตรีเศรษฐกิจและการค้า รัฐมนตรีที่ดูแลการประกันภัย เขาเรียกว่า Financial services ท่านก็รีบสั่งเลขานุการท่านซึ่งเป็นลูกสาวท่าน ให้โทรไปถึงบริษัทประกันภัย 3 แห่งทันทีเลย คือ มิตซุย สุมิโตโม บริษัทโตเกียวมารีน บริษัทซัมโป บอกไม่ได้นะ เมืองไทยต้องดูแลเป็นพิเศษ พูดต่อหน้าผมเลย และก็ได้พบกับหน่วยราชการ ได้พบกับสถาบันเอกชน ซึ่งท่านที่ให้ผมพบนี่ระดับประธานทั้งหมด นะครับ

พิธีกร : แสดงว่าเขาก็มั่นใจ

ดร.วีรพงษ์ฯ : มั่นใจครับ เขาบอกผมมาเป็นระยะ ๆ ว่าไม่มีใครจะไม่รับ แต่เพียงว่าปีแรกการเจรจาอาจจะขลุกขลักหน่อย แต่ถ้าผลงานของผมปรากฏเป็นรูปธรรมมากขึ้น ๆ ก็จะเจรจาลดลงไปเรื่อย ๆ เช่น ปีนี้อาจจะรับแพงหน่อยกว่าต้นปี พอ 6 เดือนเห็นผลงานของผม เขาก็เจรจาลดครึ่งปีหลังให้ได้

พิธีกร : เพราะฉะนั้นมี 2 ส่วน ส่วนหนึ่งคือเรื่องการเงิน ประกันภัย การเงินต่าง ๆ อีกส่วนหนึ่งผู้ลงทุนจริง ๆ ที่เป็นนักอุตสาหกรรมตรงนี้อาจารย์ได้พบ

ดร.วีรพงษ์ฯ : ก็ได้พบและเขาก็ถามหลายเรื่อง เรื่องสำคัญที่สุดที่เขาจะถามก็คือเอาเงินมาจากไหน ท่านฝันหวานอะไรหรือเปล่า ก็เล่าให้เขาฟังว่า เมืองไทยไม่ได้ยากจนเหมือนเก่าแล้ว เราได้อยู่ในกลุ่มที่เรียกว่ากลุ่มอุตสาหกรรม รายได้ปานกลางระดับสูงแล้ว ทุนสำรองระหว่างประเทศเราก็เกินดุลมา ทุกปี ๆ การค้าระหว่างประเทศ งบประมาณแผ่นดินก็ไม่ได้ขาดดุลมากมายอะไร สภาพคล่องในตลาดก็มีมากมาย เพราะฉะนั้นท่านไม่ต้องห่วงหรอกที่เราจะมากู้ท่าน เราไม่เอา เงินของเราในบ้านมีเยอะแยะ

พิธีกร : แสดงว่าเดี๋ยวอาจารย์วีรพงษ์ฯ จะวางบิลท่านนายกรัฐมนตรี ว่า เท่าไร ท่านนายกรัฐมนตรี มีเงินพร้อมไหมครับ

นายกรัฐมนตรี : อาจารย์ต้องช่วยหาเงินด้วย

ดร.วีรพงษ์ฯ : อันนี้เขาก็เหมือนกันว่าจะทำอย่างไร ขั้นแรกก็หนี้ของรัฐบาลที่เรียกว่าหนี้สาธารณะ ที่จริงกว่าครึ่งไม่ใช่หนี้รัฐบาล เป็นหนี้ของกองทุนฟื้นฟูฯ มาแหมะไว้ ซึ่งบัดนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยก็แข็งแรงมั่นคง มีทุนสำรองมากมายแล้ว ก็คงจะรับกลับคืนไป ถ้ารับกลับคืนไป แล้วเราก็จัดหนี้บางอย่างในเรื่องรัฐวิสาหกิจ เราก็อาจจะเหลือหนี้เพียง 10 เปอร์เซ็นต์ของ GDP จาก 40 เปอร์เซ็นต์

พิธีกร : อาจารย์เห็นมาหลายยุค ตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจยุคแรก ๆ จนกระทั่งถึงตอนนี้ อาจารย์เชื่อมั่นใช่ไหมครับ ว่าระบบงบประมาณของเรา ระบบการจัดการหนี้ของเราไม่น่ามีปัญหาอะไร

ดร.วีรพงษ์ฯ : เที่ยวนี้สามารถทำอะไรได้มากมาย เพราะเรามีเงิน

พิธีกร : ลดง่ายกว่าลดค่าเงินบาทตอนนั้นไหม ครับ

ดร.วีรพงษ์ฯ : ตอนนั้นเราไม่มีเงินเลย ทุนสำรองก็คือทุนสำรองที่กู้เขามาเป็นสำรอง เที่ยวนี้ทุนสำรองของเราจริง ๆ นี่แล้วเราไปให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกากู้ รัฐบาลยุโรปกู้ไปใช้ เที่ยวนี้เราเอามาใช้ของเราเองมากกว่า

พิธีกร : แต่ก็ขึ้นกับว่าทั้ง 2 ท่านจะวางบิลเท่าไร

ดร.วีรพงษ์ฯ : ข้อสำคัญผมเป็นนักวินัยการคลัง ผมจะคุมดูแลไม่ให้เสียวินัยการคลัง ไม่ใช่ว่าทำโครงการต่าง ๆ เสร็จแล้วประเทศล้มละลายนี่ ไม่ได้ ต้องมีวินัยการคลัง

พิธีกร : เพราะในที่สุดอาจารย์ก็ต้องไปตอบนักการเงินของโลก ถ้าเกิดมีปัญหาขึ้นมา

ดร.วีรพงษ์ฯ : เขาก็เข้าใจ พูดกัน 2-3 คำ ฝรั่งเข้าใจง่าย คนญี่ปุ่นก็เข้าใจง่าย และกลับมาเขาก็ยืนยันว่าสิ่งที่ได้พูดกันที่ประเทศอังกฤษ ลอนดอน ที่ประเทศญี่ปุ่น โตเกียว ก็ดียังเป็นอย่างนั้นอยู่

พิธีกร : แต่อาจารย์ยังไม่ได้ไปพูดถึงรายละเอียดใช่ไหม ครับ เพราะรายละเอียดนี้ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ด้วยในส่วนหนึ่ง

ดร.วีรพงษ์ฯ : ก็พูดบ้าง เพราะผมเชื่อว่า คนไทยก็ต้องคิดในแนวเดียวกัน ประเทศมี ปิง วัง ยม น่าน มีนครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อยุธยา กรุงเทพฯ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ก็มีเท่านี้ ใครที่อยู่ในเมืองไทยมา 60 ปี ผมเชื่อว่าพูดในแนวเดียวกัน

พิธีกร : และคราวนี้ก็เห็นชัดเลย ว่า ลงมาตรงนี้แน่นอน ถ้างั้นพอพูดถึงเรื่องน้ำ ผมขออนุญาตกลับมาทางท่านปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ในฐานะอดีตปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และอีกหลาย ๆ ตำแหน่งซึ่งเกี่ยวข้องกับน้ำมาโดยตลอด ลุ่มน้ำ 25 ลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา จริง ๆ แล้วคำถามตอนนี้ของประชาชน ก็คือว่าเอามันเกิดกันแล้วละ อีก 5-6 เดือน จะเกิดขึ้นอีกไหม แล้วเราจะทำอย่างไรต่อ

นายปีติพงศ์ฯ : คือโจทย์ของเราที่ได้มาจากท่านนายกรัฐมนตรี ก็คือว่าทำอย่างไรที่จะลดความเสียหายให้มากที่สุดภายใน 1 ปี

พิธีกร : ของท่านนี้คือ ระยะสั้น

นายกรัฐมนตรี : ระยะเร่งด่วน

นายปีติพงศ์ฯ : เราพยายามอย่างที่สุด แต่ว่าพอ มันต้องขึ้นกับปัจจัย 2 อย่างหนึ่ง นั้นคือ เทวดา ฝน เพราะไม่ทราบว่าจะตกมากน้อยแค่ไหน มีหลายทฤษฎี บางอันก็บอกจะตกมาก อีกบางอันก็บอกว่าตกน้อย หมอดูบอกว่าตกมาก ในประเทศไทยต้องเชื่อหมอดูก็จะเป็นอย่างนั้น อีกส่วนหนึ่งก็คือการบริหารจัดการ ที่เราสามารถที่จะจัดการได้คือส่วนของการบริหารจัดการ ในส่วนของการบริหารจัดการเราก็ไปดูปัญหาว่า หลัก ๆ เป็นอย่างไรบ้าง ก็มีอยู่ 3 เรื่อง เรื่องหนึ่งคือ ความไม่พร้อมในเชิงวิศวกรรม เราห่างเหินจากการถูกน้ำท่วมมาเป็นเวลานานมาพอสมควร กลไกต่าง ๆ ครั้งสุดท้ายที่หนัก ๆ จริง ๆ แล้วก็มีสิ่งที่จะต้องปรับปรุงหลายอย่างแต่เราก็ไม่ได้ทำ อันที่สอง ระบบเตือนภัยค่อนข้างอาจจะมีปัญหา ทั้งข้อมูลพื้นฐาน ทั้งวิธีการคำนวณที่มาของน้ำ และแหล่งที่น้ำจะไป ชาวบ้านเดือดร้อนมาก เพราะไม่รู้ว่าน้ำจะไปที่ไหน บอกจะไปพระราม3 ตั้งนานไม่เห็นไปเลย จะไปที่ระบายน้ำของ กทม. ตั้งนานก็ไม่เห็นไป บ้านผมอยู่ข้างคลองแสนแสบ บอกจะไม่มาก็มา

นายกรัฐมนตรี : บอกเมตรหนึ่งมาสองเมตร

นายปิติพงศ์ฯ : อันนี้เป็นปัญหามาก และระบบเตือนภัยด้วย เพราะประชาชนไม่ค่อยรู้ หรือรู้ก็บอกว่า น้ำท่วมสองเมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง นึกภาพไม่ออก ผมเองก็ยังนึกไม่ออกทั้ง ๆ ที่ผมก็อยู่กับน้ำมานาน อันนั้นก็เป็นประเด็นที่สอง ซึ่งเป็นปัญหา ประเด็นที่สาม ก็คือ ในช่วงของภัยและการเผชิญภัยของเรา ระบบของการเตรียมการของฝ่ายพลเรือนดูยังอ่อนแออยู่ ผมคิดว่าวันนี้เราพิสูจน์ให้เห็นได้มากพอสมควรว่าคนที่เขาทำเรื่องภัยอยู่ตลอดเวลา เช่น ทหารอย่างนี้ เขาพร้อมที่จะเรียกคนเขาเข้ามา เอาเครื่องมือเข้ามา ฉะนั้นการเตือนภัยฝ่ายพลเรือนหรือการเตรียมการ เตรียมพร้อมฝ่ายพลเรือนเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ซึ่งต้องไปด้วย ทั้ง 3 เรื่องนี้ก็เป็นประเด็นหลักซึ่งเราให้ความสนใจอยู่

พิธีกร : ตรงนี้ พอเราตั้งโจทย์อย่างนี้ เราก็ต้องคิดไปว่าจะออกมาในรูปแบบไหน เพราะว่าจริง ๆ แล้ว ตอนนี้ทุกคนก็นึกภาพ ถ้าเกิดน้ำมามากอย่างที่ท่านว่า มันก็ท่วม ถ้าน้ำไม่มา มาแล้ง เดี๋ยวผมจะกลับไปถามนายกรัฐมนตรี เรื่องแล้งด้วย แต่ว่าพอมาท่วมอย่างนี้ ทำอย่างไร แน่ใจได้อย่างไรว่า ภายใน 1 ปี จะมีแผนอะไร

นายกรัฐมนตรี : ถึงบอกเรื่องการบริหารจัดการน้ำต้องเชื่อมต่อกันระบบกันด้วย

นายปีติพงศ์ฯ : คือ เราจัดระบบอย่างนี้ เราพูดว่า 3 กลุ่ม กลุ่มแรกกลุ่มในทางวิศวกรรมเราจะเริ่มจัดการตั้งแต่เขื่อน
พิธีกร : กลับไปถึงตรงนั้นเลย

นายปีติพงศ์ฯ : ต้องพยายามจินตนาการว่า เราพูดเรื่องต้นน้ำก่อน มีเขื่อนหลัก ๆ อยู่ 4 - 5 เขื่อน ถ้าเขื่อนหลัก ๆ บริหารจัดการน้ำในเวลาที่ถูกต้อง ดูแลดุลยภาพระหว่างการใช้น้ำหลายประเภท เพราะว่าน้ำนี่ วันนี้เราพูดกันมีแต่เรื่องน้ำท่วม แต่จริง ๆ มันเรื่องชลประทาน เรื่องสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ ด้วย สร้างดุลยภาพให้ได้และมีการประมาณการที่ดีก็จะลดปัญหาไปหลายเปอร์เซ็นต์แล้วจากเขื่อนใหญ่ ๆ เท่าที่เรายังมีอยู่

นายกรัฐมนตรี : ขอเสริมว่าดูแลตั้งแต่เรื่องของการปลูกป่าด้วย อนุรักษ์ตั้งแต่ต้นน้ำ เพราะจริง ๆ ต้องกลับมาหาสาเหตุเรื่องต้นน้ำด้วยว่า ต้นน้ำเองวันนี้ต้นไม้เราก็ถูกตัดไปมาก เราต้องกลับมาในเรื่องของการรณรงค์ปลูกป่าอนุรักษ์หน้าดินต่าง ๆ เพื่อในการที่จะชะลอน้ำด้วย

พิธีกร : อันนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ต้องทำ ทราบว่าท่านนายกรัฐมนตรี ไป ครม.สัญจรเดือนหน้าก็ไปดูเรื่องนี้โดยเฉพาะด้วย แต่พอมาถึงเขื่อนแล้วก็เป็นหน้าที่ที่ท่านจะต้องวาง

นายปีติพงศ์ฯ : เพราะว่าต้นน้ำนี่ก็อาจจะเป็นปัญหาระยะยาวที่ใช้เวลานานพอสมควร แต่พอจากเขื่อนก็จะมาที่ส่วนที่เป็นพื้นที่ที่เราเรียกกันง่าย ๆ ตามที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงรับสั่งไว้ คือ แก้มลิง เราจะผันน้ำเข้าไปอย่างไร ในพื้นที่ที่เป็นแก้มลิงธรรมชาติ พวกบึงต่าง ๆ ที่เมื่อก่อนใหญ่มาก เดี๋ยวนี้เหลือนิดเดียว เราก็ต้องไปลอกต้องปรับปรุง ทำให้ใหญ่เหมือนเดิม หรือใกล้ ๆ เหมือนเดิม เพราะคงมีหลายคนที่ไม่ยอม เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว น้ำส่วนหนึ่งก็จะฝากอยู่ในบึงธรรมชาติเหล่านั้น เมื่อน้ำเดินทางต่ำลงมาอีกนิด เราก็มีแนวป้องกันอีก เพราะเราจะมีประตูระบายน้ำ โครงสร้างต่าง ๆ เช่น คันกั้นน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ในแม่น้ำต่าง ๆ ที่มีความสำคัญ ซึ่งท่านก็คงทราบแล้วประชาชนก็คงทราบแล้ว ว่าพังไปเยอะแล้วตอนนี้ เนื่องจากเราไม่ได้ออกแบบในลักษณะที่จะป้องกันสิ่งเหล่านั้น

พิธีกร : ช่วงนั้นท่านนายกรัฐมนตรีก็ต่อสู้มาทีละขั้น ทีละขั้น

นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ เพราะของเก่าที่เรามี เรียกว่ายังไม่เป็นการถาวร แนวคันกั้นน้ำตามแนวพระราชดำริต่าง ๆ ก็ยังไม่แข็งแรง ต้องเสริมให้แข็งแรงใช่ไหมค่ะ

พิธีกร : เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็ต้องทำ

นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ อันนี้ต้องทำทั้งหมดเลย

นายปีติพงศ์ฯ : ตรงนี้เป็นสิ่งที่ต้องลงทุนมากหน่อย

นายกรัฐมนตรี : ค่ะ

พิธีกร : ในระยะ 1 ปี จะต้องลงทุนอะไร

นายปีติพงศ์ฯ : ในระยะ 1 ปี ต้องลงทุนตรงนี้ เพราะว่าส่วนหนึ่งนั้นสร้างได้ ส่วนหนึ่งต้องปรับปรุงและใช้เวลาประมาณ 2 ปี ส่วนหนึ่งทำได้ปี 2555 แต่อีกส่วนต้องทำไปถึงปี 2556

พิธีกร : ท่านปีติพงศ์ฯ มั่นใจแค่ไหนว่าตกลงเรารู้แล้ว พอฟังอย่างนี้ ท่านรู้จุดแล้วว่าอะไรบ้าง มั่นใจแค่ไหนว่าเราสามารถปรับระบบอย่างนี้ใน 1 ปี แล้วปีหน้าน้ำมาก็รับมือได้

นายปีติพงศ์ฯ : นอกจากระบบ 3 อัน แล้วยังมีระบบสูบน้ำอีก และปรับปรุงคูคลอง ตรงนั้นต้องทำด้วย ก็คือในพื้นที่กรุงเทพมหานครกับพื้นใกล้เคียง ต้องทำอย่างนั้น ผมค่อนข้างมั่นใจนะ ถ้าเกิดว่าสามารถที่จะทำอย่างที่เราคิดได้ขณะนี้เรากำลังคำนวณข้อมูลจากสิ่งที่เรียกว่า สถานการณ์เลวร้ายสุด ถ้าสถานการณ์เลวร้ายสุด เราก็อาจจะมีน้ำท่วมเล็กน้อย รับรองว่าน้อยกว่านี้และไปเร็วกว่านี้

นายกรัฐมนตรี : ดีกว่าที่เป็นอยู่แน่นอนใช่ไหมค่ะ

นายปีติพงศ์ฯ : แน่นอน

พิธีกร : เลวร้ายที่สุดหรือยังครับท่านนายกรัฐมนตรีปีนี้

นายกรัฐมนตรี : นี่ถือว่าเลวร้ายที่สุดแล้วค่ะ เพราะว่าไม่เคยเกิดเหตุการณ์นี้ ก็อย่างที่ทุกท่านได้เห็น เพราะว่าน้ำต่าง ๆ ก็มาและเราก็ไม่เคยที่จะรองรับวิกฤตขนาดนี้มาก่อน

พิธีกร : ตอนที่ท่านนายกรัฐมนตรี ไปวางปั๊มตามจุดต่าง ๆ จะมีกรมชลประทานด้วย

นายกรัฐมนตรี: ค่ะ

พิธีกร: ท่านปีติพงศ์ฯ ได้เข้าไปดูหรือยังครับ ว่าวางถูกจุดไหม ต้องแก้ไขอย่างไร

นายปีติพงศ์ฯ : ก็มีจุดที่ต้องแก้ไขเพราะว่าพูดกันตรง ๆ บางแห่ง เอาว่าข้อมูล 2 อย่างไม่ถูก อย่างหนึ่งคือขีดความสามารถของคูคลองที่เรามีอยู่ เราใช้ตัวเลขนานหลายปีแล้ว เวลาคำนวณปริมาณน้ำ ที่จะไป ก็ไม่ถูก อีกอย่างหนึ่งก็มีสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ขวางจำนวนมากไปหมด ซึ่งอันนี้เราจะต้องปรับมากพอสมควรเพื่อที่จะทำให้น้ำสามารถที่จะไหลไปได้ตามทางและในปริมาณที่ควรจะเป็น ทีนี้ความสำเร็จที่ถามก็ขึ้นอยู่กับ 2 ประการ ประการที่ 1 คือ การดำเนินงานในเรื่องสิ่งก่อสร้างต้องทำให้เสร็จภายในเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนมิถุนายน เป็นอย่างช้า

พิธีกร : นับจากตอนนี้ก็มีเวลา 5 เดือน

นายปีติพงศ์ฯ : ครับ มีเวลา 5 เดือน เราก็คำนวณไว้งานก่อสร้างทั้งหมดที่จะมาขอเงินอาจารย์ จะต้องเสร็จภายใน 5 เดือน

ดร.วีรพงษ์ฯ : ผมกำลังเร่งอยู่

นายกรัฐมนตรี : นี่แค่ระยะเร่งด่วนนะคะ ยังไม่ได้คุยถึงระยะถาวรว่าจะต้องใช้เงินเท่าไร

นายปีติพงศ์ฯ : อันที่ 2 คือเรื่องข้อมูลต้องทำทันที ตอนนี้ก็มีหลายคนให้ความสนใจที่จะมาช่วยเราบ้าง เราจะทำเองบ้าง ซึ่งอันนี้ก็คงจะต้องมาปรับกัน

พิธีกร : ข้อมูลนี้เป็นข้อมูลสถิติหรือข้อมูลอะไร ผมเคยเห็นท่านนายกรัฐมนตรี บอกว่าให้ติดกล้อง CCTV ที่ประตูน้ำ ใช่ข้อมูลไหม หรือเป็นส่วนหนึ่ง

นายกรัฐมนตรี : ส่วนหนึ่ง

นายปีติพงศ์ฯ : เป็นส่วนหนึ่ง อันนั้นคงจะเป็นข้อมูลที่แก้ไขปัญหาที่ประชาชนทะเลาะกัน ที่ผมเรียนนั้นคือข้อมูลของความเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของพื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงไปในรอบ 5 ปี หรือ 10 ปี ที่ผ่านมาและข้อมูลที่สามารถจะเอาไปคำนวณได้ว่าน้ำจะวิ่งไปทางไหนและท่วมบ้านท่านหรือเปล่า เป็นต้น เพราะฉะนั้นความสำเร็จก็อยู่ที่ 1. งานก่อสร้าง 2. คือ การคำนวณ และ3. ที่คงจะต้องฝากท่านนายกรัฐมนตรีไป

นายกรัฐมนตรี : การบริหารการจัดการน้ำ

นายปีติพงศ์ฯ : คือการบริหารจัดการซึ่งเราคิดว่าเวลามีเรื่องต้องบริหารจัดการอย่างหนึ่ง เวลาไม่มีเรื่องก็ควรจะบริหารจัดการอีกแบบหนึ่ง แบบธรรมดา แต่เวลามีเรื่องต้องคิดรูปแบบใหม่ซึ่งเรากำลังมองดูข้อกฎหมายและวิธีการอยู่

พิธีกร: ท่านนายกรัฐมนตรี มีในใจบ้างหรือยังครับ ก่อนจะไประยะยาวของท่านกิจจา ผลภาษี ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ก็ยังเป็นการตั้งคำถามกันอยู่ ก็ต้องพูดตรง ๆ ว่าตั้งคำถามว่า ทำไหมตอนนั้นมาหลายหน่วยงานมารวมกัน อันนี้ไม่ใช่รูปแบบที่ควรเป็น ใช่ไหมครับ

นายกรัฐมนตรี : บอกว่าคลาย ๆ กัน แต่สิ่งที่เราเริ่มของ ศปภ. เนื่องจากว่า ศปภ. เดิมทีมีหน่วยของ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) คือ ภายใต้กระทรวงมหาดไทยเพียงหนึ่งเดียว

พิธีกร: กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ ดังนั้นการที่จะดึงความร่วมมือจากทุกหน่วยงานมาก็จะทำได้ค่อนข้างยาก ก็เลยเป็นที่มาของการที่เราตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) โดยใช้อำนาจการบริหารงานของนายกรัฐมนตรีในการที่จะสั่งงานทุกกระทรวง แม้กระทั่งในส่วนของกระทรวงกลาโหม คือ ทางกองทัพ ในการที่จะดึงอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งตรงนี้เองก็เป็นสิ่งที่เป็นข้อได้เปรียบที่ทางกองทัพ มีทั้งจำนวนคน จำนวนบุคลากร และรวมถึงรถต่าง ๆ เพื่อที่จะเอาเข้ามาบูรณาการรวมพร้อมกับกระทรวงอื่น ๆ ซึ่งตรงนี้ก็เลยเป็นศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

พิธีกร : นายกรัฐมนตรีมองแล้วว่าถ้าเป็นระบบราชาการปกติไม่มีทางแน่นอน 
นายกรัฐมนตรี: คือจากที่ทำจากศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) แล้ว อันนี้คือเรียกว่าเราทำบนปกติ และพยายามแก้ปัญหาในยามวิกฤต ซึ่งก็ยังไม่สารมารถลองรับได้

พิธีกร : ไม่เพียงพอ

นายกรัฐมนตรี : เพราะว่าหน่วยในการตัดสินใจ ไม่ได้อยู่ที่เดียว เพราะทุกอย่างศูนย์บัญชาการก็ จะอยู่แต่ละกระทรวง อย่างยกตัวอย่างใช่ไหมค่ะ ท่านปิติพงศ์ฯว่า กรมชลประทานก็อยู่ที่ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทางด้านของ กทม. ก็จะอยู่ส่วนหนึ่ง ดังนั้นสิ่งที่เราทำ เราอยากเห็นอนาคตก็คือว่า ถ้าเราบริหารจัดการน้ำตั้งแต่ทั้งประเทศรวมกันตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อให้การบริหารจัดนั้นสัมพันธ์กัน ต้องเรียกว่าสัมพันธ์กัน แล้วการสั่งงานก็ควรจะเป็นที่เรียกว่า single command คือภายใต้ศูนย์เดียว

พิธีกร : ศูนย์เดียว ไม่ใช่คนเดียว

นายกรัฐมนตรี : ใช้คำว่าศูนย์เดียวดีกว่า ไม่ใช่คนเดียว เพราะว่าต้องรวมผู้ที่รู้ทุกเรื่อง ตั้งแต่เรื่องของการรู้ระบบเปิดปิดน้ำใช่ไหมค่ะ และต้องรู้เรื่องของการคำนวณฐานข้อมูลต่าง ๆ วันนี้ฐานข้อมูลมีอยู่ 4 ที่ อยู่กรมอุทกศาสตร์ทหารเรือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และล่าสุดไปเห็นคือที่กองบัญชาการกองทัพไทยก็สามารถถ่ายภาพถ่ายทางดาวเทียม อย่างนี้เป็นต้น เราก็ต้องรวมมาอยู่ศูนย์เดียวเพื่อให้การตัดสินใจบนข้อมูลที่ถูกต้อง แม่นยำและรวดเร็ว

พิธีกร : ศูนย์นี้จะเกิดภายใน 5 เดือนไหม

นายปีติพงศ์ฯ : คือเราต้องนำเสนอท่านนายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะนี้เราก็มองดูหลายภาพ แต่ไม่ควรจะใหญ่โต

นายกรัฐมนตรี : ค่ะ

นายปีติพงศ์ฯ : แต่ทำอย่างไงที่ใช้อำนาจในทางบริหารให้ทางภาคการเมืองกับทางภาคราชการ ทำงานด้วยกันได้

นายกรัฐมนตรี : ทำงานด้วยกันได้

นายปีติพงศ์ฯ : ส่วนงานต่าง ๆ ที่แยกกัน คือน้ำจะไม่ฟังหรอกว่าอยู่กับการปกครองส่วนท้องถิ่น อยู่กับกรุงเทพมหานคร อยู่กับส่วนกลาง อยู่กับกรมชลประทาน แต่ถ้าเรายังบริหารในลักษณะที่แยก เขตการปกครองมันไปไม่ได้ และประการที่ 2 ผมคิดว่าข้อที่ทางพวกผมที่มีความอยากจะริเริ่ม ต้องเรียนท่านนายกรัฐมนตรี ส่วนการที่มีส่วนร่วมของประชาชน คือ แผนเผชิญปัญหาถ้าเกิดขึ้นจริง ๆ ซึ่งผมคิดว่าตามรัฐธรรมนูญก็ดี ตามความเป็นจริงก็ดีประชาชนก็อยากจะมีส่วนร่วมและในคราวที่แล้วก็ต้องชมคนไทย เพราะว่าเขาช่วยตัวเองอย่างมากพอสมควร แต่ว่าก็ยังมีปัญหาเรื่องการบริหาร ในพื้นที่ต่าง ๆ ไม่เข้าใจกันบ้างและมีการพูดจากันที่มีปัญหาที่ เพราะฉะนั้นกลไกตรงนี้ นอกจากจะทำเรื่องการประสานงานในระดับของราชการกับการเมืองแล้ว ชุมชนต่าง ๆ ที่เขามีปัญหา จะต้องมีใครสักคนต้องเข้าไปคอยดูและสามารถจัดการในสิ่งที่เขาต้องการได้

พิธีกร : เดียวเราจะกลับมาตรงนี้ ขออนุญาตใช้สิทธิ์พาดพิงแทนท่านเลย เพราะว่าท่านกิจจาฯ เป็นอดีตอธิบดีกรมชลประทานด้วย เพราะฉะนั้นท่านอยากจะให้ท่านประเมินด้วยว่าที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ในฐานะอดีตอธิบดีมองนะครับ และท่านในฐานะที่ได้รับมอบหมายจากท่านนายกรัฐมนตรี ให้ดูระยะยาวขึ้น ท่านคิดอะไรอยู่บ้าง

นายกิจจาฯ : สำหรับในระยะยาวเราคงจะต้องทำต่อเนื่องจากระยะเร่งด่วน แผนที่วางไว้เปรียบเทียบออกมาแล้ว ได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว

พิธีกร : แสดงว่าคุยกันแล้วใช่ไหมครับ ท่านเห็นด้วย

นายปิติพงศ์ฯ : คุยกันทุกวัน

นายกรัฐมนตรี : จริง ๆ ต้องวางแผนด้วยกัน

นายกิจจาฯ : คือเราไม่กะว่าจะยั่งยืนไปถึง 10 - 20 ปี แผนกรอบที่เราวางไว้ 1-3 ปี

พิธีกร : ทำไมท่านวางไว้แค่นั้นครับ มันไม่มีอะไรถาวรหรือครับ

นายกิจจาฯ : 1-3 ปี ถ้าเราทำได้ครบ เราจะแก้ปัญหาได้มาก มากขึ้นยิ่งกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นผมยังไม่ทราบว่าสถานการณ์ทางการด้านการเมือง เป็นรูปแบบใด

พิธีกร : การเมืองเดี๋ยวกับมาถามท่านนายกรัฐมนตรี แต่ว่า 1-3 ปี ท่านแย้มให้ท่านผู้ชมฟังหน่อยได้ไหมครับ ว่า1-3 ปี ท่านมีแนวคิดอะไรบ้างที่ควรจะที่ต้องรับควรที่จะต้องทำ

นายกิจจาฯ : แน่นอนที่สุดครับ อย่างที่นายกรัฐมนตรีพูดต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ 3 อันที่หมดเลย พร้อมทั้งประสบการณ์ที่ผ่านมาในปี 2554 ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมา นอกจากแก้ไขโดยเร่งด่วนแล้วยั่งยืนเราต้องเข้าไปเสริมด้วย อย่างเช่น คันกั้นน้ำก็ดี พื้นที่ที่เราทำแก้มลิง พื้นที่ flood way ที่เราจะปล่อยน้ำลงไป เราต้องมีการพิจารณาชดเชยชาวบ้านเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการบริหารจัดการน้ำที่พูดมาแล้ว อันนี้ผมรู้ว่าข้างหน้าปัญหานี้ใหญ่มาก

พิธีกร : ถึงขนาดต้องสร้างประตูน้ำเพิ่ม เขื่อนเพิ่ม

นายกิจจาฯ : แน่นอนครับ อาคารต่าง ๆ suburb ต่าง ๆ อย่างเช่น ผมยกตัวอย่างง่าย ๆ น้ำยมท่วมทุกปี จังหวัดสุโขทัย จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดพิจิตร เดือดร้อนทุกปี หน้าแล้งก็แล้ง เพราะฉะนั้นทำอย่างไรก็ตาม เราสามารถทำให้เกิดความสมดุลในระหว่างแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน

นายกรัฐมนตรี : ใช่

พิธีกร : คือกายภาพโครงสร้าง อาคารอะไรใหม่ ๆ ที่เข้าไปจัดการตรงนี้ และในระบบบริหารจัดการ ละครับ ท่านในฐานะอธิบดีกกรมชลประทานเก่า

ท่านกิจจาฯ : ตอนนี้เรามีฟันหรออยู่อันหนึ่ง แม่น้ำยม ใช่ไหมครับ แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน เรามีครบหมด ปิง วัง น่าน แม่น้ำยมไม่มี เพราะฉะนั้นหน้าน้ำ น้ำเกือบ ๆ 3,000 ล้าน ไหลลงมาท่วม

พิธีกร : ที่ลงมาท่วมตอนนี้ที่เป็นบริเวณ ต้องบอกว่ายังท่วมอยู่หลายที่เหมือนกัน และดูทำท่าทำทาง ผมฟังท่านนายกรัฐมนตรีวันก่อนก็เหมือนกับว่าเป็นแก้มลิงแล้วละโดยธรรมชาติ หรือตรงนั้นอาจจะต้องเป็น flood way ในอนาคต ท่านกิจจาฯ มองเห็นว่ามันคงต้องเป็นอย่างนั้น เพราะบ้านที่ดูอยู่ต้องทำใจหรือเปล่าครับ

นายกิจจาฯ : ไม่ครับ คือเราก็ต้องมีมาตรการที่ช่วยเหลือเขา ไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจพอเพียง ทางด้านเกี่ยวกับการชดเชย ในกรณีที่น้ำท่วมเขาหรือเราเอาน้ำลงไปให้เขาช่วยเราเก็บเอาไว้บางส่วน

พิธีกร : ระบบบริหารจัดการจะยอมไหม กรมชลประทานจะยอมมามีศูนย์กลางทีเดียวกันไหมครับ นายกิจจาฯ: ผมคิดว่ากรมชลประทานเอง มีความประสงค์อย่างยิ่งที่จะบริหารจัดการน้ำของประเทศเราให้ดี อย่างแบบที่พูดกันมา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตบริหารจัดการเขื่อนใหญ่ พอเวลามีวิกฤตขึ้นมา ถึงแม้จะมีการประชุมมีการตกลงว่าจะปล่อยน้ำเท่านี้ ๆ แต่พอวิกฤตขึ้นมาถ้าเขื่อนจะเต็มการไฟฟ้าฯเขาก็ไม่ hold แล้ว

พิธีกร : เขาก็มีเงื่อนไขของเขา

นายกิจจาฯ : เพราะถ้าเรามีการบริหารจัดการที่เป็นเอกภาพอยู่ในศูนย์ใดศูนย์หนึ่ง เรามาวิเคราะห์ร่วมกันไม่ว่าจะเป็นในกรณีปกติ วิกฤต ทั้งน้ำท่วม ฝนแล้งใช้ได้หมด

พิธีกร : คำว่า flood way นี่พูดกันเยอะ ท่านนายกรัฐมนตรีก็เริ่มพูดคำว่า flood way จะเป็นอย่างไรครับ

นายกรัฐมนตรี : จริง ๆ ถ้าถามเชื่อว่าทุกท่านรู้อยู่แล้วว่า flood way แล้วน้ำจะผ่านทางไหน อย่างที่ท่านกิจจาฯ พูดว่าอย่างเรื่องของคนที่มีปัญหาตรงแม่น้ำยม ก็รู้อยู่แล้วว่าพื้นที่ไหนเจอน้ำซ้ำ ๆ ทุกปี ซึ่งแนวโน้มตรงนี้ค่ะที่เราจะเอา คือเราไม่อยากจะใช้คำว่าฟื้นธรรมชาติของน้ำใช่ไหมค่ะ เพราะว่าธรรมชาติของน้ำเอง จากที่เราเห็นอยู่แล้วว่าเราจะพยายามที่จะสูบน้ำไปแต่ถ้าน้ำไม่ได้ไหลลงมาจากที่สูงลงที่ต่ำแน่นอนค่ะ น้ำก็ไม่ไป ฉะนั้นสิ่งนี้หลักคำว่า flood way คือว่าให้เป็นไปตามธรรมชาติของน้ำแล้วผ่านไหลทางตรงสู่ทะเลให้เร็วที่สุด แต่แน่นอนการตัดสินใจอย่างนี้ ก็ต้องมีสิ่งที่มีผลกระทบก็คือว่าต้องกลับไปดูในโครงสร้างของทางด้านผังเมือง หรือโครงสร้างของแนวต่าง ๆ ที่ถูกบล็อกน้ำไว้ว่าเราจะทำอย่างไร เราจะอ้อมผ่านหรือว่าจะทำอย่างไรให้แก้ปัญหานี้ได้ อันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งโจทย์ ที่เราเองต้องมาตัดสินใจ แต่ขณะนี้เราก็เลยต้องแบ่งงานเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เร่งด่วน เพื่อทำอย่างไรก็ได้ ฟื้นฟูสภาพเดิมให้เร็วที่สุด ซ่อมแซมแนวคันพระราชดำริ ให้ถาวรที่สุดเขื่อนที่ผังที่ผ่านมา อย่างเช่นประตูน้ำบางโฉมศรีต้องไม่เกิดอีก อย่างนี้เป็นต้น ที่ต้องทำให้ทันรับกับหน้าฝนปีหน้า ขณะเดียวกันของ ท่านกิจจาฯ ก็จะมาคิดต่ออีกทีว่าระยะยาวจากที่เราเห็นนี้ เราเก็บภาพถ่ายที่ผ่านมาจากศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยเราเก็บภาพถ่ายจากดาวเทียมทุกวัน นะคะ เรารู้หมดว่าจากที่ผ่านมาน้ำเป็นอย่างไร ดิฉันก็เชื่อว่าผู้รู้เรื่องน้ำทราบหมด แล้วเห็นที่ชัดอยู่ว่าสุดท้ายแล้วการตัดสินใจในพื้นที่รับน้ำต่าง ๆ เหล่านั้นจะมีมาตรการดูแลอย่างไร หรือปรับวิถีชีวิตของประชาชนที่อยู่บริเวณนั้นอย่างไร

พิธีกร : ผมเห็นอาจารย์วีรพงษ์ฯ เริ่มบวกเลข เดี๋ยวผมจะกับมาหาอาจารย์วีรพงษ์ฯ

นายกรัฐมนตรี : ค่ะ

พิธีกร : แต่ท่านปีติพงศ์ฯ ครับถ้าเกิดท่านซ่อม ๆ แล้วไปนี่ หรือจัดการให้น้ำอยู่ได้ 5 เดือน วันหนึ่งถ้าท่านกิจจาฯ จะมาบอกว่าตรงนี้คงไม่ได้ ต้องปล่อยเป็นให้ยาวขึ้นให้ยั่งยืนขึ้นมันจะเสียเวลาไปไหม

นายปีติพงศ์ฯ : ไม่เสียหรอกครับเพราะว่าถ้าคิดมูลค่าการลงทุนกับความเสียหายสัดส่วนมันจะต่างกันมาก ผมคิดว่าการลงทุนในอาคารชลประทาน 2-3 ปี ต้องปรับปรุงอยู่แล้ว ทุกปี

พิธีกร : อย่างไงก็ต้องทำอยู่แล้ว

นายปีติพงศ์ฯ : อย่างไรก็ต้องทำอยู่แล้วแต่ว่าส่วนที่

นายกิจจาฯ : ผมขออนุญาตนิดหนึ่ง เราทำแผนร่วมกัน

พิธีกร : เพราะฉะนั้นทางนี้ซ่อมจะทำอะไรทางนี้รู้อยู่แล้ว

นายกิจจาฯ : ครับเราทราบ เราจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์อย่างนี้

พิธีกร : เพราะอะไรที่จำเป็นต้องปล่อยก็ต้องปล่อยไปและเราทำยาวขึ้น

นายปีติพงศ์ฯ : ส่วนที่ผมเป็นห่วง ที่ต้องกราบเรียนท่านนายกรัฐมนตรีกับอาจารย์วีรพงษ์ฯ ไร่นาเสียหายจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งส่วนที่เป็นสวน เราเสียความหลากหลายทางชีวิภาพ เสียทั้งต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูก ในกรณีเช่นนี้ต่อไปพื้นที่มีความเสียหายอย่างต่อเนื่อง คือ เป็นพื้นที่ที่จะต้อง ปล่อยน้ำไป หรือว่าโดยธรรมชาติเป็นพื้นที่ที่น้ำจะท่วมมันต้องหากลไกทั้งระยะสั้นและระยะยาว ขณะนี้เราจะมองเรื่องชดเชยเป็นหลัก แต่ที่จริงแล้วระยะปานกลางหรือระยะยาวต้องหาวิธีที่จะให้คนเหล่านั้นสามารถมีชีวิตอยู่ได้ อย่างปกติสุขในลักษณะที่เขาอยู่กับธรรมชาติให้ได้ เป็นวิชาชีพของเขา เป็นวิถีชีวิตของเขา

นายกรัฐมนตรี : เป็นวิถีชีวิต

นายปิติพงศ์ฯ : ถ้าเราปล่อยให้เป็นอย่างนี้ไปนาน ๆ คงจะไม่ได้ ทางเราก็มีวิธีการอยู่หลายวิธีการซึ่งกำลังพิจารณากันอยู่ว่าจะทำอย่างไรต่อไป

พิธีกร : ตรงนี้อาจจะเกี่ยวข้องกับอาจารย์วีรพงษ์ฯ ด้วย เพราะว่าบางครั้งเราพูดถึงประเทศไทยจะเป็นอุตสาหกรรมและมีนิคมอุตสาหกรรมประเทศไทยจะเป็นพื้นที่เกษตร รอบนี้โดนทั้งพื้นเกษตรพื้นที่อุตสาหกรรม โครงสร้างประเทศที่ท่านมองสอดคล้องกันไหมครับ

ดร.วีรพงษ์ฯ : เราคงเป็นทั้ง 2 อย่าง เป็นทั้งเกษตรที่ทันสมัย ที่ได้เปรียบประเทศอื่น ๆ ในโลก เป็นฐานอุตสาหกรรมของโลกก็ต้องเป็น เป็นเหล่งท่องเที่ยวขายบริการต่าง ๆ เราก็ต้องทำ รวมทั้งการที่จะเป็นศูนย์การเงินของภูมิภาคก็เป็นความใฝ่ฝันที่เราอยากจะเป็น เป็น hub หรือเป็นศูนย์กลางการบินของโลกของภูมิภาค โลกต่อไปจะมาอยู่ที่เอเซีย ท่าเรือที่สะดวกสบาย อะไรต่ออะไร และก็น้ำไม่ท่วม ไม่มีภัยพิบัติต่าง ๆ อันนี้เป็นสิ่งที่อยู่ในวิสัยที่เราจะทำได้ เพราะเรามีฐานะที่ดีขึ้นมากแล้ว ไม่ใช่ประเทศที่ยากจนข้นแค้นอย่างสมัยก่อน และเรื่องน้ำคงจะไม่ใช้เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่มีปัญหา ถึงคิดว่าลุ่มน้ำอื่น ๆ เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำชี แม่น้ำมูล ทางภาคอีสารหรือทางภาคใต้ก็น้ำท่วมซ้ำซาก เขาอยู่ ผมคิดว่าต้องไปดูเขาด้วย นะครับ ทางภาคใต้ ได้ข่าวอยู่เป็นประจำ นี่ก็ท่วมหาดใหญ่อีกแล้ว อันนี้ก็จะต้องเตรียมการเพราะฉะนั้นหน้าที่ของผมคือในกรอบของวินัยการคลังที่แข็งแรงจะหาเงินหาทองมาให้ทั้ง 2 ท่านลงทุนอย่างไร ซึ่งผมรับปากกับทั้ง 2 ท่านแล้ว

พิธีกร : แล้วเดี๋ยวผมจะฝากให้คิดตัวเลข แต่ตอนนี้ขอถามเรื่อง นโยบายจากท่านนายกรัฐมนตรีอีกนิดหนึ่ง เนื่องจากในที่สุดฝ่ายการเมืองเป็นคนกำหนดทิศทางของประเทศ จะเป็นอย่างที่ท่านอาจารย์ วีรพงษ์ฯ ว่าไหม แล้วเราจะทำอย่างไรที่จะทำความเข้าใจ อย่างที่นายกรัฐมนตรีเคยบอกว่า ตรงนี้ flood way อาจจะเป็นพื้นที่เกษตร คนที่อยู่โรงงานอุตสาหกรรมจะทำอย่างไร และเขาจะต้องเปลี่ยนวิถีชีวิตไหม ทางการเมืองจะต้องตัดสินใจอย่างไร คิดอย่างไร ไว้บ้าง

นายกรัฐมนตรี : คือเรามีคิดไว้หลายทาง แต่จริง ๆ ก็ต้องเรียนว่าการทำงานทั้ง 2 ส่วน ทั้งของ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) กับ คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารการจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ถ้าถามและพูดง่าย ๆ คือเราจะต้องทำงานเชื่อมต่อกันตั้งแต่เริ่มต้น ถ้าถามดิฉันต้องแบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือคนใช้เงินกับคนหาเงินต้องทำงานให้สัมพันธ์กัน เพราะว่าใช้อย่างเดียวแต่เงินไม่สัมพันธ์กันก็ทำงานไม่ได้ ฉะนั้นท่อนนี้คือท่อนที่ต้องไปด้วยกันและที่สำคัญคือควบคู่ไปกับเศรษฐกิจและภาวะ และที่สำคัญไม่เสียวินัยการเงิน การคลัง นี่คือท่อนแรกที่ต้องวางแผนด้วยกัน ท่อนที่ 2 ต้องคุยกันในเรื่องของเป็นโครงสร้างหรือปัญหาทางด้านเทคนิคต่าง ๆ โครงสร้างพื้นฐานของประเทศ อย่างที่บอกว่าเราจะติดสินใจเรื่อง flood way หรือเปล่า เราจะสร้างเขื่อนหรือเปล่า เราจะทำแก้มลิงหรือเปล่า ตรงนี้ก็ต้องมาคุยกันทั้งในระยะป้องกันเร่งด่วนที่เราต้องทำภายใน 5-6 เดือนนี้ และที่สำคัญเพื่อให้เกิดความมั่นใจกับโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่วันนี้เจอโดยเฉพาะจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จะทำอย่างไรก็ต้องใช้ทางด้านของผู้เชี่ยวชาญทั้งต่างประเทศทั้งในประเทศนั้นมาช่วยกันออกแบบเพื่อให้เกิดความมั่นใจ อันนี้จะเป็นทางด้านของการลงทุนทางด้านของฝั่งเรียกว่าทางด้านพื้นฐานและเทคนิค

สุดท้ายเป็นของการเรื่องการบริหารจัดการ คือการบริหารการจัดการจะทำอย่างไร ก็กลับมาที่ท่านปิติพงศ์ฯ พูดว่า การบริหารจัดการระบบดีแล้ว เทคนิคดีแล้ว เชื่อมโยงในระบบน้ำทั้งหมด เห็นหมดแล้ว ติดCCTV แล้ว ข้อมูลทั้งหมดแล้ว บริหารจัดการจะทำอย่างไร การควบคุมจากศูนย์เดียวจะทำอย่างไร การรองรับวิกฤตอย่างไร และสุดท้ายแล้วก็จะทำให้ประเทศนั้นมีความมั่นใจ ก็กลับมาหาทางด้านเศรษฐกิจที่กลับมาให้ความมั่นใจ ถ้าระบบน้ำดี ต่าง ๆ ถ้าบริหารจัดการน้ำได้ เราก็คงจะบริหารจัดการโดยเฉพาะเรื่องของการเกษตรได้ เพราะวันนี้เราก็มีปัญหาว่าพอท่วมก็ท่วมเกินไปจนที่นาเสียหาย พอแล้งก็ไม่มีน้ำที่จะทำการเกษตร อย่างวันนี้เราทำการเกษตรได้ 1 ปี ไม่กี่ครั้ง เพราะว่ามีปัญหาเรื่องน้ำ ถ้าเราทำงานตรงนี้เราบริหารจัดการดี ดิฉันก็เชื่อว่าทางด้านของพืชผลผลิตทางการเกษตรก็จะดีขึ้น ขณะเดียวกันถ้าจะเชื่อมเรื่องเขื่อนเรื่องไฟฟ้า เราก็ต้องคุยกันเรื่องการกักเก็บน้ำในการผลิตกระแสไฟฟ้าต่าง ๆเหล่านี้ เราต้องมาวางแผนทำงานด้วยกัน

พิธีกร : ฟังดูแล้วเป็นทั้งระบบ ต้องทำให้ครบเลย วันก่อนท่านนายกรัฐมนตรีรับรองประธานาธิบดีจีน บอกจะมีทางรถไฟ ก็ต้องมาดูด้วยเหมือนกันใช่ไหม ครับ

นายกรัฐมนตรี : ก็ต้องดูค่ะ ดูในแง่ของโครงสร้างมากกว่าว่าถ้าเราตั้งในลักษณะของ flood way เป็นหลักแล้วค่อยมาตัดสินใจว่าถ้าเกิดจะสร้างทางรถไฟว่า จะบล็อกทาง flood way หรือเปล่า ถ้าบล็อกก็อาจจะต้องไปดูทางด้านเทคนิคต่อว่า จะอย่างไรให้น้ำผ่านได้ ไม่ได้บอกว่าไม่ให้สร้าง ดังนั้นสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ก็คงเป็นสิ่งที่ผู้ที่เชี่ยวชาญเท่านั้นที่จะต้องมาวางแผน master plan กัน แต่แน่นอน flood way คงต้องออกมาก่อน ซึ่งเชื่อว่าทั้ง 2 ท่าน นี้ได้เตรียมแล้วก็จะเร่งออกมาในเร็ววันนี้

พิธีกร : ท่านอาจารย์วีรพงษ์ฯ มองพื้นที่ประเทศไทยแล้วเห็นอย่างท่านนายกรัฐมนตรีไหมครับ ว่าถนนหนทางจะเป็นอย่างไร

ดร.วีรพงษ์ฯ : ไม่ได้มองเฉพาะประเทศไทยมองทั้งภูมิภาคเลย ว่าเราจะใช้ประโยชน์อย่างไร ถ้าเผื่อว่าเรายกมาตรฐานของโครงสร้างพื้นฐานของเราให้ทันสมัยรับกับเทคโนโลยีสมัยใหม่น้ำพิบัติภัยต่าง ๆ สามารถควบคุมได้ เงินทุกก็จะหลั่งไหลมาลงทุนในประเทศไทย หนี้จากใหญ่ ต่อ GDP ก็จะเล็กหน่อย เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่เราต้องช่วยกันทำงาน

พิธีกร : วันก่อนท่านนายกรัฐมนตรีไปประชุมเรื่องลุ่มแม่น้ำโขง เขาพูดเรื่องนี้กันไหมครับ

นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ ก็ประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มแม่น้ำโขง มี 6 ประเทศ ก็พูดกัน จริง ๆ แล้วทั้งทางด้านของประเทศในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง คือเนื่องจากมีแม่น้ำเชื่อมต่อกัน ถ้าประเทศใดประเทศหนึ่งทำไว้ดี แต่น้ำยังทะลักเข้าอีกที่หนึ่ง ก็แน่นอนกลับมาเป็นปัญหา ซึ่งนี่ก็ยังเป็นปัญหาอีกอันที่เรายังไม่ได้คุยกัน เราคุยแต่ในประเทศไทย ดังนั้นตรงนี้ก็ถือว่าเป็นวาระทางด้านของประเทศในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงทั้งหมดก็ถือว่าตรงนี้เป็นภัยพิบัติ เพราะว่าประเทศเพื่อนบ้านก็เกิดขึ้น ถือว่าเป็นวาระที่จะต้องมาหารือร่วมกัน แม้กระทั่งการประชุมสุดยอดผู้นำที่อาเซียน อาเซียนก็มีการพูดถึงเรื่องนี้การทำงานที่สัมพันธ์กัน

พิธีกร : ท่านนายกรัฐมนตรีจะเชิญประเทศต่าง ๆ มานั่งคุยกันสักวันไหม ครับ ปีหน้า

นายกรัฐมนตรี : เรามีแผนงานที่จะเชิญแต่ละประเทศเข้ามาเพราะว่าสิ่งนี้ประเทศไทยก็ได้นำประเด็นนี้ไปหารือในเวทีอาเซียนและกลายเป็นวาระของอาเซียนแล้ว คงจะจัด forum นี้ ในการที่เชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องน้ำทั้งหมดมาให้คำแนะนำและรวมถึงการวางแผนร่วมกัน กับประเทศเพื่อนบ้านด้วยค่ะ

พิธีกร : โลกเปลี่ยนไปเยอะ ท่านปีติพงศ์ฯ ญี่ปุ่นก็โดนสึนามิ ประเทศฟิลิปปินส์ก็โดนน้ำท่วมดินถล่มไปเราจัดการรอบนี้ เราคิดว่าเราจะสามารถดูแลป้องกันอุทกภัยและอื่น ๆได้ มากน้อยเพียงไหน หรือเราจะต้องทำตัวอย่างไร

นายปีติพงศ์ฯ : หลักเรื่องพวกนี้แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนหนึ่งคือลดผลกระทบ สิ่งที่เรากำลังทำปีนี้คือลดผลกระทบ ขั้นที่ 2 คือ การป้องกัน ซึ่งค่อนข้างจะเด็ดขาด ซึ่งอันนั้นก็จะเป็นการลงทุนอีกลักษณะหนึ่ง อาจจะเป็นระยะปานกลาง ท้ายที่สุดผมไม่ค่อยจะเชื่อมนุษย์จะสู่ธรรมชาติได้ แต่ต้องปรับตัวเอง วิถีความเป็นอยู่ที่ดี การเพาะปลูกก็ดี สมมุติว่าแสงเปลี่ยนเวลา ท่านคิดดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ต้นไม้ที่ควรจะออกดอกเวลานี้ก็ไม่ออก เรื่องพวกนี้ในระยะยาวต้องทำงานวิจัยและมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมการ เพราะว่าเรื่องโลกร้อน เมื่อก่อนผมไม่ค่อยเชื่อแต่ว่าระยะหลัง ๆ ผมรู้สึกว่าเริ่มจะมีสิ่งที่มีผลกับชีวิตของพวกเรามากขึ้น

พิธีกร : เห็นท่านกิจจาฯ ก็พูดถึงวิถีชีวิตการใช้เศรษฐกิจพอเพียงสิ่งเหล่านี้เราก็คงต้องปรับตัวของเราด้วย ใช้เวลานานไหมครับ

นายกิจจาฯ : ผมว่าไม่นานนะครับ เพราะว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานให้ขยายกว้างมาก และที่ผมอยากพูดก็คือ ในกรณีน้ำมาทางด้านเหนือถ้าสามารถลดปริมาณลงได้ อย่างเช่นน้ำมา 5,000-6,000 ลูกบาศก์เมตร ถ้าเราสามารถแบ่งออกไปสัก 2,000 ลูกบาศก์เมตร มาแค่ 3,000 ลูกบาศก์เมตร ไม่มีปัญหา

พิธีกร: น่าจะทำได้ ระหว่างนี้ผมก็ให้ท่านคิดเลข ท่านมีตัวเลขในใจบ้างหรือยัง ท่านอาจารย์วีรพงษ์ฯ หรือจะต้องฟังจากทั้ง 2 ฝ่ายนี้ก่อน

ดร.วีรพงษ์ฯ : ผมเตรียมไว้เบื้องต้นประมาณ 350,000 ล้านบาท อาจจะตั้งกองทุนแบบเดียวกับไทยเข้มแข็ง ซึ่งรัฐบาลที่แล้วท่านทำไว้เป็นตัวอย่างที่ดีแล้ว ซึ่งกำลังจะหมดอายุไปแล้ว อันนี้ก็อาจจะไม่เหมือนกันนะครับ

พิธีกร : วัตถุประสงค์แตกต่างกันหรือเปล่าครับ

ดร.วีรพงษ์ฯ : วัตถุประสงค์คนละเรื่อง แต่ว่าเคยทำมาแล้วไม่ใช่ไม่เคยทำ

พิธีกร : เพราะฉะนั้นก็มีมาตรในการทำ financing มาแล้ว อาจไม่ใช้มาตรฐานแต่เป็นตัวอย่างที่ทำได้

ดร.วีรพงษ์ฯ : มีตัวอย่างที่ทำมาแล้ว ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้และยังอยู่ในกรอบวินัยการเงิน การคลังแน่นอน

พิธีกร : พอไหมครับทั้ง 2 ท่าน

นายปีติพงศ์ฯ : ในระยะสั้นพออยู่แล้วเพราะว่าเราคำนวณรอบแรกประมาณ 13,000 ล้านบาท 2 ปี 2555-2556

พิธีกร : เพราะฉะนั้น ตอนนี้น่าจะพอ

นายปีติพงศ์ฯ : ครับ

พิธีกร : ระยะยาวขึ้นมา

นายกิจจาฯ : ระยะยาวขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอาขั้นไหน แค่ไหน นะครับ

พิธีกร : เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็ต้องกลับมาที่คณะรัฐมนตรีท่านนายกรัฐมนตรี ต้องมีทางเลือกจะพอไหมครับ

นายกิจจาฯ : พอนะครับ

พิธีกร : อาจารย์วีรพงษ์ฯ เหลือแล้วค่อยว่ากันว่าจะเอาไปทำอะไร

ดร.วีรพงษ์ฯ : เหลือแล้วคือคลังไป

พิธีกร : อันนี้เกี่ยวข้องกับท่านอาจารย์วีรพงษ์ฯ ด้วยก็คือว่าถ้าเกิดเราต้องปรับโครงสร้างอย่างที่ท่านนายกรัฐมนตรีพูดทั้งโลจิสติกส์ หรืออะไร ก็ต้องมีการลงทุนเพิ่มจากน้ำขึ้นมาด้วยใช่ไหมครับ ใน 300,000 ล้านบาท

ดร.วีรพงษ์ฯ : ไม่ใช่เฉพาะการลงทุนในเรื่องจัดการบริหารทรัพยากรน้ำ ผมมองอนาคตที่โครงสร้างพื้นฐานเรามาตรฐานจะต้องสูงกว่านี้มีเพียงพอกว่านี้ เพื่อรอรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้ด้วย เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันให้ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศที่หน้าลงทุนต่อไป

พิธีกร : คือใช่วิกฤตตรงนี้เป็นโอกาส สร้างใหม่เลย

ดร.วีรพงษ์ฯ : สร้างเพิ่มเติม สร้างอะไรต่ออะไรใหม่หมดครับ ซึ่งเราอยู่ในฐานะที่จะทำได้แล้ว แต่เราลืมที่จะทำไปหลายปี เพราะฉะนั้นเที่ยวนี้น้ำมากระตุ้นให้เราคิดทำ

พิธีกร : ต้องกลับไปทำการบ้าน

ดร.วีรพงษ์ฯ : ท่านนายกรัฐมนตรีต้องทำการบ้านมากกว่าผม

นายกรัฐมนตรี : ทุกท่านต้องทำการบ้านด้วยกันค่ะ

พิธีกร : ปีหน้า ท่านนายกรัฐมนตรีมีแผนจะเดินทางเยือนไปหลายประเทศ ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งนั้นเลย ประเทศจีน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศเกาหลี อีกหลายประเทศ รวมทั้งยุโรปและอาจจะเป็นอเมริกาด้วย ท่านมั่นใจไหม ฟังตอนนี้ ฟังจาก 3 ท่าน ท่านมั่นใจหรือไม่ว่าตรงนี้เพียงพอที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้นำในโลก

นายกรัฐมนตรี : ดิฉันเชื่อว่าถ้าหลังจากแผนออกมา เสร็จแล้วเราจะประกาศให้ทราบว่า Flood way ต่าง ๆ หรือพื้นที่ต่าง ๆ ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร ดิฉันก็มีความเชื่อมั่นค่ะ เพราะขณะวันนี้เองเราก็เห็นที่ทางอาจารย์วีรพงษ์ฯ ก็ได้กรุณาไปคุยกับแต่ละประเทศ เบื้องต้นเขาก็รู้สึกสบายใจ แต่ถ้าได้เห็นแผนชัดเจนขึ้นระบบประกันภัยมีความมั่นใจขึ้น ก็เชื่อว่าทุกอย่างความมั่นใจจะคืนมาค่ะ

พิธีกร : อาจารย์วีรพงษ์ฯ พอคุยระดับ investor อาจารย์ก็น่าจะไปได้

ดร.วีรพงษ์ฯ : เขาสบายใจขึ้นมาก แล้วก็ทางนิคมอุตสาหกรรมที่จมน้ำ เขาอยากจะขอมาตรการเขื่อนที่สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กับ JICA จะออกให้ ผมก็จะได้ปล่อยสินเชื่อให้เขาได้ เขาก็จะได้ทำให้เสร็จก่อนหน้าน้ำหลากนี้ และอีกอย่างหนึ่งที่ผมอยากฝากไว้สำคัญมาก คืออยากให้มีการซ้อมใหญ่ทุกปี ก่อนหน้าน้ำมา เราซ้อมใหญ่ ท่วมไม่ท่วมซ้อมไว้ก่อน ว่าเครื่องสูบน้ำมีไหม คนมีไหม เงินมีไหม ไม่ท่วมก็แล้วไป

พิธีกร : ครับ ผมจำได้หลังสึนามิครั้งที่แล้ว ท่านอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จับทุกคนซ้อมหนีสึนามิ ต้องถึงขนาดนั้นหรือไม่ท่านนายกรัฐมนตรี

นายกรัฐมนตรี : วันนี้ก็ควรนะคะ เพราะว่าถ้ามีน้ำท่วมอย่างน้อยแผนในพื้นที่ต้องมีว่า ถ้าน้ำท่วมบริเวณนี้แล้วจะอพยพไปอยู่ไหน เพราะบางทีถ้าเราไม่รู้ว่าพื้นที่สภาพภูมิประเทศ ที่นี่เป็นที่ลุ่มต่ำหรือที่สูง เราไปอยู่ไปถึงเวลาท่วมก็มีปัญหา ดังนั้นต้องถึงเวลาและที่สำคัญที่ผ่านมานั้นเราก็ยังไม่มีโอกาสมาตรวจเช็คสภาพความพร้อมของทั้งเรื่องเปิด-ปิดประตูระบายน้ำ หรือเครื่องสูบน้ำต่าง ๆ คิดว่าถึงเวลาแล้วที่ควรจะซ้อมและก็เตรียมการให้ทุกอย่างนั้นอยู่ในสภาพดี วันนี้ต้องเรียนว่า ถ้าไม่มีโครงการพระราชดำริ ถ้าไม่มีคันพระราชดำริ ดิฉันเชื่อว่าปัญหาหนักกว่านี้ค่ะ

ดร.วีรพงษ์ฯ : ซ้อมใหญ่ผมคิดว่าประมาณเดือนสิงหาคมของทุกปี น่าจะมีการซ้อมใหญ่ และท่านนายกรัฐมนตรี ก็จะต้องเป็นหัวหน้า

พิธีกร : เป่านกหวีด ทีนี้พอพูดถึงเวลา เมื่อสักครู่เราพูดถึงหลักการ ผมว่าค่อนข้างชัดเจน แต่ก็ยังมีอีกขั้นหนึ่งคือแผนที่จะออกมาชัดเจนเป็นรายลักษณ์อักษรทุกคนได้เห็น ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ จะกี่ภาษาแล้วแต่อาจารย์วีรพงษ์ฯ ท่านนายกรัฐมนตรี คาดหวังว่าแผนนี้จะเสร็จเมื่อไหร่

นายกรัฐมนตรี : อนุญาตฟันธงค่ะ ไม่เกินเดือนหน้า

พิธีกร : อันนี้มอบหมายกันทางทีวีเลยนะ

นายกรัฐมนตรี : มอบหมายกันทางทีวี จริง ๆ ทุกท่านบอกว่าเรียบร้อยแล้วค่ะ

นายปีติพงศ์ฯ : เราจะเสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำ (กยน.) วันจันทร์นี้

พิธีกร : เพราะฉะนั้นวันจันทร์นี้ ก็จะเห็นชัดขึ้น และของท่านอาจารย์วีรพงษ์ฯ

นายกรัฐมนตรี : ใช่ค่ะ 

ดร.วีรพงษ์ฯ : เรื่องการเงินต่าง ๆ ผมขอให้ท่านนายกรัฐมนตรีนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันอังคารนี้ เพื่อขอหลักการให้เลขาธิการกฤษฎีกาได้ยกร่างกฎหมายต่าง ๆ ที่จะเคลียร์ในเรื่องการเงิน หนี้สินของประเทศและจะได้วางแผนในเรื่องของการเงิน ไม่ช้าครับ ผมเป็นคนใจร้อนอยู่แล้ว

พิธีกร : ท่านนายกรัฐมนตรีครับ คำถามสุดท้ายแผนนี้จะได้เป็นของขวัญปีใหม่ให้กับคนไทยไหม และ ก่อนที่จะไปมอบของขวัญท่านนายกรัฐมนตรี เองก็ต้องพอใจ ท่านนายกรัฐมนตรี ฟังขณะนี้ท่านพอใจแค่ไหนครับ

นายกรัฐมนตรี : จริง ๆ แล้ว ดิฉันฟังแผนในรายละเอียดมากกว่านี้แล้ว เรียนว่ามั่นใจค่ะ และอยากจะให้เห็นแผนนี้ออกมาเร็ว ๆ ดิฉันใจร้อนค่ะ เพราะว่าเห็นพี่น้องประชาชนก็ตั้งตารอ และที่สำคัญความเชื่อมั่นเรื่องของการมั่นใจกับฝันร้ายที่เกิดขึ้นในปีนี้ ก็อยากเห็นเป็นของขวัญปีใหม่สำหรับพี่น้องประชาชนคนไทยค่ะ ขอฝากความหวังกับทุกท่านนะคะ และเราเองแน่นอนค่ะ ต้นปีมีให้กับพี่น้องประชาชนแน่นอน เพื่อให้เกิดความมั่นใจ ทั้งในแง่ของขวัญกำลังที่เราจะต้องได้รับสำหรับปีใหม่ที่จะถึงนี้และที่สำคัญความเชื่อมั่นของนักลงทุนต้องกลับคืนมาค่ะ

พิธีกร : วันนี้ผมคิดว่าชัดเจนนะครับ ต้องขอบพระคุณท่านนายกรัฐมนตรี ท่านอาจารย์วีรพงษ์ รามางกูร ท่านปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา และท่านกิจจา ผลภาษี ต้องขอบพระคุณทั้ง 4 ท่าน ครับ

นายกรัฐมนตรี : ขอบคุณค่ะ

พิธีกร: ครับวันนี้ต้องขอขอบพระคุณผู้ชมที่ติดตามรายการมาอย่างต่อเนื่อง นะครับ รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชนก็จะพบกับท่านผู้ชมทุกวันเสาร์ เวลาเดียวกันนี้ วันนี้เราทั้ง 5 คน ขอลาท่านผู้ชมไปก่อนครับ สวัสดีครับ
  · 
 

รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบปร ะชาชน ครั้งที่ 12 (17/12/2011)


นายกรัฐมนตรีเดินทางมาออกรา ยการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน " ที่ตลาดวโรรส จังหวัดเชียงใหม่ ย้ำรัฐบาลกับกองทัพมีหน้าที ่ดูแลบรรเทาทุกข์ของพี่น้อง ประชาชน พร้อมขอบคุณทุกหน่วยงานร่วม กันปราบปรามยาเสพติด

วันนี้ (17 ธ.ค.54) เวลา 08.05 น. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เดินทางมาออกรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน " ครั้งที่ 12 ที่ตลาดวโรรส จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งออกอากาศทางสถานีวิทยุโ ทรทัศน์แห่งประเทศไทยและสถา นีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเ ทศ โดยมีนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่ างประเทศ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงก ารคลัง และคณะ ร่วมเดินทางมาออกรายการด้วย  นอกจากนี้ ยังมีประชาชนชาวเชียงใหม่มา รอต้อนรับนายกรัฐมนตรีเป็นจ ำนวนมาก ทำให้บรรยากาศที่ตลาดวโรรสเ ป็นไปอย่างคึกคัก พร้อมกันนี้ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ ได้ทำหน้าที่เป็นผู้สัมภาษณ ์นายกรัฐมนตรีตลอดรายการ 

ช่วงที่ 1

(นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ) สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์พบประชาชน " วันนี้เป็นครั้งแรกที่รายกา รนี้เป็นรายการสด เพราะผมยืนอยู่ที่นี่ครับ บ้านเกิดของท่านนายกรัฐมนตร ียิ่งลักษณ์ จังหวัดเชียงใหม่ และผมยืนอยู่หน้าตลาดวโรรส ซึ่งนายกฯ ยิ่งลักษณ์ อีกไม่กี่นาทีจะเดินทางมาถึ งพบกับพี่น้องประชาชนที่นี่ พร้อมให้สัมภาษณ์ เพื่อที่จะเป็นการออกรายการ ครั้งแรกครั้งนี้ ในฐานะนายกรัฐมนตรีอย่างเป็ นทางการ แต่ก่อนที่จะพบกับท่านนายกฯ  ยิ่งลักษณ์นั้น พบกับ VTR การช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ที่เขตดอนเมืองครับ 

นายสุรนันทน์ สวัสดีครับท่านนายกฯ ครับ

นายกรัฐมนตรี สวัสดีค่ะ

นายสุรนันทน์ ท่านนายกฯ มาพร้อมกับท่านสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่ างประเทศ และท่านบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงก ารคลัง ทั้ง 2 คนนี้เป็น ส.ส. เชียงใหม่ และมาพร้อมกับท่านนายกเทศมน ตรี และท่านผู้ว่าราชการจังหวัด เชียงใหม่ สวัสดีครับ .....(สัญญาณเสียงขาดหาย).. ........

นายกรัฐมนตรี ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ คุณสุรนันทน์ ที่แวะมาวันนี้ ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ของการจัดรายการรัฐบาลยิ่งล ักษณ์พบประชาชน วันเสาร์นี้คงมีอะไรเกี่ยวก ับ........ให้พี่น้องประชาช นได้ทราบบ้าง เดี๋ยวลองเดินไปนะคะ

นายสุรนันทน์ ครับ

นายกรัฐมนตรี ที่นี่เป็นตลาดวโรรส เป็นตลาดที่ดิฉันได้มาคุ้นเ คยตั้งแต่เด็ก แล้วรวมถึงว่าตลาดที่นี่เป็ นศูนย์กลางของนักท่องเที่ยว ที่มาจังหวัดเชียงใหม่ด้วยว ่า ไปไหนจะซื้อกับข้าวหรือซื้อ อะไรต้องมาที่นี่ ต้องมาถึงเชียงใหม่แล้ว

นายสุรนันทน์ มาทีไรผมก็มาที่นี่

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ .

นายสุรนันทน์ ท่านนายกรัฐมนตรีครับ เป็นครั้งแรกตั้งแต่ท่านนาย กรัฐมนตรีรับตำแหน่ง ได้กลับมาเชียงใหม่บ้างไหมค รับ

นายกรัฐมนตรี ก็ได้กลับมาบ้าง แต่ว่าหลังจากที่ได้มีการแถ ลงนโยบายต่อรัฐสภาอย่างเป็น ทางการ ก็ถือว่าครั้งนี้เป็นครั้งแ รก

นายสุรนันทน์ ก็แสดงว่าเป็นครั้งแรกที่เป ็นนายกรัฐมนตรีอย่างเป็นทาง การเลย

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ ได้ถือโอกาสมาบ้านเกิด และวันนี้มีภารกิจด้วย มาอย่างเป็นทางการ

นายสุรนันทน์ คิดถึงบ้านไหมครับ

นายกรัฐมนตรี คิดถึงบ้านค่ะ ก็คิดถึงคนเชียงใหม่ด้วยกัน  กลับมาแล้วเจอคนเก่า ๆ ก็รู้สึกมีความสุข ตลาดที่นี่มีทั้งของแห้งของ สด มีทั้งกับข้าวด้วย

นายสุรนันทน์ หลากหลายเลย

นายกรัฐมนตรี ค่ะ หลากหลายเลย

นายสุรนันทน์ อะไรอร่อยบ้างครับแถวนี้

นายกรัฐมนตรี หลายอย่างเลยค่ะ ต้องอยู่ที่ว่าชอบทานอะไร

นายสุรนันทน์ ผมทำรายการอาหารอยู่แล้ว

นายกรัฐมนตรี ถ้าอาหารเหนือที่ขึ้นชื่อก็ มี ไส้อั่ว น้ำพริกหนุ่ม แคปหมู และส่วนใหญ่เป็นของที่ส่วนใ หญ่คนกรุงเทพฯ ทั้งไทยทั้งต่างประเทศก็จะซ ื้อเป็นของแห้งกลับไป

นายสุรนันทน์ ท่านนายกฯ เป็นนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบได้กินอาหารเหนือ บ้างไหม

นายกรัฐมนตรี ไม่ค่อยเลยค่ะ ลำไยแห้งก็เป็นสิ่งหนึ่งของ ผลิตภัณฑ์ ที่จริง ๆ ลำไยทางเชียงใหม่มีมาก และเริ่มมีการปรับ ซึ่งวันนี้เขาพัฒนาไปมาก มีลำไยแห้งเป็นห่อเป็นอะไรอ ีกมาก

นายกรัฐมนตรี มีกาละแมด้วยค่ะ คุณสุรนันทน์ชอบทานอะไรไหมค ่ะ

นายสุรนันทน์ ผมไส้อั่วประจำอยู่แล้ว น้ำพริกหนุ่ม และไม่อยากบอกว่าแคปหมู

นายกรัฐมนตรี แคปหมูมีหลายแบบนะคะ มีทั้งไร้มัน มีทั้งใส่เครื่องปรุง มีแคปหมูธรรมดา และมีแหนม

นายสุรนันทน์ อย่างนี้เรียกว่าอร่อยเลย

ประชาชน ผมขอให้นายกรัฐมนตรีเป็นหนึ ่งของคนเชียงใหม่ ขอให้นายกรัฐมนตรีมีสุขภาพแ ข็งแรง

นายกรัฐมนตรี ขอบคุณค่ะ

นายสุรนันทน์ ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีเชียงใ หม่คนที่สองใช่ไหมครับ คนแรกก็คือพี่ชายท่านเอง พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ ถือว่าเป็นคนที่สองค่ะ

นายสุรนันทน์ ในตระกูลเดียวกันด้วย

นายกรัฐมนตรี ถือว่าพี่น้องประชาชนทั้งปร ะเทศ ต้องขอขอบคุณที่ให้โอกาสคนท างเหนือได้มาทำงานทำหน้าที่ ในการรับใช้พี่น้องประชาชน

นายกรัฐมนตรี เราจะเดินไปดูซุ้มอาหารไหมค ่ะ

นายสุรนันทน์ ครับ ถ้าเดินเข้าไปได้ หนาแน่น อบอุ่นจริง ๆ ครับ

นายกรัฐมนตรี ดูแล้วก็อดไม่ได้ ส่วนใหญ่ก็เป็นของโปรดทั้งน ั้น ไส้อั่ว ส่วนใหญ่ก็มีหลายแบบ อันนี้จะเป็นแหนม แต่ว่าส่วนใหญ่แล้วบางคนจะห ่วงสุขภาพ จะเป็นแหนมที่ทอดแล้ว แต่เดี๋ยวนี้ก็มีเทคโนโลยีท ันสมัยที่เป็นแหนมที่ทานแล้ วปลอดภัย

นายสุรนันทน์ อาหารไทยส่งออกเมืองนอกมากป ัจจุบันนี้

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ ก็เป็นอีกนโยบายหนึ่งเหมือน กันที่เราอยากให้ครัวไทยสู่ ครัวโลก และนำอาหารต่าง ๆ ส่งออก เพราะวันนี้เทคโนโลยีต่าง ๆ ในเรื่องของการปรุงอาหารต่า ง ๆ และสินค้าพื้นบ้านมีมาก และหลายประเทศสนใจ เรายังขาดเรื่องของการดูแล เรื่องของรูปแบบ packaging การถนอมอาหารต่าง ๆ ซึ่งถ้าเราไปเสริมในส่วนตรง นี้เพิ่มขึ้นจะทำให้อาหารไท ยส่งออกได้มากกว่านี้

นายสุรนันทน์ เวลาท่านนายกฯ ไปต่างประเทศต้องขนไปบ้างไห มครับ

นายกรัฐมนตรี ขนไปค่ะ เดี๋ยวนี้น้ำพริกหนุ่มก็จะเ ป็นรูปแบบใหม่ เมื่อก่อนจะเอาไปค่อนข้างลำ บาก เดี๋ยวนี้จะเริ่มมีเป็นกระป ๋อง อย่างแคปหมูเดี๋ยวนี้สามารถ เอาไปเข้าไมโครเวฟเหมือนป๊อ ปคอร์น และก็อุ่นออกมาได้ อันนี้เป็นอะไรที่น่าทึ่ง และเราได้มีโอกาสมาชื่นชมฝี มือของคนไทย

นายสุรนันทน์ เมื่อคืนท่านนายกฯ ไปงานพืชสวนโลกมาด้วย เป็นอย่างไรบ้าง

นายกรัฐมนตรี ดีค่ะ พืชสวนโลก จริง ๆ แล้วเปิดให้เข้าชม แต่ว่าจะเปิดอย่างเป็นทางกา รในเดือนหน้า วันที่ 15 มกราคม ไปแล้วน่าสนใจค่ะ ก็อยากถือโอกาสนี้เชิญชวนด้ วยค่ะ เชิญชวนพี่น้องประชาชนมาชมง านพืชสวนโลก ซึ่งพืชสวนโลกเอง วันนี้ต้องมีการปรับปรุงใหม ่ หลังจากที่มีบรรยากาศต่าง ๆ หน้าหนาว วันนี้อากาศดีมาก เมื่อคืนไปต้องใส่แจ๊คเก็ตบ าง ๆ

นายสุรนันทน์ มีข่าวว่าขึ้นชิงช้าสวรรค์ 2 รอบ คิดถึงความเป็นเด็กหรือ

นายกรัฐมนตรี ไม่ค่ะ แต่ว่าขึ้นไป ก็เป็นโอกาสที่เราได้เห็นภา พรวมของพืชสวนโลกที่ค่อนข้า งมาก ซึ่งปีนี้ก็มีพิเศษมาก คุณสุรนันทน์มีโอกาสต้องแวะ ไป

นายสุรนันทน์ ครับ มีโอกาสแล้วจะไป ก่อนไปท่านไปชมเรื่องหม่อนไ หมด้วย

นายกรัฐมนตรี ค่ะ ถ้ากลับมาตรงที่พืชสวนโลก ปีนี้จะมีการรวมของการตกแต่ งสถานที่ต่าง ๆ จากทั้งหมด 33 ประเทศ มีน่าสนใจ และมีหอคำที่เป็นเอกลักษณ์ น่าจะไปชื่นชม เดี๋ยวนี้มีการเพิ่มแผงไฟตา มรอบต้นไม้ต่าง ๆ และเล่นประกอบกับเพลง ทำให้เห็นบรรยากาศ และมีขบวน Electric parade ด้วย

นายสุรนันทน์ เดี๋ยวผมจะให้ท่านนายกฯ ได้พบปะกับประชาชน เราพักกันสักครู่ และเราจะไปนั่งคุยกันต่อ ดีไหมครับ

นายกรัฐมนตรี ดีค่ะ

ช่วงที่ 2 

นายสุรนันทน์ ครับตอนนี้ผมนั่งอยู่กับท่า นนายกฯ ยิ่งลักษณ์ และคณะแล้วครับ อาหารอยู่หน้าโต๊ะท่านนายกฯ  ไม่รู้จะได้ชิมหรือเปล่า แต่ว่าเราคุยกันก่อน

นายกรัฐมนตรี เราคุยกันก่อน

นายสุรนันทน์ ต้องอดใจใช่ไหมครับ ท่านนายกฯ ครับจริง ๆ แล้วมาเชียงใหม่เที่ยวนี้ท่ านนายกฯ มีภารกิจพิเศษด้วย เพราะว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้มีการประชุมเกี่ยวกับเรื ่องหม่อนไหม เป็นมาอย่างไรครับท่านนายกฯ

นายกรัฐมนตรี ต้องเรียนก่อนว่าหม่อนไหม จริง ๆ แล้วเดิมทีตั้งแต่สมัยพระบา ทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอ ยู่หัว จะมีกรมช่างไหม ต่อมาในปี 2552 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้ตั้งกรมห ม่อนไหม เพื่อเป็นการยกระดับสำหรับใ นเรื่องของการวิจัยและการพั ฒนา และโครงสร้างเกี่ยวกับเรื่อ งของเกษตร เพื่อที่จะมาวิจัยพัฒนาเรื่ องของผ้าไหม เพราะบางครั้งคุณภาพของผ้าไ หมเองถ้าไม่ได้คุณภาพก็จะทำ ให้คุณภาพตรงนี้เสียดายไป เพราะเป็นงานที่ว่าเป็นภูมิ ปัญญาของคนไทยโดยแท้ และเป็นเอกลักษณ์ของคนไทย ซึ่งกรมหม่อนไหมก็ได้ทำงานร ่วมกับทางศูนย์ศิลปาชีพด้วย

นายสุรนันทน์ แสดงว่าสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระองค์ท่านทรงมีพระกระแสรั บสั่งเรื่องนี้ และทรงมีพระวิสัยทัศน์ที่ชั ดเจน

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ งานนี้จะเป็นงานที่เรียกว่า หม่อนไหมโลก จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 22 และประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในง านนี้นะคะ สมเด็จพระเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จทอด พระเนตรในเรื่องของภูมิปัญญ าไทย ซึ่งเมื่อวานนี้ก็น่าสนใจที เดียว เพราะว่ามีนิทรรศการผ้าไหม และจะมีลายโบราณเยอะเลย เข้ามาถักทอ และวันนี้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ผู้ทอก็เปลี่ยนไปเยอะ ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่จะมาต ่อยอด อย่างโครงการพระราชดำริของส มเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชืนีนาถ ด้วย

นายสุรนันทน์ รัฐบาลมีแนวทางที่จะต่อยอดต รงนี้อย่างไรครับ ที่จะช่วยสานต่อ

นายกรัฐมนตรี เราคงจะมาสานต่อในส่วนของกา รที่จะส่งเสริมในเรื่องของส ินค้าพื้นบ้านต่าง ๆ เพราะว่าผ้าไหมมีหลายที่ เมื่อวานนี้ทางภาคอีสานก็มี  ภาคเหนือก็มี ที่ได้รับรางวัล อย่างเมื่อวานนี้จะเป็นการส ่งเสริมการประกวด และมีรางวัลร่วมกับนานาประเ ทศ สำหรับคนไทยก็คงจะเสริมในเร ื่องของการหาคุณภาพฝีมือและ ขยายผลต่อเพื่อให้เป็นเอกลั กษณ์ของคนไทยอย่างแท้จริง และให้เห็นว่างานศิลปะของคน ไทยนั้นเป็นอะไรที่น่าชื่นช มและยกย่อง ส่วนตัวดิฉันเองก็ผูกพันกับ ผ้าไหมมาอยู่แล้ว อยากจะเอาตรงนี้มาสานต่อร่ว มกับทางศูนย์ศิลปาชีพด้วยค่ ะ

นายสุรนันทน์ มีทั้งเรื่องอาหาร มีทั้งเรื่องไหม เรื่องเชียงใหม่แหล่งท่องเท ี่ยวเราพูดถึงเรื่องพืชสวนโ ลก ท่านในฐานะที่เป็นนายกฯ ที่มาจากเมืองเชียงใหม่ มีวิสัยทัศน์ที่จะทำอะไรให้ เชียงใหม่บ้างครับ

นายกรัฐมนตรี ถ้าคุณสุรนันทน์ดูจากเชียงใ หม่ ด้วยสภาพบรรยากาศต่าง ๆ นี้ ความเจริญก็มี รวมถึงผสมกับเรื่องของเสน่ห ์ของธรรมชาติ ซึ่งเชียงใหม่มีทั้งเขาและน ้ำตก ก็เป็นอะไรที่น่าสนใจสำหรับ นักท่องเที่ยว และขณะเดียวกันอาหารต่าง ๆ ก็มีเอกลักษณ์ ก็อยากเห็น เมืองเชียงใหม่เป็นอีกเมือง หนึ่งของเมืองท่องเที่ยว โดยเฉพาะช่วงของบรรยากาศปลา ยปีก็เป็นบรรยากาศที่ดีทีเด ียว ซึ่งน่าจะเป็นจุดหนึ่งในเรื ่องของการท่องเที่ยวทั้งในป ระเทศและต่างประเทศ นอกจากนั้นในเชียงใหม่เองจะ มีทั้งเรื่องในเรื่องของโคร งการพวกศิลปะ หัตถกรรมต่าง ๆ มีในเรื่องของร่ม งานฝีมือต่าง ๆ อันนี้ก็น่าสนใจ

นายสุรนันทน์ ชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ

นายสุรนันทน์ เห็นว่าท่านนายกฯ เองก็ตั้งใจจะกลับมาอีกตอนต ้นปี เป็นคณะรัฐมนตรีสัญจรครั้งแ รกเหมือนกัน

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ พอดีเดือนหน้าค่ะ เพราะว่าวันนี้จริง ๆ แล้วช่วงนี้จะเป็นการเหมือน กับ Soft Openning ของพืชสวนโลก จะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางกา ร

นายสุรนันทน์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จฯ ในช่วงนั้น

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จะเสด็จฯ ในช่วงนั้นช่วงกลางเดือนหน้ า มกราคม ก็จะถือโอกาสนี้เชิญคณะรัฐม นตรีมาประชุมคณะรัฐมนตรีสัญ จรเป็นครั้งแรก คงจะได้มีการมาศึกษาและดูใน เรื่องของภาพรวมของภาคเหนือ ทั้งหมด

นายสุรนันทน์ แต่อันนี้ก็ไม่ใช่เฉพาะภาคเ หนือใช่ไหมครับ อีกหน่อยจะมี ครม. สัญจรไปภูมิภาคอื่น ๆ เดี๋ยวภาคอื่น ๆ น้อยใจ

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ บังเอิญว่าเราเองก็มาทำภารก ิจด้วย และอยากให้ทางคณะรัฐมนตรีได ้มาเห็น และถือว่าเป็นการส่งเสริมกา รท่องเที่ยว เพราะช่วงนี้ก็อยากให้มีการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวเยอะ ๆ นะคะ

นายสุรนันทน์ ช่วงที่ท่านไม่ได้มา ติดภารกิจอะไรครับตอนนั้น

นายกรัฐมนตรี ตอนนั้นจริง ๆ แล้วอยากมามาก แต่ว่าหลังจากที่ได้มีการถว ายสัตย์ฯ ได้เริ่มเข้ามา ยังไม่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐส ภาก็น้ำท่วมแล้วค่ะ เลยต้องลงไปน้ำท่วม ยังต้องขอโทษคนเชียงใหม่ว่า ภารกิจจริง ๆ แล้วต้องมาขอบคุณพี่น้องชาว เชียงใหม่ด้วย ถือโอกาสนั้นไปเยี่ยมเยียนใ นจังหวัดอื่น ตอนนั้นไปทางภาคเหนือตอนล่า ง

นายสุรนันทน์ น้ำท่วมก็เห็นบทบาทท่านนายก ฯ ทางรัฐบาลที่ช่วยกันอยู่เยอ ะ ตอนนี้สถานการณ์เป็นอย่างไร แล้วครับ

นายกรัฐมนตรี โดยรวมดีขึ้นนะคะคุณสุรนันท น์ แต่ว่ายังมีบางพื้นที่ที่อา จจะยังมีน้ำท่วมขังบ้าง ซึ่งเราก็ได้มีการเร่งสูบอย ่างเช่น ทางกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตก และมีปทุมธานี นนทบุรี และนครปฐม ตอนนี้นครปฐมอาจจะยังน่าเป็ นห่วงอยู่ แต่จังหวัดอื่น ๆ ก็เริ่มลดแล้ว อย่างตามถนนเส้นทางก็ดีขึ้น  แต่อาจจะน้ำท่วมทุ่งบ้าง หรือตามหมู่บ้าน ซึ่งก็ได้มีการสั่งการขอให้ ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังห วัดในการเร่งสูบน้ำโดยเร็ว

นายสุรนันทน์ ประชาชนในพื้นที่ฝากบอกว่าอ ยากได้ของขวัญปีใหม่ อยากให้แห้งเลย เป็นไปได้แค่ไหนท่านนายกฯ

นายกรัฐมนตรี ดิฉันก็อยากจะให้น้ำลดเป็นข องขวัญปีใหม่ให้พี่น้องชาวไ ทยจริง ๆ โดยเฉพาะผู้ที่ประสบอุทกภัย น้ำท่วม เพราะว่าก็ทรมานมากค่ะเห็นแ ล้วค่ะ และเห็นใจและต้องกราบขอโทษพ ี่น้องประชาชนที่ยังดูแลไม่ ทั่วถึง เนื่องจากพอน้ำท่วมปัญหาต่า ง ๆ ก็ตามมาเยอะ เช่น ขยะ หรือว่าน้ำเน่า ขยะมูลฝอยต่าง ๆ ก็ต้องเร่งขอความร่วมมือจาก ทุกภาคส่วนพยายามเร่งรัดตรง นี้ค่ะ

นายสุรนันทน์ เห็นตอนต้นรายการเปิด VTR ที่ท่านนายกฯ ไปช่วยเยียวยา ฟื้นฟูตรงดอนเมือง พูดเรื่องขยะ พูดเรื่องสิ่งแวดล้อม ดู ๆ จะเป็นสิ่งที่อยู่ในใจท่านน ายกฯ มาก และคนกรุงเทพฯ ก็ยังห่วงขยะ ท่านเร่งอย่างไรครับตอนนี้

นายกรัฐมนตรี อย่างที่ไปนี้ดอนเมืองก็ถือ ว่าเป็นอีกพื้นที่หนึ่งของก รุงเทพมหานครที่หนัก แต่ว่าบังเอิญดอนเมืองจังหว ะที่ไปนั้นน้ำเริ่มลดค่ะ ก็ไปเห็นแล้วว่าขยะมูลฝอยเย อะมาก ถามว่าทำไมเยอะมากก็เพราะว่ าบางส่วนนี้เฟอร์นิเจอร์ต่า ง ๆ เสียหาย ตรงนี้ก็ได้ให้ทางกระทรวงที ่เกี่ยวข้อง ทางด้านของกระทรวงทรัพยากรธ รรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้ท่านรองนายกฯ ให้หารือร่วมกันกับกระทรวงม หาดไทย จะทำอย่างไรในการกำจัดขยะมู ลฝอย เพราะว่าวันนี้เราพยายามที่ จะย้ายขยะออกไป แต่ว่าเนื่องจากทุกพื้นที่น ้ำท่วม ก็ทำให้เรื่องของการทิ้งจะล ำบาก ต้องผลักไปนอกเมืองที่จะไปท ิ้ง ก็จะทำให้การทำงานนั้นช้า ถ้าเรามีวิธีการในการที่จะบ ำบัดหรือกำจัดขยะไปด้วยเลยก ็น่าจะเป็นสิ่งที่ดี

นายสุรนันทน์ ต้องช่วยกันคนละไม้ละมืออย่ างที่ท่านนายกฯ บอกว่าต้องช่วยกัน ทุกคนต้องช่วยกัน

นายกรัฐมนตรี ค่ะ อยากเห็นเดือนนี้เป็นเดือนข องการฟื้นฟูค่ะ เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภ ักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว เนื่องในวันมหามงคล 5 ธันวาคมนี้ด้วย จะได้ช่วยกันทำงานทั้งเมือง  และสุดท้ายก็จะได้เป็นของขว ัญปีใหม่สำหรับคนไทยทุกคน

นายสุรนันทน์ เราช่วยกันสร้างของขวัญปีให ม่ด้วยเลย ปีหน้าก็จะได้เริ่มต้นใหม่

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ

นายสุรนันทน์ แต่ก็ยังมีหลายคนเป็นห่วงบอ กว่านักลงทุน นักอะไรต่าง ๆ เขามาบอก บอกว่าท่านนายกฯ ชัดเจนหรือยังเรื่องแผนที่จ ะดูระยะสั้นระยะยาว

นายกรัฐมนตรี สำหรับแผนนะคะ วันนี้ได้เร่งรัดทางด้านของ คณะกรรมการ กยน. คือการบริหารจัดการเกี่ยวกั บน้ำ และทางด้านของเศรษฐกิจ วันนี้ก็เร่งรัดที่จะทำงานอ ยู่นะคะ คิดว่าต้นปีน่าจะมีความชัดเ จนเกิดขึ้น

นายสุรนันทน์ พอบอกโครงบ้างได้ไหมครับท่า นนายกฯ เล่าโครงให้หน่อยว่าคิดอะไร อยู่ ทำอะไรอยู่บ้างได้ไหมครับ

นายกรัฐมนตรี ได้ค่ะ คร่าว ๆ อย่างที่เราทำอย่างแรกวันนี ้ สิ่งที่เป็นโครงสร้างพื้นฐา นต้องกลับคืนมาสู่สภาพเดิมใ ห้เร็วที่สุด เพราะว่าอย่างเช่น ถนนหนทาง โรงเรียน โรงพยาบาล วัดวาอารามต่าง ๆ ก็ต้องเปิดให้กลับมาเป็นปกต ิ และเราเองก็ต้องทำงานแข่งกั บเวลาเพราะว่าพฤษภาคมหน้าจะ มีเรื่องน้ำฝนแล้ว บางพื้นที่เริ่มเจอน้ำแล้ง ฉะนั้นเวลาเราคิดอะไรเราต้อ งคิดเผื่อทั้งเรื่องของฝน หน้าฝนด้วย และน้ำแล้งด้วยค่ะ เราก็จะพยายาม ตอนนี้ได้ให้มีการสำรวจในส่ วนของแนวคันกั้นน้ำโครงการพ ระราชดำริที่มีอยู่แล้ว ก็ไปดูแลปกป้องให้แข็งแรงขึ ้น ขณะเดียวกันคณะกรรมการที่บร ิหารจัดการน้ำก็กำลังจะร่าง แผน เพราะว่าเราต้องไปคำนึงตั้ง แต่แนวทางน้ำไหลจริง ๆ เพราะบางครั้งธรรมชาติของน้ ำนั้นฝืนยากหน่อย ก็จะมาดูในพื้นที่ต่าง ๆ จะได้ตกลงในเรื่องของการวาง แผนระยะยาวให้ตรงนี้

นายสุรนันทน์ เราก็คงจะต้องรอตรงนี้ ไม่นานใช่ไหมครับท่านนายกฯ มกราคมจะเห็น

นายกรัฐมนตรี ตอนนี้ก็อยากเห็นมกราคมค่ะ เพราะว่าคนไทยคงตั้งตารอ และโดยเฉพาะการที่จะให้ทางต ่างชาติมั่นใจ คงจะทยอยเป็นแผนใหญ่ก่อน แต่ถ้าเป็นแผนละเอียดนั้นคง ต้องค่อย ๆ ลงไปตามพื้นที่ด้วยค่ะ

นายสุรนันทน์ แต่เท่าที่ท่านนายกฯ ได้พบ ชาวต่างชาติมาพบท่านนายกฯ เยอะ ดูเขามั่นใจไหมครับ หรือว่าเขายังถามอยู่

นายกรัฐมนตรี ก็ทั้งสองส่วนนะคะ จากทั้งที่เราได้ไปประชุมทา งด้านของอาเซียนและได้ไปพบก ับทางนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ซึ่งท่านรัฐมนตรีก็ไปด้วย โดยรวมนักลงทุนในประเทศต่าง  ๆ ไม่ว่าจะเป็นประเทศญี่ปุ่นเ อง อเมริกา หรือจีน ก็ยังมั่นใจในประเทศไทย

นายสุรนันทน์ ยังไม่ทิ้งไปไหน

นายกรัฐมนตรี ไม่ทิ้งไปไหน ต้องกราบเรียนพี่น้องประชาช นว่าเมืองไทยก็มีเสน่ห์ มีเอกลักษณ์อยู่ คือสภาพความเป็นอยู่ และที่สำคัญจิตใจ น้ำใจของคนไทย หลาย ๆ ชาติที่มาใช้ชีวิตอยู่ที่นี ่ก็จะรู้สึกประทับใจ ดังนั้นเราช่วยกันฟื้นฟูควา มมั่นใจเขาก็เกิดความสบายใจ ที่จะลงทุนต่อ

นายสุรนันทน์ คงจะต้องทำงานกันต่อ

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ

นายสุรนันทน์ พูดถึงเรื่องทำงานก็ต้องถาม ท่านนายกฯ แล้วว่าการบริหารงานมา 4 เดือนนี้ท่านนายกฯ ไปติด เรียกว่าติดน้ำท่วมเสีย 3 เดือน

นายสุรนันทน์ ใช่ค่ะ

นายสุรนันทน์ รู้สึกอย่างไรครับ รู้สึกว่าที่เราเคยประกาศไว ้กับประชาชน นโยบายต่าง ๆ จะทำได้ไหม ต้องไปแก้ปัญหาน้ำท่วมก่อนห รือเปล่าครับ

นายกรัฐมนตรี ถ้าถามนะคะก็ต้องแน่นอนค่ะค วามเดือดร้อนของพี่น้องประช าชนเป็นหน้าที่หลักและเป็นภ ารกิจเร่งด่วน ก็ต้องทำเรื่องของน้ำก่อน ขณะเดียวกันบางนโยบายที่สาม ารถทำควบคู่กันไปได้ก็เร่งร ัดทำค่ะ แต่ถ้าถามว่าเป็นอย่างที่อย ากจะเป็นทั้งหมดหรือเปล่า ก็ไม่ เพราะว่าช่วง 3 เดือนแรกนี้เราก็ต้องไปเร่ง รัดในเรื่องของการแก้ปัญหาเ รื่องน้ำ แต่ที่ผ่านมา 4 เดือนก็มีหลายนโยบายที่เราไ ด้มีการออกไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นนโยบายในเรื่อง ของโครงการรับจำนำข้าว ซึ่งหลังจากหมดหน้าเรื่องขอ งน้ำท่วมแล้ว พี่น้องเกษตรกรก็จะเริ่ม

นายสุรนันทน์ เห็นเริ่มประกาศราคากันแล้ว

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ อันนี้ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของ การที่ทำให้มีรายได้ที่ดีขึ ้น และจะมีโครงการบ้านหลังแรก รถคันแรก

นายสุรนันทน์ รถคันแรก เห็นท่านรัฐมนตรีบุญทรง (นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงก ารคลัง) เป็นคนเปิด

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ ท่านรัฐมนตรีบุญทรง อันนี้ถือว่าเป็นโครงการเรี ยกว่ากระตุ้นเศรษฐกิจมากกว่ า เพราะว่าเราจำเป็นต้องกระตุ ้นวันนี้ อย่างเรื่องของโรงงานอุตสาห กรรมต่าง ๆ ก็มีผลกระทบโดยเฉพาะ เรื่องของโรงงานภาครถยนต์

นายสุรนันทน์ รถยนต์นี่เสียไปเยอะ

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ เราคงต้องกระตุ้นกลับมาในเร ื่องของความมั่นใจ และการค้าขาย เพราะบางครั้งนโยบายบางนโยบ ายนั้นลงไปแล้วจะเกิดการจ้า งงานและจ้างคนขึ้นมา

นายสุรนันทน์ เพราะฉะนั้นจริง ๆ เราก็ไม่ต้องเปลี่ยนอะไรในเ มื่อมันไปกระตุ้นเศรษฐกิจ

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ นี่ก็ยังไม่ต้องเปลี่ยนค่ะ แต่ว่าต้องจัดเวลาให้เหมาะส ม แต่อันหนึ่งที่เราเร่งรัดกล ับมาก็คือในเรื่องของโครงกา รพักหนี้เกษตรกร และปรับปรุงจากนโยบายเราก็ไ ด้เร่งรัดให้ทางกระทรวงการค ลัง ทุกหน่วยงานประสานงานกับทาง ธนาคารในการให้ส่วนลด ดูแลเรื่องหนี้สินหรือค่าใช ้จ่ายพี่น้องประชาชน หรือแม้กระทั่งเรื่องของประ กัน ซึ่งวันนี้หลายท่านจะพูดถึง มากในเรื่องของประกันรถยนต์  ล่าสุดก็ไม่มีปัญหาถ้าเกิดม ีการประกันก็จะมีการดูแล และในส่วนของศูนย์ประกันภัย จะช่วยในการซ่อมแซมด้วย

นายสุรนันทน์ ฉะนั้นก็ต้องช่วยกันทุกคน

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ

นายสุรนันทน์ มีข้อจำกัดไหมครับ เพราะงบประมาณก็ยังไม่ผ่าน จะไปผ่านเดือนมกราคมปีหน้า เหมือนกับเงินทองก็ยังไม่ค่ อยลงตัว

นายกรัฐมนตรี ข้อจำกัดมีค่ะยอมรับ แต่ต้องไม่ได้เป็นอุปสรรคใน การทำงาน วันนี้เราได้ใช้เรียกว่างบป ระมาณไปพลางก่อน คือประมาณบางส่วนของงบประมา ณที่เราวางแผนไว้ ซึ่งในเรื่องของงบประมาณที่ เราตั้งไว้เรื่องของการบริห ารจัดการน้ำ 120,000 ล้านบาทก็จะใช้ได้ประมาณ 40,000 กว่าล้านบาท เราเลยต้องมาจัดลำดับความสำ คัญในการใช้เงิน

นายสุรนันทน์ ที่ท่านนายกฯ ประชุมวันก่อนนี้ ที่ ครม.นัดพิเศษ

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ มีการประชุมร่วมกับคณะรัฐมน ตรีทุกท่าน รวมกับผู้ว่าราชการจังหวัดท ุกจังหวัดเพื่อจะได้ทราบนโย บายร่วมกันในการที่จะจัดสรร ตามความเร่งด่วนในการใช้เงิ นงบประมาณ ล่าสุดได้มีการจัดสรรเม็ดเง ินลงไปแล้วเรียบร้อย

นายสุรนันทน์ ตอนนี้ส่วนใหญ่ก็เป็นเรื่อง เยียวยาก่อน 5,000 บาท

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ เยียวยา 5,000 บาทและเรื่องการเยียวยาเรื่ องของเกษตรกร เรื่องของไร่นาที่เสียหาย และมาดูในส่วนของโครงสร้างพ ื้นฐานที่จะเป็นอุปสรรคที่ไ ม่สามารถที่สัญจรได้ หรือไม่สามารถทำอะไรได้จะจั ดสรรลงไปก่อน

นายสุรนันทน์ แต่พองบประมาณใหม่ออกก็น่าจ ะคล่องตัวขึ้น

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ

นายสุรนันทน์ แล้วในแผนระยะยาวนี้อยู่ที่ ไหนครับ ที่จะมากำหนดว่าต้องใช้เงิน  อย่างลงทุนอย่างเขาบอกฟลัดเ วย์หรืออะไรพวกนี้ซึ่งเรายั งไม่รู้ อยู่ที่คณะกรรมการน้ำ

นายกรัฐมนตรี รอคณะกรรมการน้ำวาง Master Plan อย่างเป็นทางการแล้วเราคงจะ ประมาณค่าใช้จ่ายได้ ซึ่งในกลไกนั้นเราต้องมีมาต รการในการที่จะหาเงินด้วย ทำทั้งสองอย่างค่ะ ทั้งแหล่งเงินทุนในประเทศแล ะต่างประเทศ

นายสุรนันทน์ พอมาบริหารราชการจริง ๆ แล้วนี่เป็นนายกรัฐมนตรี ผิดกับการบริหารบริษัทไหมคร ับ

นายกรัฐมนตรี ผิดกันเยอะค่ะ แต่ว่าโดยหลักลึกของการบริห ารจัดการน่าจะใช้หลักเดียวก ัน คือการบริหารจัดการและการทำ อย่างไรนั้นให้ทุกภาคส่วนนั ้นมีส่วนร่วมในการทำงาน เราเรียกว่าต้องทำงานเป็นที ม อันนี้ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน ไหนก็ใช้หลักเดียวกัน

นายสุรนันทน์ ตอนเป็นบริษัทก็ทำงานเป็นที ม

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ อย่างวันนี้เราก็มองท่านรัฐ มนตรีเป็นทีม แต่ละท่านก็มีภารกิจร่วมกัน  และในการประสานงานก็จะมีการ วางแผนร่วมกัน คิดด้วยกัน และการที่ไปทำปลายทางวันนี้ กลไกหลักก็เป็นกระทรวงมหาดไ ทย อย่างเช่น ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดทุก จังหวัด เราก็ต้องทำงานที่เรียกว่าป ระสานงาน ถ้าภาษาทางราชการก็เป็นบูรณ าการ

นายสุรนันทน์ บูรณาการ ทั้งฝ่ายการเมืองทั้งฝ่ายปร ะจำทำงานด้วยกันได้

นายกรัฐมนตรี ด้วยค่ะต้องใช้คำว่าต้องทำง านด้วยกันได้

นายสุรนันทน์ ต้องทำงานด้วยกันได้ อันนี้เป็นแนวทางของท่านนาย กฯ เลย มีข่าวบอกว่าตอนนี้ท่านนายก ฯ กำลังประเมินผลรัฐมนตรี ผมแกล้งถามท่านรัฐมนตรีสองค นให้สั่นเล่น แต่ว่าผมอยากจะถามหลักดีกว่ า ไม่อยากไปถามว่าเป็นตัวบุคค ลไหน หลักในการบริหารท่านก็ต้องป ระเมินผลประจำอยู่แล้วใช่ไห มครับ

นายกรัฐมนตรี จริง ๆ แล้วหลักในการบริหารเป็นเรื ่องปกติค่ะที่เราเรียกว่าต้ องติดตามผลงาน ถามว่าติดตามผลงานเพื่ออะไร  ก็เพื่อว่าแผนที่เราตั้งใจไ ว้ว่า 3 เดือน 6 เดือน จะทำอะไร แล้วภายใน 3 เดือน 6 เดือนนั้นกลับมาเป็นอย่างไร  แต่วันนี้ก็ต้องเห็นใจหลายก ระทรวงที่เจอเรื่องของภาวะน ้ำท่วม ก็ต้องกลับมาดูว่าภายใต้อุป สรรคตรงนี้ทำกันด้วยดีแค่ไห นอย่างไร ถ้าไม่ดี คราวหน้าเราจะปรับปรุงอย่าง ไร อันนี้เรียกว่าเป็นการประเม ินผลงานมากกว่า ไม่ใช่เป็นรายบุคคล

นายสุรนันทน์ ไม่ได้เป็นรายบุคคลแต่เปลี่ ยนคนได้

นายกรัฐมนตรี อันนี้ขอว่าคือต้องดูต่อไปค ่ะ เพราะบางครั้งต้องดูว่าการท ำงานนั้นต้องให้เกิดการต่อเ นื่องด้วย

นายสุรนันทน์ ต้องให้โอกาสเขาทำงานเหมือน กัน เราคอยประเมินกัน

นายกรัฐมนตรี ใช่ค่ะ นี่เพิ่ง 4 เดือน

นายสุรนันทน์ รอ 6 เดือน ท่านนายกฯ ประเมินตัวเองไหมครับ

นายกรัฐมนตรี ก็ประเมินค่ะ พูดกับตัวเองนะคะ สิ่งที่อยากทำ จริง ๆ เราก็มีแผนที่ได้มีการแถลงไ ว้ต่อรัฐสภาอยู่แล้ว มาเจออุปสรรคบ้างก็พยายามที ่จะกู้กลับมาตรงตามเวลา แต่ว่าคนประเมินนั้นน่าจะเป ็นทางพี่น้องประชาชนมากกว่า ค่ะ พี่น้องประชาชนเป็นคนประเมิ นดิฉันค่ะ

นายสุรนันทน์ เวลาทำงานแล้วเจออุปสรรคนี้ ท่านนายกฯ คิดอะไรในการที่จะแก้ปัญหาฝ ่าฟันอุปสรรคนั้นไปได้

นายกรัฐมนตรี ก็ต้องมองว่าอย่ามองอุปสรรค นั้นคือปัญหา มองว่าอุปสรรคนั้นคือหนทางท ี่เราจะได้มีโอกาสแก้ไขปัญห า ซึ่งถ้าเราคิดอย่างนี้เราก็ จะคิดบวกและมีแรงผลักดันในก ารที่จะแก้ไขปัญหา ถ้าเรามองว่าทุกอย่างเป็นอุ ปสรรคก็ท้อทำอะไรไม่ได้ แต่ถ้ามองว่าอุปสรรคนั้นคือ สิ่งที่เราต้องมาแก้ แล้วเขาเลือกเรามาก็เพื่อให ้แก้ไขปัญหา ฉะนั้นนี่คือหน้าที่

นายสุรนันทน์ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องอย่าท้ อใช่ไหมครับ เพราะตอนนี้หลายคนไม่ใช่เฉพ าะท่านนายกฯ หรอก คนที่ประสบอุทกภัย คนที่กิจการอาจจะล้มไปก็เพร าะท้อ ท่านนายกฯ ใช้สูตรนี้ได้ไหมครับ

นายกรัฐมนตรี ใช้สูตรนี้ได้ค่ะ เรียกว่าอยากขอให้ทุกท่านนั ้นมีกำลังใจและอย่าท้อนะคะ เพราะว่าตราบใดสิ่งของต่าง ๆ ที่เป็นของนอกกายนั้น จริง ๆ แล้วก็เกิดจากการที่ท่านใช้ ความรู้ความสามารถของท่านใน การสร้างขึ้นมา ขออึดใจอีกสักนิดหนึ่งและกล ับไปสร้างกันใหม่ ส่วนของรัฐบาลเองก็จะทำทุกว ิถีทางในการที่จะช่วยเหลือเ ยียวยาผู้ที่ประสบปัญหาอุทก ภัย ซึ่งบางครั้งอาจจะขอเวลากับ รัฐบาลบ้าง แต่จะทำให้เต็มที่ค่ะ และยืนยันว่าทุกหน่วยงานนั้ นก็มีการเร่งรัดทำอย่างเต็ม ที่

นายสุรนันทน์ ถ้าเป็นไปอย่างที่ท่านนายกฯ  คิดนี้ ปลายปี น้ำก็น่าจะเบากว่านี้ และปีหน้าคณะกรรมการต่าง ๆ ก็จะเสนอแผนใหญ่มา แต่ถ้าเรื่องอื่น ๆ ละครับ ท่านนายกฯ มองว่าปีหน้ามีความท้าทายอะ ไรเกี่ยวกับประเทศไทยบ้าง

นายกรัฐมนตรี ปีหน้าความท้าทายก็น่าจะเป็ นเรื่องของเศรษฐกิจโลก ซึ่งวันนี้เองในเรื่องของคว ามแน่นอนของเศรษฐกิจทางด้าน ของสหรัฐอเมริกาหรือทางยุโร ปก็ค่อนข้างอ่อนไหว และตอนนี้เรื่องของเศรษฐกิจ ก็จะเคลื่อนมาสู่ภูมิภาคเอเ ชีย ซึ่งจีนก็จะมีบทบาทสำคัญ ประเทศไทยเราเองอาจจะไม่ได้ มีผลโดยตรง แต่อาจจะเป็นทางอ้อม ถ้าเศรษฐกิจของต่างประเทศนั ้นหยุดชะงัก ดังนั้นสิ่งที่เราป้องกันคว ามเสี่ยงสำหรับประเทศก็คือว ่า แทนที่เราจะต้องพึ่งเศรษฐกิ จจากต่างประเทศอย่างเดียวเร าก็ต้องมาสร้างฐานรากของประ เทศไทย ก็คือรายได้ของในประเทศนั้น ให้โตและมั่นคง ซึ่งถ้ากลับมาดูจริง ๆ แล้วโครงสร้างพื้นฐานของประ เทศไทยเป็นโครงสร้างที่ดีแล ะแข็งแรง เราต้องมาช่วยกันกระตุ้นค่ะ  ช่วยกันกระตุ้นเศรษฐกิจ

นายสุรนันทน์ เดินตลาดนี้ก็มั่นใจไหมครับ ว่าสินค้าอะไรหลากหลาย

นายกรัฐมนตรี ดูสิคะ สินค้าของต่าง ๆ มีพื้นฐานที่ดี เราช่วยกันต่อยอดอีกนิดหนึ่ ง โดยเฉพาะการลงทุน เราต้องเน้นในการส่งเสริมเร ื่องของ Productivity หรือเรื่องของคุณภาพ หรือผลผลิตให้ดีขึ้น ตรงนี้ก็เชื่อว่าถ้าเราช่วย กันทำก็เรียกว่าจะทำตรงนี้ใ ห้แข็งแรงนะคะ

นายสุรนันทน์ ปัญหาสังคมเป็นปัญหาที่หลาย คนฝากถามมา โดยเฉพาะยาเสพติด วันก่อนเห็นโพลเรตติ้ง 80 กว่าเปอร์เซ็นต์ รู้สึกดีใจไหมครับ หรือมีปัญหาอะไรที่ต้องแก้อ ีก

นายกรัฐมนตรี ต้องขอขอบคุณ ถือเป็นกำลังใจอย่างหนึ่งแต ่จริง ๆ ต้องบอกว่าต้องให้เครดิตกับ ทีมงานทุกท่านด้วย ทางด้านของท่านรองนายกรัฐมน ตรี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ก็มีบทบาทสำคัญ ท่านผู้บัญชาการตำรวจแห่งชา ติ หรือทุก��

 · แชร์
 

รายการรัฐบาลยิ่งลักษณ์พบปร ะชาชน ครั้งที่ 11 (10/12/2011)


นายกรัฐมนตรีน้อมนำกระแสพระ ราชดำรัสแก้ไขปัญหาน้ำอย่าง ยั่งยืน พร้อมขอบคุณประชาชนทุกภาคส่ วนที่เข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพ ระเกียรติฯ และขอเชิญชวนประชาชนชาวดอนเ มืองรวมพลังทำกิจกรรมสาธารป ระโยชน์ร่วมฟื้นฟูเขตดอนเมื องหลังน้ำลดวันพรุ่งนี้

ครม.วางพานพุ่มถวายราชสักกา ระรัชกาลที่ 7
สวัสดีค่ะพี่น้องประชาชนที่ เคารพรักคะ พบกันวันเสาร์นี้นะคะ ซึ่งเป็นวันที่ตรงกับวันรัฐ ธรรมนูญพอดี ถือว่าเป็นวันสำคัญทางประวั ติศาสตร์อีกวันหนึ่งของประเ ทศไทย วันรัฐธรรมนูญเป็นวันที่ตรง กับวันที่ 10 ธันวาคม พุทธศักราช 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระป กเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองปร ะเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ของประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นหลักประกันใน เรื่องของสิทธิเสรีภาพของปร ะชาชน ตลอดจนหน้าที่และการจัดการร ูปแบบของการบริหารจัดการภาย ใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพร ะมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งการมีรัฐธรรมนูญที่ดีจะ ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการ สร้างความสงบ สันติและความปรองดอง

และหลังจากจัดรายการเสร็จ ดิฉันจะเดินทางไปวางพานพุ่ม ดอกไม้ถวายบังคมพระบรมราชาน ุสาวรีย์ เพื่อเป็นการรำลึกในพระมหาก รุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพร ะปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ บริเวณหน้าอาคารรัฐสภา ด้วยค่ะ

รัฐบาลน้อมรับพระราชดำรัสใน การแก้ไขปัญหาน้ำ

ในสัปดาห์ที่แล้วต่อเนื่องม าถึงสัปดาห์นี้ ถือว่าเป็นสัปดาห์ที่คนไทยท ั้งชาติปลื้มปีติและรวมใจกั นเป็นหนึ่ง ในการร่วมถวายพระพรชัยมงคลแ ด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ห ัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหา มงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 นี้ ในวันที่ 5 ธันวาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออกมหาสมาคม รับการถวายพระพรชัยมงคล ณ มุขเด็จ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท โดยพระราชทานพระบรมราชานุญา ตให้ พระบรมวงศานุวงศ์ องคมนตรี คณะรัฐมนตรี คณะทูตานุทูต สมาชิกรัฐสภา ข้าราชการทหาร-พลเรือน ผู้มีตำแหน่งเฝ้าฯ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็ นล้นพ้น

ในการนี้ ทรงมีพระราชดำรัสตอบผู้เข้า เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในกา รแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและจัดทำ โครงการบริหารน้ำอย่างยั่งย ืน และทรงพระกรุณาย้ำว่า "...ทุกฝ่ายต้องถือเป็นหน้า ที่ที่จะต้องร่วมมือกันปฏิบ ัติ แก้ไขให้เต็มกำลัง โดยเฉพาะขณะนี้ประชาชนกำลัง เดือดร้อนลำบากจากน้ำท่วม จึงชอบที่จะร่วมมือกันปัดเป ่าแก้ไขให้ผ่านพ้นไปโดยเร็ว ..." และยังมีอีกตอนหนึ่งความว่า  "...ข้อสำคัญจะต้องไม่ขัดแย ้งแตกแยกกัน หากจะต้องให้กำลังใจซึ่งกัน และกัน เพื่อให้งานที่ทำบรรลุผลที่ มีประโยชน์ เพื่อความผาสุกของประชาชน และความมั่นคงปลอดภัยของประ เทศชาติ..."

ซึ่งดิฉันในฐานะตัวแทนของรั ฐบาล และพี่น้องประชาชนจะน้อมรับ พระราชดำรัสรับใส่เกล้าใส่ก ระหม่อม ถือปฏิบัติอย่างถึงที่สุด เพื่อความผาสุกของประชาชน และนำ กระแสพระราชดำรัสของพระองค์ ท่านมาเน้นย้ำในที่ประชุมขอ งคณะรัฐมนตรีเมื่อวันอังคาร ที่ผ่านมาด้วย และยังได้มีการดำเนินการผ่า นคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อ วางระบบการบริหารจัดการน้ำ หรือ กยน. ซึ่งมีการประชุมเพื่อที่จะเ ร่งรัดการวางแผนแม่บทให้เร็ วที่สุด ควบคู่กับการแก้ไขปัญหาน้ำใ นปัจจุบัน


รัฐบาลจัดงานสโมสรสันนิบาตเ ฉลิมพระเกียรติฯ

และเมื่อวันพุธที่ 7 ธันวาคม รัฐบาลได้เป็นเจ้าภาพจัดงาน สโมสรสันนิบาตเฉลิมพระเกียร ติ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหา มงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จแทนพระองค์เป็นองค์ประ ธานในพิธี ดิฉันและผู้เข้าเฝ้าฯ รู้สึกสำนึกในพระมหากรุณาธิ คุณเป็นล้นพ้นค่ะ และในโอกาสมหามงคลนี้ ดิฉันได้ทูลเกล้า ฯ ถวายของที่ระลึกในนามรัฐบาล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหา มงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 ด้วยค่ะ

ขอบคุณประชาชนเข้าร่วมกิจกร รมเฉลิมพระเกียรติฯ

ดิฉันในนามรัฐบาลขอขอบคุณพี ่น้องประชาชนทุกคนที่ได้มีส ่วนร่วม และเข้าชมกิจกรรมต่าง ๆ ในงานเฉลิมพระเกียรติพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระช นมพรรษาในครั้งนี้ด้วยนะคะ ซึ่งรัฐบาลจัดขึ้นระหว่างวั นที่ 3-9 ธันวาคม ที่ท้องสนามหลวง ในแต่ละคืนมีประชาชนจำนวนนั บหมื่นไปร่วมงาน และลงนามถวายพระพรชัยมงคล ที่ต้นโพธิ์ ต้นไทร ที่ได้จัดสร้างขึ้น เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภั กดี และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งขอบคุณทุกหน่วยงานภา ครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ที่ได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดง านครั้งนี้เป็นไปอย่างสมพระ เกียรติ

โครงการ "5 ธันวา รวมพลังคนไทย รวมหัวใจถวายพระพรชัยมงคล"

สำหรับอีกกิจกรรมหนึ่งที่ทา งภาครัฐ และภาคเอกชน ได้ร่วมกันจัดขึ้นในโอกาสมห ามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา คือ โครงการ "5 ธันวา รวมพลังคนไทย รวมหัวใจถวายพระพรชัยมงคล" ถือเป็นกิจกรรมอีกหนึ่งกิจก รรมที่แสดงออกถึงความจงรักภ ักดีและความพร้อมใจกันของคน ไทยทั้งชาติ ที่ได้รวมกันเป็นหนึ่งในการ ร่วมแรงระดมกำลังในการทำงาน เพื่อบ้านเมือง ในการฟื้นฟูประเทศ และรวมถึงการช่วยเหลือบรรเท าความเดือดร้อนของพี่น้องปร ะชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลก ระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ซึ่งวันนี้ขณะนี้หลายพื้นที ่ได้เริ่มคลี่คลายแล้ว

เราได้เริ่มกิจกรรมตั้งแต่ว ันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า โดยมีความร่วมมือจากทั้งภาค รัฐ เอกชน ประชาชน และหน่วยงานต่าง ๆ ในการจัดกิจกรรมเพื่อถวายเป ็นพระราชกุศลค่ะ

ต่อเนื่องกันนั้นดิฉันได้เด ินทางต่อไปยังจังหวัดนนทบุร ี เพื่อร่วมกิจกรรมในการสูบน้ ำกู้พื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วม ขัง รวมทั้งกิจกรรมการบริการตรว จสุขภาพ เก็บขยะ ทำความสะอาดถนน รวมถึงมีการเปิดครัวรัฐบาล และการบริการตรวจเช็ครถยนต์ ให้กับพี่น้องในจังหวัดนนทบ ุรีด้วยค่ะ

สำหรับกิจกรรมในวันศุกร์ที่  2 ธันวาคม ดิฉันได้เดินทางลงไปยังพื้น ที่ภาคใต้ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นครั้งแรก หลังจากที่ได้รับตำแหน่งนาย กรัฐมนตรี เพื่อไปเปิดโครงการเดียวกัน นะคะ โครงการ "5 ธันวา รวมพลังคนไทย รวมหัวใจถวายพระพรชัยมงคล" พร้อมทั้งได้มีการมอบธงตราส ัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ  เพื่อที่จะให้พี่น้องประชาช นชาวหาดใหญ่นั้นได้ไปประดับ ที่บ้านด้วย

หลังจากนั้นได้มีโอกาสพบปะก ับหอการค้าจังหวัดสงขลา เพื่อที่จะรับฟังข้อเสนอแนว ทางและความเห็นในเรื่องของก ารพัฒนาเศรษฐกิจทางภาคใต้ ซึ่งได้ข้อคิดที่มีประโยชน์ และได้ให้หน่วยงานที่รับผิด ชอบนำไปพิจารณาต่อไป

สำหรับวันที่ 3 ธันวาคมได้เดินทางไปทางภาคอ ีสาน คือ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อรับมอบเงินและสิ่งของบ ริจาค จากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตามโครงการที่เรียกว่า "ชาวอุบลเทใจ กู้ภัยน้ำท่วม" ซึ่งได้เงินมาหลายล้านบาทที เดียวค่ะ นอกจากนั้นได้มีการปล่อยพัน ธุ์ปลา รวมถึงการมอบเงินให้กับผู้ป ระสบภัย พร้อมกับอุปกรณ์ในการซ่อมแซ มบ้านพักอาศัยที่ได้รับผลกร ะทบในเขตเทศบาลนคร รวมถึงประชาชนชาวอำเภอวาริน ชำราบด้วย

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา คือวันที่ 4 ธันวาคม ดิฉันได้เดินทางไปเปิดโครงก ารทำดีถวายพ่อ ฟื้นฟูอยุธยา ด้วยการฟื้นฟูศาสนสถาน 19 วัด 9 มัสยิด 9 โบสถ์ และ 9 ศาลเจ้า ด้วยการมอบเงินช่วยเหลือทาง ศาสนสถาน รวมถึงการที่มีการมอบถุงยัง ชีพ และปล่อยพันธุ์ปลา ปลูกต้นไม้เพื่อทดแทนต้นไม้ ที่ถูกน้ำท่วมให้กับพี่น้อง ชาวจังหวัดอยุธยาด้วยค่ะ

ต่อจากนั้นได้เดินทางไปร่วม กิจกรรมกับการท่องเที่ยวแห่ งประเทศไทย และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย เพื่อที่จะเปิดโครงการ Beautiful Thailandเมืองไทยสวยงาม ก็เป็นการส่งเสริมการท่องเท ี่ยวในจังหวัดอยุธยาให้คืนม า และสามารถที่จะรองรับนักท่อ งเที่ยวทั้งในประเทศและต่าง ประเทศในช่วงปีใหม่นี้ ทั้งนี้คณะผู้จัดงานได้มีกา รระดมภาคประชาชนที่มีจิตอาส าร่วมกัน มาช่วยกันฟื้นฟู ทำความสะอาด รวมถึงการกวาดขยะ เพื่อที่จะเป็นการบอกว่า วันนี้จังหวัดอยุธยาพร้อมที ่จะรองรับนักท่องเที่ยวได้แ ล้ว นอกจากนี้ได้มีการปล่อยคารา วานรถในการพ่นสารกำจัดยุงพา หะนำโรค โดยสนับสนุนน้ำยามาให้กับอง ค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกา รใช้พ่นฆ่ายุง กำจัดแมลงวัน โดยให้ทางอาสาสมัครสาธารณสุ ขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ออกตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพจ ิตของผู้ประสบภัยในหมู่บ้าน ทั้ง 16 อำเภอ และมีการจัดหน่วยแพทย์เคลื่ อนที่ออกให้บริการประชาชนอย ่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่ยังมีน้ำ ท่วมขัง เพื่อให้เกิดการอำนวยความสะ ดวกให้กับประชาชนที่เจ็บป่ว ย ได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด  และมีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พื้นที่หลังน้ำลดนั ้นกลับคืนสู่สภาวะปกติภายใน  45 วัน

และในกิจกรรมช่วงสุดท้ายของ จังหวัดอยุธยา คือ การร่วมฟื้นฟูพื้นที่การเกษ ตรหลังจากถูกน้ำท่วม โดยการคืนที่นาให้เกษตร การมอบเครื่องจักรทางการเกษ ตร พร้อมกับทำการฟื้นฟูพื้นที่ นา

กิจกรรมสาธารณประโยชน์ต่าง ๆ รัฐบาลจะทำโครงการเช่นนี้อย ่างต่อเนื่องตลอดทั้งเดือนธ ันวาคม เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภ ักดีถวายเป็นพระราชกุศลต่อพ ระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสอันเป็นมหามง คลในปีนี้

จัดกิจกรรมสาธารณประโยชน์หล ังน้ำลดในเขตดอนเมือง

อย่างไรก็ตาม ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนในก ารมาร่วมกันทำกิจกรรมสาธารณ ประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งในวันพรุ่งนี้ดิฉันพร้อ มด้วยทางด้านของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ทั้งกระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและควา มมั่นคงของมนุษย์ และภาคเอกชน จะระดมสรรพกำลังในการที่จะฟ ื้นฟูพื้นที่ในเขตดอนเมืองห ลังจากที่ขณะนี้น้ำได้เริ่ม ลดแล้ว ในสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งจะเร ิ่มเข้าสู่โหมดของการฟื้นฟู  ดิฉันจะขอถือโอกาสนี้เชิญชว นพี่น้องประชาชนชาวดอนเมือง เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ด้วย

ซึ่งกิจกรรมหลัก ๆ มีดังนี้ค่ะ กิจกรรมแรกของกระทรวงมหาดไท ย จะมีการระดมประชาชนจากต่างจ ังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดคู่ขนานทั้ง  25 จังหวัด ที่เข้ามาช่วยพี่น้องประชาช นในเขตกรุงเทพมหานคร จะเข้ามาในส่วนของเขตดอนเมื อง เพื่อจะร่วมกันทำความสะอาดถ นน สาธารณสถาน และที่พักอาศัย ให้กับพี่น้องชาวดอนเมืองด้ วย สำหรับ

กระทรวงศึกษาธิการจะมีการจั ดศูนย์ Fix it Center ที่จะช่วยซ่อมแซมเครื่องใช้ ไฟฟ้า รถจักรยานต์ และรถยนต์ในการระดมนักศึกษา อาชีวะจากที่ต่าง ๆ ที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือ ทำความสะอาดโรงเรียนด้วย พร้อม ๆ กับการที่จะเตรียมตัวสำหรับ โรงเรียนที่จะพร้อมรับช่วงเ ปิดเทอมนี้

กระทรวงพาณิชย์ จะมีการจัดคาราวานรถโมบายขา ยสินค้าธงฟ้าราคาถูก ในการคอยที่จะบริการให้พี่น ้องประชาชนตามชุมชนทั่วเขตด อนเมือง เช่นกัน สำหรับกระทรวงแรงงาน จะมีการตั้งศูนย์รับสมัครงา น พร้อมกับให้คำปรึกษาแรงงานท ี่ตกงาน มีการระดมช่างฝีมือแรงงานจา กกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมถึงการจัดรถโมบายเคลื่อน ที่ถึง 10 คัน เพื่อที่จะออกให้บริการซ่อม แซมเครื่องใช้ไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์ของประชาชน ตามหมู่บ้านต่าง ๆ รวมถึงจะมีสำนักงานประกันสั งคมที่จะมาให้คำปรึกษาทางด้ านแรงงาน รวมถึงสิทธิประโยชน์ของผู้ใ ช้แรงงานด้วย

กระทรวงสาธารณสุข จะมีการจัดเสริมในส่วนของหน ่วยแพทย์เคลื่อนที่ เพื่อที่จะให้บริการตรวจสุข ภาพ ฉีดยุง กำจัดเชื้อรา รวมถึงการแนะนำวิธีการป้องก ันโรคหลังน้ำลดอย่างถูกวิธี  และพร้อมที่จะเข้าถึงยังพื้ นที่ที่พี่น้องประชาชนในเขต ดอนเมืองทั้งหมดด้วย

การจัดงานครั้งนี้ได้ให้กระ ทรวงการคลัง ร่วมกับธนาคารออมสิน จะมีการเปิดเต็นท์บริการที่ จะช่วยเหลือในการจ่ายเงินชด เชยให้กับพี่น้องประชาชนที่ มีน้ำท่วมขัง รวมถึงบ้านเรือนที่ได้รับคว ามเสียหาย ขอให้พี่น้องประชาชนเขตดอนเ มือง นำหลักฐาน สำเนาทะเบียนบ้าน บัตรประชาชน พร้อมกับภาพถ่ายของบ้านที่เ สียหาย หากไม่มีภาพถ่ายก็ไม่เป็นไร  เพราะบางครั้งพี่น้องอาจจะไ ม่สามารถเข้าไปถ่ายภาพได้ขณ ะที่น้ำท่วม แต่ถ้าถือสำเนาทะเบียนบ้าน เราจะเช็คตามเขตที่ประสบภัย  ก็สามารถที่จะนำมายื่นแจ้งค วามจำนงกับเจ้าหน้าที่ เพื่อที่จะพิจารณาในการที่จ ะรับเงินชดเชย ครั้งนี้จะสามารถรับเงินชดเ ชยเป็นเงินสดได้ทันทีในวันพ รุ่งนี้ ซึ่งถือว่าเป็นการลดขั้นตอน การเบิกจ่าย และอำนวยความสะดวกให้กับพี่ น้องประชาชนอีกทางเลือกหนึ่ งค่ะ

สำหรับในส่วนของการประกันภั ยทางสำนักงานคณะกรรมการกำกั บและส่งเสริมการประกอบธุรกิ จประกันภัย จะมาเปิดเต็นท์ให้คำปรึกษา และความชัดเจนเกี่ยวกับการค ุ้มครองสิทธิประโยชน์ด้านปร ะกันภัย รวมถึงให้การตรวจสภาพรถยนต์ ฟรี 20 รายการ และมีการช่วยเหลือค่าใช้จ่า ยในการซ่อมรถราคาถูก ไว้ให้บริการกับพี่น้องประช าชนด้วย

การจัดงานครั้งนี้เราได้รับ ความร่วมมือจากภาคเอกชนด้วย  ซึ่งภาคเอกชนทั้งสภาอุตสาหก รรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมการท่องเที่ยวแห่งประเ ทศไทย และบริษัทเอกชนหลายบริษัทที เดียวค่ะ ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมครั้งน ี้ด้วย เพื่อเป็นการแสดงถึงความร่ว มมือร่วมใจกันเป็นหนึ่งในกา รทำกิจกรรมฟื้นฟูเขตดอนเมือ ง ซึ่งถือว่าเป็นต้นแบบเขตแรก ของ กทม. เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลอีก ด้วยนะคะ

อย่างไรก็ตามพี่น้องประชาชน อย่าลืมนะคะ พรุ่งนี้พี่น้องชาวดอนเมือง เจอกันตั้งแต่เวลา 10.00 น.เป็นต้นไป เราจะจัดกิจกรรมที่วัดดอนเม ือง ก็สามารถมารับบริการต่าง ๆ จากทางภาครัฐ และเอกชนที่จัดกิจกรรมที่จะ พร้อมอำนวยความสะดวกเป็นจำน วนมาก และถือโอกาสนี้ขอเชิญชวนประ ชาชนที่มีจิตอาสาทั้งหลาย มาร่วมกันในการช่วยฟื้นฟู เก็บขยะ ทำความสะอาดบ้านเรือน หรือศาสนสถาน โรงเรียน หรือถนน ในเขตดอนเมือง เพื่อเป็นการถวายเป็นพระราช กุศลร่วมกันกับทางรัฐบาลด้ว ยนะคะ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ในสัปดา ห์อื่น ๆ นั้น ดิฉันก็จะมีการจัดกิจกรรมใน การฟื้นฟูในเขตอื่นต่อไป ขอให้พี่น้องประชาชนติดตามข ่าวสารของรัฐบาลด้วยค่ะ

พระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้อง ราชทัณฑ์

พี่น้องประชาชนคะ ในวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงมีพระบรม ราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่า โดยที่ทรงพระราชดำริ เห็นว่าเนื่องในโอกาสพระราช พิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษ า 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 นับเป็นอภิลักขิตกาลสำคัญ สมควรพระราชทานอภัยโทษแก่ผู ้ต้องราชทัณฑ์ เพื่อให้โอกาสแก่บุคคลเหล่า นั้นกลับประพฤติตนเป็นพลเมื องดี อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประ เทศชาติสืบไป นั้น

ในวันที่ 7 ธันวาคมที่ผ่านมา ดิฉันได้ไปเป็นประธานในพิธี ปล่อยตัวผู้ต้องราชทัณฑ์ ณ เรือนจำกลางคลองเปรม ซึ่งมีผู้ต้องราชทัณฑ์จากทั ้งหมด 15 เรือนจำ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งหมดจำนวน 2,766 คน แต่จากทั่วประเทศที่ได้รับก ารปล่อยตัวทั้งหมดครั้งนี้ 12,000 คน

ขอให้ผู้ได้รับพระราชทานอภั ยโทษระลึกเสมอว่า สิ่งนี้เป็นมงคลในชีวิต ขอให้อดีตเป็นบทเรียน อย่ากระทำผิดซ้ำ และให้นึกถึงพระเมตตาของพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และน้อมนำปรัชญาพอเพียงมาใช ้ ดังที่ได้มีการปฏิญาณตน พร้อมกันนี้ รัฐบาลได้มอบเงินให้คนละ 500 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเด ินทางกลับภูมิลำเนาด้วยค่ะ

สถานการณ์น้ำในภาพรวมวันนี้ คลี่คลายลงมาก

กลับมาคุยกันในเรื่องสถานกา รณ์เรื่องน้ำกันบ้างนะคะ ว่าสถานการณ์เรื่องน้ำในภาพ รวม วันนี้ได้คลี่คลายลงมาก โดยยังคงมีน้ำท่วมขังในเขตช ุมชนบ้าง โดยเฉพาะในเขตจังหวัดนนทบุร ี ปทุมธานี และนครปฐม ซึ่งต้องใช้มาตรการในระดับพ ื้นที่ ในการแก้ไขปัญหาเป็นจุด ๆ ไป สำหรับน้ำที่ยังค้างทุ่งอยู ่ในพื้นที่ของทางภาคเหนือตอ นล่าง และภาคกลาง เช่น จังหวัดนครสวรรค์ อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น นั่นเป็นน้ำที่ต้องเตรียมไว ้เพื่อการเกษตรและการใช้สอย ในฤดูแล้ง และยังมีหลายพื้นที่ที่ได้เ ริ่มเพาะปลูกข้าวนาปรังแล้ว

สำหรับพื้นที่ภาคเหนือตอนบน  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั ้น ในปัจจุบันได้เข้าสู่ฤดูแล้ งแล้ว ก็มีแนวโน้มว่าบางพื้นที่ที ่อยู่นอกเขตชลประทานจะเริ่ม มีภาวะการขาดแคลนน้ำบ้าง ดังนั้น ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวจึ งไม่ควรที่จะประมาท และควรที่จะมีการเตรียมสำรอ งน้ำไว้ในแหล่งกักเก็บน้ำต่ างๆ เพื่อที่จะให้เพียงพอกับการ ใช้สอยในช่วงฤดูแล้งที่จะมา ถึงนี้ด้วย

สำหรับสถานการณ์น้ำในภาคใต้  ถือว่าปีนี้นับป็นปีที่โชคด ี ที่ไม่มีพายุขึ้นทางฝั่งภาค ใต้ เลยทำให้สภาวะการณ์ของน้ำฝน ในส่วนของภาคใต้ในปีนี้ จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือห รือลมหนาวแต่เพียงอย่างเดีย ว ซึ่งถ้าช่วงใดมีความรุนแรงจ ะทำให้พื้นที่ทางภาคเหนือ ทางตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางนั้นมีอากาศเย็นล ง และจะทำให้ภาคใต้มีฝนมากด้ว ย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ณ ปัจจุบันโอกาสของการเกิดพาย ุใต้ฝุ่นหรือดีเปรสชั่นจะมี น้อยก็ตามแต่ ประชาชนในภาคใต้ยังคงต้องขอ ให้ติดตามการเตือนภัยพายุจา กกรมอุตุนิยมวิทยาไปอีกประม าณสัก 2 สัปดาห์ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีพายุห ลงฤดูเข้ามายังภาคใต้อีก

สำหรับสถานการณ์น้ำในส่วนขอ งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้ านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระ ยา ปัจจุบันยังมีน้ำท่วมขังอยู ่บ้างในเขตชุมชน เช่น เขตดอนเมือง รังสิต และลำลูกกา แต่พื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่ จะกลับมาสู่ภาวะปกติได้ไม่เ กินในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนธันวาคม

ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแ ม่น้ำเจ้าพระยานั้น สภาพน้ำในแม่น้ำท่าจีนที่ค่ อนข้างสูงในสัปดาห์ที่ผ่านม า ทำให้การระบายน้ำออกของทางแ ม่น้ำสายนี้จะน้อยกว่าที่คา ดบ้าง แต่อย่างไรก็ตาม ก็สามารถที่จะเร่งระบายน้ำอ อกทางแม่น้ำเจ้าพระยาเข้ามา ชดเชยได้ จึงทำให้การระบายน้ำโดยรวมน ั้นเป็นไปตามเป้าหมายที่วาง ไว้ และทำให้การระบายน้ำนั้นอยู ่ในระบบคูคลองแล้วเกือบทั้ง หมด ซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มประส ิทธิภาพในการระบายในพื้นที่ ที่ยังมีน้ำท่วมขัง เช่น ในเขตบางแคให้กลับสู่ภาวะปก ติภายในสัปดาห์ที่จะถึงนี้ค ่ะ

อย่างไรก็ตามพื้นที่ที่ยังม ีน้ำท่วมขังสูง ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในจังหวั ดนนทบุรี ปทุมธานี และนครปฐม ยังมีหมู่บ้านและชุมชนที่มี น้ำท่วมขังอยู่ทั้งหมดประมา ณ 200 แห่ง โดย ศปภ.ทั้งในส่วนของระดับจังห วัดและท้องถิ่น ซึ่งถือว่าเป็นหลักในการดำเ นินงานนั้น จะมีการเร่งดำเนินการเพื่อใ ห้พื้นที่ชุมชนเหล่านี้เกือ บทั้งหมดหรือทั้งหมดกลับมาส ู่สภาวะปกติได้ภายในสิ้นเดื อนธันวาคมนี้

สั่งการทุกกระทรวงเร่งรัดใน การช่วยเหลือ พื้นฟู เยียวยา

สำหรับผลการประชุมของคณะรัฐ มนตรีเมื่อวันอังคารที่ผ่าน มา ได้มีการน้อมนำพระราชดำรัสข องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ห ัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหา มงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 เกี่ยวกับปัญหาความเดือดร้อ นของพี่น้องประชาชนอันเนื่อ งมาจากสถานการณ์อุทกภัย ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็ได้มีมติใ นเรื่องต่างๆ ดังนี้ค่ะ

ได้มีการมอบหมายให้ส่วนราชก าร รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐ พิจารณาปรับเปลี่ยนรูปแบบกา รจัดงานหรือกิจกรรมต่างๆ ในช่วงเวลานี้ จนถึงเทศกาลปีใหม่ โดยยึดหลักการประหยัด หลีกเลี่ยงการจัดมหรสพและกิ จกรรมรื่นเริง ตลอดจนงานโฆษณาประชาสัมพันธ ์ที่ไม่จำเป็น และให้มีการเร่งรัดในการช่ว ยเหลือ พื้นฟู เยียวยา รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตข องประชาชนผู้ประสบอุทกภัยให ้ผ่อนคลายและทุเลาลงโดยเร็ว ที่สุด

ประชุมครม.นัดพิเศษพิจารณาแ ผนงานและโครงการฟื้นฟู เยียวยา

ในวันจันทร์ที่ 12 ธันวาคมที่จะถึงนี้ ดิฉันได้สั่งการให้มีการประ ชุมคณะรัฐมนตรีเป็นวาระพิเศ ษ เพื่อที่จะพิจารณาเกี่ยวกับ แผนงานและโครงการฟื้นฟูเยีย วยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากส ถานการณ์อุทกภัยนี้เป็นวาระ พิเศษ ทั้งนี้ จะได้มีการสั่งการให้มีการถ ่ายทอดทาง Video Conference กับทางท่านผู้ว่าราชการจังห วัดเพื่อให้ได้รับทราบ และ มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบใน การดำเนินการ รวมทั้งเร่งรัดความช่วยเหลื อและฟื้นฟู นี้ให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยโด ยเร็ว รวมถึงมีการบูรณาการในเรื่อ งของงบประมาณต่างๆ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภา พ และที่สำคัญต้องมีความคุ้มค ่า และโครงการต่างๆ นั้น จะเป็นการเร่งรัดในโครงการท ี่เป็นโครงการเดิมที่ชำรุดเ สียหาย เพื่อให้ทุกอย่างนั้นกลับคื นมาสู่สภาพเดิมโดยเร็วที่สุ ด

เชิญเที่ยวงานมหกรรมพืชสวนโ ลกเฉลิมพระเกียรติฯ

พี่น้องคะ ในช่วงระหว่างวันที่ 14 ธันวาคม 2554 ถึงวันที่ 14 มีนาคม 2555 ได้มีการจัดงานขึ้นอย่างยิ่ งใหญ่ นั่นคือ งานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระ เกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2554 ซึ่งจะจัด ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ จังหวัดเชียงใหม่ ถือโอกาสนี้เชิญชวนพี่น้องช าวไทยในการร่วมเดินทางมา และรวมถึงการสัมผัสความสุขใ นงานมหกรรมพืชสวนโลกครั้งนี ้ด้วย

ไทยพร้อมร่วมมือกับสิงคโปร์ ทั้งในระดับทวิภาคีและกรอบอ าเซียน

ขออนุญาตเล่าถึงการเดินทางไ ปเยือนสาธารณรัฐสิงคโปร์กัน บ้างนะคะ ดิฉันได้ไปเยือนทางสาธารณรั ฐสิงคโปร์เมื่อวันพฤหัสบดีท ี่ผ่านมาอย่างเป็นทางการ ได้มีการหารือข้อราชการกับน ายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ นายลี เซียนลุง และรวมถึงได้มีโอกาสได้มาเย ี่ยมคารวะ ดร.โทนี่ ตัน เค็ง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐสิงคโ ปร์ด้วย ได้ใช้โอกาสนี้ในการแสดงเจต นารมณ์ และความพร้อมของไทยที่จะร่ว มมือกับสิงคโปร์ทั้งในระดับ ทวิภาคีและกรอบอาเซียน เพื่อที่จะผลักดันความร่วมม ือต่างๆ ให้มีความคืบหน้า ทั้งนี้ จะเป็นการส่งเสริมความสัมพั นธ์ของทั้งสองประเทศนั้นให้ มีความแน่นแฟ้นมากขึ้น

สำหรับข้อหารือเราได้มีโอกา สในการสร้างความเชื่อมั่นแก ่ทางฝ่ายประเทศสิงคโปร์เกี่ ยวกับมาตรการการฟื้นฟูทางเศ รษฐกิจของรัฐบาล หลังจากเกิดเหตุอุทกภัยในปร ะเทศไทย ซึ่งทางประเทศสิงคโปร์เองได ้แสดงความเชื่อมั่นว่าประเท ศไทยจะสามารถผ่านพ้นวิกฤตใน อุทกภัยครั้งนี้ไปได้

นอกจากนั้นได้ให้ความมั่นใจ ในเสถียรภาพทางการเมืองไทย พร้อมกับการยืนยันและสนับสน ุนที่จะมีการส่งเสริมการขยา ยการลงทุนของสิงคโปร์ในไทยด ้วยอย่างต่อเนื่องต่อไป และดิฉันได้แสดงความชื่นชมใ นการบริหารราชการของรัฐบาลส ิงคโปร์ โดยเฉพาะในเรื่องธรรมาภิบาล  และการปราบปรามคอรัปชั่นที่ ทางประเทศสิงคโปร์นั้นได้รั บการจัดอันดับเป็นประเทศแรก ในส่วนของ Corruption Percent Index จากทุกประเทศทั่วโลก ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมการปรา บปรามคอรัปชั่นในประเทศไทย ดิฉันได้แสดงความประสงค์ที่ จะส่งเสริมความร่วมมือทางด้ านปราบปรามคอรัปชั่นร่วมกับ ทางประเทศสิงคโปร์ด้วย

นอกจากนี้ได้มีความร่วมมือท ี่เราได้มีการหารือกันในส่ว นของโครงการความร่วมมือระหว ่างหน่วยราชการไทยกับสิงคโป ร์หรือ Civil Service Exchange Program (CSEP) เพื่อที่จะมีการเพิ่มการแลก เปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับ การบริหารราชการในสาขาหรือใ นส่วนของความร่วมมืออื่นๆ เพิ่มเติมขึ้น และยังมีการจัดประชุมอีกประ ชุมหนึ่งที่เรียกว่า STEER (Singapore-Thailand Enhanced Economic Relations) คือ กรอบความร่วมมือในการยกระดั บความร่วมมือทางเศรษฐกิจและ การลงทุน ซึ่งได้มีการจัด 2 ครั้ง แล้วครั้งที่ 3 นี้ตามกำหนดการนั้นสิงคโปร์ จะเป็นเจ้าภาพ หลังจากที่ได้มีการหารือกัน กับทางด้านนายกรัฐมนตรีสิงค โปร์แล้วได้ตกลงกันที่จะจัด ประชุมครั้งนี้ขึ้น ซึ่งทางสิงคโปร์พร้อมที่จะเ ป็นเจ้าภาพในปีหน้า ถือว่าเป็นความร่วมมือที่จะ เกิดขึ้นเพิ่มขึ้นในส่วนของ ประเทศไทยกับสิงคโปร์ นอกจากนี้ทางสิงคโปร์ได้มีก ารมอบกล้วยไม้สายพันธุ์ใหม่ ที่ผสมระหว่างสายพันธุ์ไทยก ับสิงคโปร์ ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของการเ ชื่อมความสัมพันธ์ของทั้งสอ งประเทศอีกด้วยค่ะ

รัฐบาลและกองทัพร่วมมือกันท ำงานเชิงรุกดูแลประชาชน

เมื่อวานนี้ดิฉันได้เดินทาง ไปตรวจเยี่ยมกระทรวงกลาโหม ได้มีการมอบหมายงานในการปฏิ บัติงานร่วมกัน ซึ่งบทบาทระหว่างรัฐบาลกับก องทัพนั้น เป็นส่วนสำคัญที่เราต้องทำง านสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะในเรื่องของความมั่ นคง การรักษาเอกราชหรืออธิปไตยข องประเทศ และรวมถึงการปกป้องสถาบัน และที่สำคัญต้องช่วยกันในกา รร่วมมือกันในการทำงานเชิงร ุกพร้อมกับระดมสรรพกำลังต่า งๆ ที่จะดูแลแก้ไขปัญหาให้พี่น ้องประชาชน พร้อมกันนี้ยังได้ขอถือโอกา สนี้ขอบคุณทางกองทัพที่ร่วม มือสนับสนุนกับทางรัฐบาลในเ รื่องของการช่วยเหลือพี่น้อ งประชาชนในยามที่ประสบอุทกภ ัยด้วย ซึ่งในสัปดาห์หน้าดิฉันจะเด ินทางไปตรวจเยี่ยมทางกองทัพ ไทย กองทัพบก กองทัพอากาศ กองทัพเรือ และ กองอำนวยการรักษาความมั่นคง ภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) อีกค่ะ

อย่าลืมนะคะพี่น้องประชาชน ก่อนจากกันวันนี้ ขออนุญาตเรียนเชิญชวนพี่น้อ งประชาชนชาวดอนเมืองและประช าชนจิตอาสา มาพบกันที่วัดดอนเมือง ตั้งแต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป เพื่อที่จะเป็นการรวมพลังช่ วยกันในการฟื้นฟูเขตดอนเมือ ง อย่างไรก็ตามพบกันในวันเสาร ์หน้าค่ะ สวัสดีค่ะ

 · แชร์
 

 

 

ทีมข่าว อาร์ ทีวี วัน                                                     เกาะติดสถานการณ์น้ำท่วม   24 ชั่วโมง  

เกาะติดข่าวสถานะการณ์ภัยพิบัติ คลิกที่นี่

 
 
 
 
 
 
 

 

แผนที่วิกฤตการณ์น้ำท่วมประเทศไทย 2554

แสดงแผนที่ขนาดใหญ่ คลิกที่นี่
 
 
 
 

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย
3/12 ถ.อู่ทองนอก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300 โทรศัพท์ 0-2637-3000 และ มท.55050 - 58
 

สกู๊ปพิเศษ บทความ ข้อคิด แง่คิด ดีดี มีสาระ เกร็ดความรู้ต่างๆ

อ่านบทความย้อนหลังได้ที่นี่ แชร์ไปที่ Facebook

“ครองใจคน” หลากหลายเหตุผลที่คนไทยรัก “ในหลวง” คลิกอ่านที่นี่

 
 
 

ปฏิบัติการพิเศษ ทีมข่าวเยาวชนร่วมกับคลื่นเอฟเอ็ม 102.75 ช่วยผู้ประสพภัยติดค้างที่ไทยธานี เที่ยงคืน คลิกที่นี่


ปีนี้หนา น้ำมา ปลากินมด
ท่วมไปหมด สลดแล พ่อแม่พี่
แต่คนไทย น้ำใจ ให้มากมี
ไหลมาที ท่วมท้น จนล้นใจ

น้ำใจไทย ไหลแรง แซงน้ำป่า
ทั้งมาม่า ปลากระป๋อง ล่องมาให้
มีข้าวสาร น้ำปลา ส่งมาไกล
ผ้าอนามัย ของใช้ ก็ให้มา

เกลือน้ำตาล น้ำดื่ม ไม่ลืมให้
นี่น้ำใจ ให้เหลือ เผื่อแผ่หนา
แต่บางเรือน รับกรรม ทั้งน้ำตา
น้ำพัดพา ที่อาศัย ไร้เรือนนอน 

วิงวอนขอ ต่อรัฐ จัดการด้วย
ได้โปรดช่วย อำนวยให้ ไม่เดือดร้อน
ให้สมน้ำ สมเนื้อ เอื้ออาทร
หากนิ่งนอน ผ่อนผัน พลันอ่อนใจ ^^
 
 

ข่าวเด็กและเยาวชน โดยพิราบขาวสื่อออนไลน์ ไร้พรมแดน 

คลิกอ่านข่าวทีมข่าวเยาวชน


ผู้ให้การสนับสนุนกิจกรรมเด็กและเยาวชน

 
ข่าวเยาวชนนำเสนอโดยเด็กและเยาวชน อายุ 10-18 ปี เพื่อนำเผยแพรู่่สูู่่สาธารณะ ให้กับเพื่อนๆเยาวชนรับข่าวสาร กิจกรรมต่าง และเป็นสื่อกลางระหว่างเด็กกับผู้ใหญ่ เป็นเวทีกิจกรรมการเรียนรู้การทำหน้าที่สื่อมวลชน การนำเสนอข่าว ทั้งนี้ทั้งนั้นเพื่อให้เด็กและ้เยาวชน ตระหนักถึงหน้าที่ที่ดี ไม่เป็นภาระให้กับผู้็ปกครองและเป็นตัวอย่างที่ดีในสังคม รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดกับตนเอง และสังคมรอบตัว
 
 
 
ศูนย์เฝ้าระวัง ติดตามพฤติกรรมเด็กและเยาวชน ในการเล่นอินเตอร์เน็ต การโพสข้อความ และรูปภาพในไฮไฟว์ เฟตบุ๊ค และ sms ในทางไม่เหมาะสม
หรือ พบเด็กและเยาวชนถูกกระทำทารุน ใช้แรงงานผิดกฎหมาย หรือ ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสถานศึกษา หรือหน่วยงานต่างๆ
โปรดแจ้ง สำนักข่าวเด็กและเยาวชน โทร.สายด่วน 085-979-8473 หรือส่งอีเมล์ rtv1_mobilestation@hotmail.com
 
ติดต่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารประสารงานต่างๆ โทร. 084-111-6149 บุญยานุช รอดปัญญา
 

“ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา ใฝ่หาสันติ” วันเยาวชนแห่งชาติ

ทีมข่าวเยาวชน
 



 รายการร่วมด้วยช่วยเด็ก สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย  กรมประชาสัมพันธ์สวท.11 AM. 819 KHz.

พบกับรายการร่วมด้วยช่วยเด็ก ข่าวสาร สาระ เด็กและเยาวชน ทุกวันเสาร์ เวลา 15.00-17.00 น.
กับนักจัดรายการเด็กและเยาวชนที่มีจิตอาสาในการสร้างสรรค์รายการ เพื่อสังคมเด็กและเยาวชน เป็นการเรารวมตัวกันและดำเนินงาน  ในรูปแบบอาสาสมัครเด็กและเยาวชน
ได้รับการสนับสนุนจาก สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย  กรมประชาสัมพันธ์สวท.11 AM. 819 KHz.
อาจารย์อัศวิน ตราบนิรันดร ผู้อำนวยการสถานี อาร์ ทีวี วัน สื่อออนไลน์ไร้พรมแดน
คุณฉัตรชัย  เชื้อรามัญ ผู้อำนวยการขบวนการตาสับปะรด
นส.สกุณี  กีรติวงศ์วานิช    (พี่หน่อย)  ผู้ประสานงานศูนย์ฯ และสำนักข่าวเด็กฯ
นส.ชุติมา  ใจคง (พี่เอ๋)   ผู้ประสานงานรายกาวิทยุเด็กและเยาวชน 


วิทยุแห่งประเทศไทย AM 819 KHz   
ขอขอบคุณสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์


พื้นที่นี้…ดีจัง พื้นที่สร้างสรรค์เพื่อเยาวชน

คำขวัญวันเด็ก ประจำปี พ.ศ. 2555  
“ร่วมแรงแข็งขัน ช่วยกันพัฒนา ใฝ่หาสันติ” วันเยาวชนแห่งชาติ

เปิดตัวนักจัดรายการเยาวชนอายุ 13 ปี ผู้มีความใฝ่ฝันการเป็นดีเจ รุ่นเยาว์ สร้างปรากฏการณ์ในวงการดีเจคนรุ่นใหม่

บนหน้าปัดวิทยุ คลื่น FM. 102.75 Mhz.

เด็กหญิงบุญยานุช รอดปัญญา อายุ 12 ปี ปัจจุปันเรียนที่โรงเรียนสตรีวิทยา 2 เขตลาดพร้าว ระดับชั้นมัธยม 1 ห้อง 9 ไม่ได้คิดว่าตัวเองจะได้มีโอกาสมาจัดรายการวิทยุ แต่ก็เป็นความจริงไปแล้วที่ได้มาเป็นดีเจวัยรุ่นที่อายุน้อย ได้มีโอกาสทำรายการเองและเป็นเจ้าของรายการ เพื่อนเยาวชนเพื่อเยาวชน ทุกวันอาทิตย์ ประสพการณ์ไบรโอนี่ ผ่านการอบรมการจัดรายการ และสื่อมวลชน ถือว่าเป็นเยาวชนคนหนึ่งที่ก้าวไปสู่ความสำเร็จในด้านสื่อมวลชนและนักจัดรายการ เยาวชนคนรุ่นใหม่
ส่วนเด็กหญิงสุธิดา สีดาธรรมนะ อายุ 12 ปี ปัจจุบันเรียนที่ โรงเรียนลาดปลาเค้าพิทยาคม เขตลาดพร้าว ระดับชั้นมัธยม 1 ไม่ได้คิดเช่นเดียวกันที่จะมาเป็นดีเจ และโอกาสก็มาถึงจึงทำให้เขารักงานดีเจมาก จนเห็นพัฒนาการการเปลี่ยนแปลงของเขา และดีเจตาหวานก้อกำลังก้าวไปสู่ความเป็นนักจัดรายการแบบมืออาชีพ
ทั้งคู่ได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์อัศวิน ตราบนิรันคร ผู้สร้างความฝันให้เป็นความจริงและไปสู่จุดหมาย

 

รายการเพื่อนเยาวชน เพื่อเยาวชน

๑. วัตถุประสงค์
๑.๑ เพื่อให้สาระความรู้กับเยาวชนในทุก ๆ ด้าน และปัญหายาเสพติด
๑.๒ เพื่อเผยแพร่กิจกรรมที่ดีให้เยาวชนได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและสังคม
๑.๓ เพื่อให้เยาวชนมีค่านิยมที่ดี มีความรักชาติ มีระเบียบวินัย รักและหวงแหนในศิลปะวัฒนธรรม ประเพณีของไทย และภาษาไทย
๒. แนวความคิดในการจัดทำรายการ
ปัจจุบันมีปัญหาเกิดขึ้นกับเยาวชนในหลาย ๆ ด้าน ทั้งทางด้านปัญหายาเสพติด อบายมุข และการล่วงและเมิดทางเพศ ฯลฯ
รายการวิทยุจึงเป็นสื่อมวลชนประเภทหนึ่งที่เข้าถึงจิตใจของเยาวชนได้ดี ทางรายการเพื่อนเยาวชนเพื่อเยาวชน
จึงได้ผลิตรายการเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อเยาวชน
ในลักษณ์การเป็นเพื่อนในการรับฟังปัญหา
และร่วมหาทางแก้ปัญหาให้กับเยาวชน ในขณะเดียวกัน ได้นำเยาวชนหรือผู้ที่ประสบผลสำเร็จในการทำงาน มาเป็นแบบอย่างให้กับเยาวชนอื่น ๆ อีกด้วย
๓. กลุ่มเป้าหมาย
- เยาวชน ผู้ปกครอง และประชาชนทั่วไป
๔. วัน-เวลา ในการออกอากาศ
ออกอากาศทางสถานีวิทยุ ระบบ FM.ความถี่ ๑๐๒.๗๕ MHz วันอาทิตย์ ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ - ๑๑.๐๐ น.
๕. รูปแบบของรายการ
๕.๑ การให้สาระความรู้ มีเพลงเป็นสื่อ
๕.๒ การสนทนา/สัมภาษณ์ ผู้รับเชิญและผู้เกี่ยวข้อง
๖. ผู้ดำเนินรายการ
- ดีเจไบรโอนี่234 และ ดีเจตาหวาน ควบคุมรายการ อาจารย์อัศวิน ตราบนิรันดร
- ผู้เกี่ยวข้อง และผู้รับเชิญ

ได้เวลาเปิดตัวเสียทีกับดีเจไบรโอนี่234และดีเจตาหวาน หลังจากได้ทำการซุ้มทำรายการ เพื่อนเยาวชนเพื่อเยาวชนมาเกือบสามเดือนแล้ว หวังว่ารายการนี้คงเป็นประโยชน์ต่อเยาวชน และสังคม
ไม่มากก็น้อย การทำหน้าที่ของเยาวชนใวันหยุดถือว่าเป็นการที่
ใช้เวลาว่างมาสร้างสรรค์ผลงาน
บนหน้าปัดวิทยุ คลื่น FM.102.75Mhz.
ในทุกวันอาทิตย์ เวลา 09.00-11.00 น. เป็นประจำ โดยได้รับการสนับสนุนจากสถานี RTV1อาจารย์อัศวิน ตราบนิรันดร
และ อาจารย์บรรจบ กับ อาสนองการะเกด ร่วมทั้งเจ้าหน้าที่ทุกท่าน ของวิทยุคลื่นนี้
ขอสนับสนุนให้นักจัดรายการ ดีเจไบรโอนี และ ดีเจตาหวาน ทำหน้าที่ตัวแทนเยาวชนให้ประสพความสำเร็จที่มุ่งมั่นไว้
ก้าวไปสู่อนาคตที่ดี
จากทีมงานสถานี RTV1
 

ข่าวภูมิภาคทั่วไทย อัพเดททุก 24 ชั่วโมง

โดยทีมข่าวมืออาชีพ มากประสพการณ์

 

ข่าวเฉียบคม ถูกต้อง รวดเร็ว ฉับไว ทันเหตุการณ์  โดยทีมข่าวสถานี อาร์ ทีวี วัน คลิกอ่านข่าวที่นี่

โหลดใบสมัครนักข่าวเฉพาะกิจ  ตรวจสอบประวัตินักข่าว   ส่งภาพและวีดีโอข่าว
ติดต่อ e-mail : rtv1_station_thailand@hotmail.com
drupal statistics
อ่านข่าวพิราบขาว 40 คลิกที่นี่
อ่านข่าวพิราบขาว 50 คลิกที่นี่
อ่านข่าวพิราบขาว 60 คลิกที่นี่
อ่านข่าวพิราบขาว 70 คลิกที่นี่
อ่านข่าวพิราบขาว 80 คลิกที่นี่
อ่านข่าวพิราบขาว 90 คลิกที่นี่

อ่านข่าวภูธรย้อนหลังคลิกที่นี่         รายงานข่าวโดย พิราบขาว ทีมข่าวอาร์ ทีวี วัน


 
 


สอบถามเส้นทางได้ที่ Call Center 1586 โทร.02-354-6551 02-354-6668-76 ต่อ 2014 โทรสาร 02-664-5500
 
 

ประชาสัมพันธ์
CCTV ฟรี เพียงที่ทำงานมี Internet และเห็นสภาพจราจร

 
 

ข่าวสาร หนังสือพิมพ์(ต่างประเทศ)
ABC News I Asahi Shimbun I AP - Associated Press I BBC I Bangkok Shuho I CBS Sports Line I Chicago Tribune I CNET news I CNN I FOX News | Los Angeles Times I MSNBC I NBC I New York Time I Reuters | The Sun I Time.com I USA Today I Washington Post |

 
 
   ขอบคุณองค์กรที่ช่วยสนับสนุนกิจกรรมของเด็กและเยาวชน
 
สายด่วน กรมชล. 1460 เช็คปริมาณน้ำขึ้น
ศูนย์บริการข้อมูลผู้ใช้ไฟฟ้า 1129
Web Counter
ขอเชิญผู้ใจบุญร่วมบริจาคอาหารสุนัข
(ในโครงการช่วยเหลือน้องหมาที่อดอยาก) คลิกชมเว็บที่นี่
หรือติดต่อที่ชมรมรักน้องหมา และสถานี RTV1ศูนย์ข่าวออนไลน์ (www.rtv1.net) เนื่องจากตอนนี้อาหารหมากำลังใกล้จะหมดแล้ว จึงขอวิงวอนผู้ใจบุญทุกท่านช่วยเหลือน้องหมาที่กำลังอดอยาก ท่านสามารถเยี่ยมชมบ้านน้องหมาได้ที่ บ้านรักธรรมชาติ เลขที่ 145 ม.10 บ้านซำโสม ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 25110 โทร. 081-254-1620
หรือติดต่อสถานี RTV1ศูนย์ข่าวออนไลน์ (www.rtv1.net)

โทร. 02-907-5425 มือถือโทร. 084-092-5068 e-mail : nong_mah@hotmail.co.th
 
ศูนย์เฝ้าระวัง ติดตามพฤติกรรมเด็กและเยาวชน ในการเล่นอินเตอร์เน็ต การโพสข้อความ และรูปภาพในไฮไฟว์ เฟตบุ๊ค และ sms ในทางไม่เหมาะสม
หรือ พบเด็กและเยาวชนถูกกระทำทารุน ใช้แรงงานผิดกฎหมาย หรือ ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากสถานศึกษา หรือหน่วยงานต่างๆ
โปรดแจ้ง สำนักข่าวเด็กและเยาวชน โทร.สายด่วน 085-979-8473 หรือส่งอีเมล์ rtv1_mobilestation@hotmail.com
 
ติดต่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารประสารงานต่างๆ โทร. 084-111-6149 บุญยานุช รอดปัญญา
 
กองบรรณาธิการและสำนักข่าวเด็กเยาวชน สถานี อาร์ ทีวี วัน ขอแสดงความขอบคุณมายังนักข่าว และช่างภาพ ทุกท่านที่ร่วมกันทำหน้าที่ดี ๆ 
มีประโยชน์ต่อสังคม ในการเผยแพร่ข่าวสารสู่สาธารณะชนอย่างต่อเนื่อง   และเชื่อมั่นว่าทุกท่านจะรักษาไว้ซึ่งคุณภาพของการนำเสนอข่าวสาร
และมิตรภาพในสื่อออนไลน์แห่งนี้ของเราต่อไป ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพทั้งหมดนี้เป็นลิขสิทธิ์ของ RTV1.NET
 
 
ติดต่อ e-mail : rtv1_station_thailand@hotmail.com
@ copy 2007 by rtv1
Free Web Hosting